หมอนรองกระดูกเสื่อม ภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุอาการเบื้องต้นเป็นยังไงบ้าง

parawun

เด็กใหม่ (1)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:2
เมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 14.44 น.

หมอนรองกระดูกเสื่อม (Degenerative disc) ภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่มีความเสื่อมสภาพเกิดขึ้นในร่างกายตามอายุที่สูงขึ้น แต่ไม่น่าเชื่อว่าอาการปวดหลังเรื้อรังนั้นกลับพบมากขึ้นในช่วงอายุ ตั้งแต่ 25 – 50 ปี โดยพบว่าในกลุ่มช่วงอายุนี้จะมีอัตรการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมนี้สูงที่สุดอีกด้วย

 

 

3 สาเหตุหลักที่นำไปสู่ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม
1.การสึกหรอตามอายุการใช้งาน เช่น นั่งนานๆ โดยไม่เปลี่ยนอริยาบท นั่งขับรถเป็นระยะทางไกลๆ เป็นประจำ

2.การยกของที่มีน้ำหนักมากเกินร่างกายรับไหว
3.ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ที่อาจมีผลทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงบริเวณหมอนรองกระดูกน้อยลง ส่งผลให้กระดูกเสื่อมเร็วก่อนเวลาอันควร ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ก่อให้เกิดอาการปวดหลังทั้งสิ้น

โรคกระดูกเสื่อม
คือการที่กระดูกเสื่อมสภาพจากทั้งกาลเวลา และการกระทำ ตามกาลเวลา หมายถึงอายุที่มากขึ้น สภาพร่างกายก็เสื่อมลงตามสภาพร่างกาย การกระทำ เช่น การแบกรับของหนักๆ เป็นระยะเวลานาน การแบกรับน้ำหนักตัวเอง หรือการเคลื่อนไหวแรงๆ เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกเสื่อม

ข้อสะโพก เป็นหนึ่งอวัยวะสำคัญ ที่มีการเคลื่อนไหวบ่อยจึงอาจทำให้เกิดการกระแทกรุนแรงจนได้รับบาดเจ็บจนเกิดโรคกระดูกข้อสะโพกเสื่อมได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นในผู้สูงอายุเสมอไป วัยหนุ่มสาวหากไม่ดูแลตัวเองดีๆ ก็อาจเป็นโรคกระดูกเสื่อมได้เช่นกัน โดยเฉพาะหนุ่มๆ ที่เป็นสิงห์นักดื่มทั้งหลาย ที่ดื่มเหล้าเป็นเวลานาน อาจทำให้ข้อสะโพกขาดเลือด จนกระดูกเสื่อมได้!!

อาการของโรคกระดูกเสื่อม
1. ปวดขัดตามข้อหนีบ ข้อขา อาจปวดร้าวลงมาถึงหน้าตัก เวลาขยับจะรู้สึกปวดมากขึ้น หากพักอาการจะทุเลาลง
2.บริเวณข้อสะโพกมีอาการอักเสบเรื้อรัง และมีรอยบวมแดงขึ้น
3.รู้สึกเจ็บปวดบริเวณสะโพกเมื่อเดินเป็นระยะเวลานาน หรือเวลาเดินขึ้น-ลงบันได ฯ

อาการภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม
อาการที่บอกว่าคุณกำลังเป็นหมอนรองกระดูกเสื่อมที่เห็นได้ชัดคือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณเอว ลักษณะอาการปวดจะตื้อๆ ระดับเอวอาจร้าวลงมาที่บริเวณกล้ามเนื้อด้านข้างของหลังและสะโพก ซึ่งอาการปวดจะมีส่วนสัมพันธ์กับการใช้งาน เช่น มีอาการปวดเมื่อนั่งนาน ขับรถนาน  ยืนนาน หรือเดินนาน บางรายอาจนั่งได้เพียง 10-15 นาทีก็จะมีอาการ แต่เมื่อนอนพักอาการปวดจะทุเลาลง ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกดทับเส้นประสาทมากจะมีอาการปวดร้าวลงขา บางรายมีอาการชา และอ่อนแรงของขาหรือเท้าตามเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับ

หากสังเกตุตัวเองพบว่ามีอาการปวดหลังเรื้อรังมาซักระยะนึงแล้ว ควรตรวจเช็คที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นอะไร จะได้รักาได้ตรงจุดค่ะ

อ่านข้อมูลภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม และแนวทางการรักษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.vejthani.com/TH/Article/112/ผ่าตัดผ่านกล้องแก้ปวดหลังเรื้อรังแผลเล็กเจ็บน้อยฟื้นตัวเร็วลดผลข้างเคียง

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา