แบบทดสอบการนอนหลับ มีกี่แบบ ใช้แบบไหนดี? (ตอนที่ 2)

tawann8

ขีดเขียนชั้นมอปลาย (128)
เด็กใหม่ (2)
เด็กใหม่ (0)
POST:132
เมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564 13.23 น.

แบบสอบถามการนอนหลับ (Screening Questionnaires) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเบื้องต้นที่ใช้คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea : OSA) ด้วยคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอน ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพการนอนหลับ สิ่งรบกวนในการนอน หรือแม้กระทั่งการใช้ยานอนหลับแต่ “แบบประเมินคุณภาพการนอน” มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร สินมั่นคง ประกันสุขภาพ รวบรวมข้อมูลแบบทดสอบคุณภาพการนอน ตอนที่ 2 มาฝาก


1. แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (Pittsburgh Sleep Quality Index: PSQI)
แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของพิตต์สเบิร์ก (PSQI) คือ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับและความผิดปกติในช่วงเวลา 1 เดือน แบ่งรูปแบบของแบบสอบถามออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบประเมินตนเอง จำนวน 19 คำถามและแบบประเมินโดยผู้ที่นอนพักร่วมห้องนอน จำนวน 5 คำถาม โดยเน้นพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อกับการนอนหลับใน 7 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่

- คุณภาพการนอนหลับ (Subjective Sleep Quality)
- ระยะเวลาตั้งแต่เข้านอนจนถึงเริ่มหลับ (Sleep Latency)
- ระยะเวลาการนอนหลับ (Sleep Duration)
- ประสิทธิภาพการนอนหลับตามปกติ (Habitual Sleep Efficiency)
- สิ่งรบกวนการนอนหลับ (Sleep Disturbances)
- การใช้ยานอนหลับ (Use of Sleeping Medication)
- ความผิดปกติด้านการนอนหลับในช่วงกลางวัน (Daytime Dysfunction)

ทั้งนี้ คำถามในแต่ละองค์ประกอบจะใช้วิธีนับคะแนนแยกกัน จากนั้นจะนำผลรวมคะแนนจากทุกองค์ประกอบมารวมกันอีกครั้งเพื่อทำการประเมินผลการทำแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ


2. แบบประเมิน Sleep Apnea Scale of Sleep Disorders Questionnaire (SA-SDQ)
แบบประเมิน SA-SDQ คือ แบบประเมินพฤติกรรมการนอนหลับที่แสดงความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โดยประกอบด้วยคำถามที่เกี่ยวกับน้ำหนัก พฤติกรรมในการสูบบุหรี่ อายุ และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) จำนวน 12 ข้อ และมีคะแนนเต็มอยู่ที่ 60 หากผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงที่ได้รับคะแนนประเมินมากกว่า 32 คะแนน และเพศชายที่ได้รับคะแนนประเมินมากกว่า 36 คะแนน จะถือว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

ตัวอย่างคำถาม แบบประเมิน Sleep Apnea Scale of Sleep Disorders Questionnaire (SA-SDQ)

- มีคนบอกฉันว่า "ฉันกรนเสียงดังหรือรบกวนคนอื่น"
- มีคนบอกฉันว่า "ฉันหยุดหายใจขณะนอนหลับ"
- ฉันสะดุ้งตื่น พบว่าหายใจลำบากหรือไม่สามารถหายใจได้
- ฉันมีเหงื่อออกมากกลางดึก
- ฉันเป็นหรือเคยตรวจพบโรคความดันโลหิตสูง
- ฉันมีอาการคล้ายจมูกอุดตันขณะเข้านอน
- อาการกรน หรือการหายใจของฉันแย่ลง เมื่อฉันนอนหงาย
- อาการกรน หรือการหายใจของฉันแย่ลง เมื่อฉันดื่มสุราก่อนนอน
- น้ำหนักตัวปัจจุบัน___กิโลกรัม
- ระยะเวลาของการสูบบุหรี่___ปี
- อายุปัจจุบัน___ปี
- ดัชนีมวลกาย

3. Sleep Apnea Clinical Score (SACS)
แบบสอบถาม SACS ใช้แบบจำลองเชิงเส้นของเส้นรอบวงคอ ร่วมกับคำถามเกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูง และลักษณะพฤติกรรมทางการนอนของผู้ตอบแบบสอบถาม เช่น การกรนเป็นประจำ การสังเกตอาการการสำลักหรือหายใจไม่ออกตอนกลางคืนโดยคู่นอน จำนวน 4 คำถาม เพื่อคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

วิธีการใช้งานแบบสอบถาม SACS จะเริ่มต้นจากการวัดเส้นรอบวงคอ (Neck Circumference) ของผู้ทำแบบสอบถาม จากนั้นเลือกค่าที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากการมีหรือไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง
(Hypertensive Historical Features / Not Hypertensive Historical Features) ร่วมกับการมีพฤติกรรมทางการนอนอย่างใดอย่างหนึ่ง มีทั้งสองอย่าง หรือไม่มี (One / Both / None) ทั้งนี้ หากผู้ทำแบบสอบถามได้รับคะแนนตั้งแต่ 15 ขึ้นไป อาจบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

ตัวอย่างคำถาม แบบสอบถาม Sleep Apnea Clinical Score (SACS)

- คุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือได้รับการแนะนำให้ใช้ยาเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่? (ใช่ หรือ ไม่ใช่)
- ผู้ที่นอนพัก หรือเคยนอนพักร่วมห้องนอนกับท่าน บอกว่าท่านมีอาการกรน (3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ ทุกคืน)
- ผู้อื่นเคยบอกว่าท่านมีอาการหอบ (Gasp), สำลัก (Choke) หรือกรน (Snort) ขณะหลับ
(3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ ทุกคืน)
- เส้นรอบคอ_____เซนติเมตร

แบบสอบถามประเมินการนอนหลับยังมีอีกหลายรูปแบบ และเป็นเพียงหนึ่งในวิธีการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) เบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถทดแทนการตรวจวินิฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพการนอนอย่างใกล้ชิดร่วมด้วยได้ เลือกเสริมความคุ้มครองสุขภาพด้วย “ประกันสุขภาพคุ้มค่า” หรือ “ประกันสุขภาพเอกซ์ตราประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จ่ายค่ารักษาตามจริง เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่จำกัดจำนวนครั้งให้วุ่นวาย ด้วยวงเงินสูงสุด 500,000 บาท เบี้ยเริ่มต้นเพียง 5,000 บาท/ปี คลิก https://www.smk.co.th/prehealth

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา