คณะผู้เชี่ยวชาญ-นักวิชาการจาก 8 ประเทศ ร่วมบรรยายในหัวข้อ "ความพร้อม" "ความมั่นคง" และ "ความโปร่งใส" ในงานประชุม URAP2

IQML

สุดยอดขีดเีขียน (400)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:414
เมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563 17.02 น.


พบการอภิปรายที่มุ่งแสวงหาหนทางเพื่อให้ทุกคนฟื้นตัวได้หากเกิดภัยพิบัติในอนาคต ถกประเด็นการเตรียมความพร้อมอย่างมีประสิทธิภาพหลังยุคโควิด- 19 ในงานประชุม 2 วันซึ่งจัดโดย UNSW วิทยาเขตซิดนีย์ และ SEEDS

กลุ่มคนด้อยโอกาสเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ทั้งจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่นับวันจะยิ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพภูมิอากาศ และโรคระบาดที่ยังคงอยู่ซึ่งสะท้อนถึงผลพวงที่รุนแรงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

ท่ามกลางความท้าทายที่น่าหวาดหวั่นดังกล่าว การประชุม Urban Resilience Asia Pacific ครั้งที่ 2 (URAP2) จึงได้จัดขึ้นเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาในประเด็นสำคัญว่าด้วยความพร้อม ความมั่นคง และความโปร่งใส ในการสร้างเมืองที่ยืดหยุ่นพร้อมรับภัยพิบัติ โดยมุ่งเน้นไปที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวของเมืองรวดเร็วมากที่สุดในโลก การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันผ่านทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยคณะสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Faculty of Built Environment) มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW) วิทยาเขตซิดนีย์ ร่วมกับ Australia Pacific Security College, Harvard Humanitarian Initiative, ARUP Group และ SEEDS

ศาสตราจารย์เดวิด แซนเดอร์สัน จาก UNSW ได้ถามคำถามสำคัญ เช่น คุณจะทำอย่างไรเพื่อให้ยังคงมีความหวังต่อไปได้? ความยืดหยุ่นสำหรับทุกคนเป็นอย่างไร? คุณสมบัติดังกล่าวมีประโยชน์มากที่สุดเมื่อใดและเมื่อใดที่ควรเลี่ยง? และเราเปิดใจกันมากแค่ไหนเมื่อต้องพูดถึงการทุจริต?

หนึ่งในหลายประเด็นที่เรียกเสียงฮือฮามากที่สุดเป็นประเด็นเกี่ยวกับจุดร่วมของภัยพิบัติ การทุจริต และสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ซึ่งบรรยายโดยดร.โรแนค พาเทล ผู้อำนวยการฝ่าย Urbanization and Resilience ประจำโครงการ Harvard Humanitarian Initiative โดยเขาได้เน้นว่า "ผู้มีอำนาจต่างตักตวงผลประโยชน์จากการทุจริต แต่กลุ่มคนที่เปราะบางต้องแบกรับผลพวงจากการทุจริต ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถึงอาชญากรรมทางการเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาสำคัญด้านความยุติธรรมในสังคมด้วย"

นอกจากนี้ ยังมีผู้บรรยายอีกกว่า 65 ราย จาก 8 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ คณะผู้ทำงานด้านการวิจัย องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) หน่วยงานด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ และหน่วยงานภาครัฐ ที่มาร่วมอภิปรายถึงหัวข้อต่าง ๆ มากมาย ทั้งระบบการตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ ขีดความสามารถในการก่อสร้างในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง ความยืดหยุ่นด้านพลังงาน การอพยพทิ้งเมือง แอปพลิเคชันด้านเทคโนโลยี และการช่วยเหลือทางการเงินเพื่อฟื้นฟูคืนสู่สภาพเดิม

ทางด้านศาสตราจารย์เม็ก คีน ผู้อำนวยการ Australian Pacific Security College ได้เน้นย้ำถึงความพร้อมด้านสังคมและการเมืองที่ครอบคลุมหลากหลายประเด็น ขณะที่คุณเคิร์สเตน แมคโดนัลด์ จากกลุ่ม ARUP Group ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้กลวิธีที่สอดคล้องกับพื้นที่ เพื่อหาวิธีการที่ลงตัวในอนาคต ส่วนดร.อันชู ชาร์มา ผู้ร่วมก่อตั้ง SEEDS ได้เน้นย้ำถึงความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมยกข้อพิสูจน์ที่บ่งชี้ว่า เราไม่สามารถคาดเดาถึงความต้องการในอนาคตได้โดยใช้แนวโน้มที่เกิดขึ้นในอดีตมาเป็นตัวตั้ง

การประชุมในครั้งนี้ยังได้มีการเสนอแนะแนวทางมากมายที่จะช่วยให้องค์กรที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาความท้าทายจากภัยพิบัติอันก่อให้เกิดความเสี่ยง โดยใช้วิธีการที่เป็นระบบ มีความครอบคลุม และปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามความเหมาะสม

การประชุมมีการถ่ายทอดผ่านช่องยูทูบของ UNSW (https://www.youtube.com/watch?v=DYM_dqT3Fcs, https://www.youtube.com/watch?v=EoL5bDoUBl4) โดยมีผู้ชมกว่า 1,000 คนเข้าร่วมระหว่างการถ่ายทอดสด ติดตามข่าวสารอัปเดตทางโซเชียลมีเดียได้ที่แฮชแท็ก #URAP2

ติดต่อ : Anuradha Singh
anuradha@seedsindia.org, urap2@seedsindia.org

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา