แชร์วิธีจัดการ 3 ข้อ สำหรับคนผ่อนบ้านไม่ไหว ก็มีทางรอดได้
หากถามว่าทรัพย์สินชิ้นไหนที่คนส่วนใหญ่นั้นรู้สึกผูกพันมากที่สุด มั่นใจว่าคำตอบคงหนีไม่พ้นบ้าน ทั้งที่เป็น บ้านเดี่ยว บ้านทาวน์โฮม หรือว่าคอนโดพร้อมอยู่ เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่จะต้องใช้เวลาผ่อนชำระนาน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ใครหลายคนนั้นจะรู้สึกผูกพันกับทรัพย์สินชิ้นนี้เป็นพิเศษ แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองจึงทำให้หลายคนนั้นประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงขนาดที่ไม่สามารถผ่อนบ้านอย่างต่อเนื่องได้ตามปกติ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลเสียที่ตามมาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเสียค่าปรับ เสียค่าติดตามทวงถามและยังเสียประวัติการผ่อนชำระอีกด้วย ดังนั้นหากใครรู้ตัวว่าผ่อนบ้านไม่ไหว ในวันนี้เราก็มี 3 วิธีการจัดการง่าย ๆ มาฝาก แต่จะมีวิธีไหนบ้างนั้นมาดูกันเลย
- รีเทนชั่นหรือรีไฟแนนซ์
วิธีแรกที่เราอยากจะแนะนำให้คนที่มีปัญหาในเรื่องของการผ่อนบ้านรับไปพิจารณาก็คือ การรีเทนชั่นเปลี่ยนสัญญาสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เดิมหรือที่เรียกว่าการรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินแห่งใหม่พร้อมทำสัญญาฉบับใหม่โดยทำการปิดยอดเงินต้นกับสถาบันการเงินที่เดิมก่อน ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะไม่ใช่การประนอมหนี้บ้าน แต่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหนี้หรือถ้าหากจะพูดให้เข้าใจง่ายก็จะเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนสัญญาสินเชื่อใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ยและลดวงเงินผ่อนต่อเดือนให้น้อยลง โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อผ่านการผ่อนชำระมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี และจะต้องมีประวัติการผ่อนชำระดี เพราะฉะนั้นวิธีนี้จึงเหมาะสำหรับคนที่ยังคงมีความสามารถในการผ่อนชำระแต่ต้องการลดค่าใช้จ่ายลงให้สอดคล้องกับสถานะการเงินในปัจจุบัน
- การเข้าไปประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน
วิธีที่สอง ก็คือการเข้าไปประนอมหนี้กับสถาบันการเงินโดยตรง สำหรับวิธีนี้นั้นก็จะเหมาะสำหรับคนที่ต้องการจะผ่อนผันหนี้บ้านในช่วงเวลาที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน มีรายได้ลดลง หรือว่ามีประวัติการค้างชำระแล้ว โดยทางสถาบันการเงินก็จะทำการพิจารณาให้ผู้กู้ชำระค่างวดน้อยลงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ชำระเพียงดอกเบี้ยในระยะเวลาที่กำหนด ชำระค่างวดเป็นเงินก้อนใหญ่โดยเป็นการให้ผู้กู้แบ่งจ่ายทีเดียวหรือการกำหนดเวลาการชำระค่างวดทั้งหมดในช่วงเวลาที่แน่นอน ส่วนสถาบันการเงินก็จะเลือกวิธีการผ่อนผันหนี้บ้านแบบไหนให้นั้นก็จะขึ้นอยู่กับสถานะการเงินของผู้กู้และเงื่อนไขของสถาบันการเงินด้วย
- การโอนบ้านให้เป็นทรัพย์สินของสถาบันการเงินชั่วคราวและซื้อคืนในภายหลัง
วิธีสุดท้าย ก็คือการโอนบ้านให้เป็นทรัพย์สินของสถาบันการเงินชั่วคราวและซื้อคืนในภายหลัง
เป็นวิธีการประนอมหนี้บ้านด้วยการนำเอาโครงการบ้านนั้นไปขายฝากกับสถาบันการเงินในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยผู้กู้ก็จะต้องทำสัญญาเช่าบ้านของตัวเองเป็นรายปีในอัตรา 0.4 - 0.6% ของมูลค่าบ้าน จนกว่าจะสามารถนำเอาเงินมาชำระยอดหนี้กับสถาบันการเงิน สำหรับวิธีการผ่อนผันหนี้บ้านของแสนสิริวิธีนี้จะเหมาะกับลูกหนี้ที่ขาดรายได้หรือขาดสภาพคล่องทางการเงินเป็นเวลานานเกินกว่า 1 ปี
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับ 3 วิธีจัดการเมื่อเกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหวที่เรานำมาแนะนำกันในวันนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีทั้งวิธีที่เหมาะสำหรับคนมีรายได้ลดลง คนขาดรายได้ชั่วคราว และคนที่ขาดรายได้เป็นเวลานาน แต่อย่างไรก็ตามหากเรานั้นรู้ตัวว่ากำลังจะผ่อนบ้านไม่ไหว แนะนำว่าควรที่จะใช้วิธีการประนอมหนี้บ้าน โดยรีบเข้าไปติดต่อกับสถาบันการเงินเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประนามหนี้บ้าน ได้ที่นี่ https://www.sansiri.com/content/view/คำแนะนำกู้บ้าน-หนี้บ้าน-ธนาคารช่วยได้-พร้อมฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ-ไวรัสรุมเร้า/th
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้