การประชุมสุดยอดว่าด้วยการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึงที่นครจิบูตีปิดฉากลง พร้อมการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือทางการศึกษาแห่งใหม่
ในพิธีปิดการประชุม ForumBIE 2030 รัฐบาล องค์กรภาคประชาสังคม และสถาบันวิชาการจำนวน 38 แห่ง ได้กลายมาเป็นตัวแทนกลุ่มแรกที่ร่วมลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง (Universal Declaration of Balanced and Inclusive Education) หรือ UDBIE นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการบรรลุความปรารถนาและพันธกิจของ UDBIE ผู้ร่วมลงนาม 30 ราย รวมถึงองค์กรรัฐและภาคประชาสังคม ยังตกลงกันที่จะจัดตั้งองค์กรความร่วมมือด้านการศึกษา (Organisation of Educational Cooperation) หรือ OEC ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศแห่งใหม่จากประเทศซีกโลกใต้ที่มุ่งสร้างแพลตฟอร์มและกลไกความร่วมมือทางการเงินและทางเทคนิคอย่างเป็นปึกแผ่นพร้อมส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาขึ้นมาด้วย
สามารถดูข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่ https://www.multivu.com/players/uk/8683651-new-organisation-educational-cooperation/
ที่ประชุมใหญ่แห่ง OEC จะทำหน้าที่ตามพื้นฐานระบอบประชาธิปไตยแบบหนึ่งประเทศ หนึ่งเสียง เพื่อประกันความรับผิดชอบต่อประเทศสมาชิกในการได้ประโยชน์จากการสนับสนุน โดยถือว่าองค์กรภาคประชาสังคมและสถาบันวิชาการที่เป็นสมาชิกสมทบนั้นมีสิทธิ์จำกัด
OEC จะถูกตั้งขึ้นพร้อมกับหน่วยงานย่อยด้านการเงินที่อยู่ภายใต้การดูแลของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการสรรหาเงินทุนอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนมาใช้เพื่อสนับสนุนการปฎิรูปการศึกษา โดยหน่วยงานย่อยนี้ได้ถูกกำหนดโครงสร้างให้มุ่งสู่การลงทุนในโครงการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในประเทศสมาชิกเพื่อจัดหาเงินทุนมาสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอย่างเต็มที่ รวมถึงเงินทุนสำหรับ OEC เพื่อสนับสนุนระบบการศึกษาของประเทศสมาชิกด้วย
OEC ถูกออกแบบให้มีโครงสร้างที่คล่องตัวและสมเหตุสมผล เพื่อดำเนินการตามตามกลยุทธ์การแทรกแซงอย่างประสิทธิภาพและเป็นระบบ พร้อมมอบการศึกษาให้กับชุมชน สังคม และการพัฒนาระดับชาติตามที่กำหนดไว้ในพันธกิจของปฏิญญา UDBIE
เลขาธิการคนแรกของ OEC จะถูกเลือกมาให้ทำหน้าที่ในการจัดตั้งและเสนอคณะกรรมการเตรียมการ เพื่อวางรากฐานให้กับ OEC จนกว่ากฎบัตรธรรมนูญขององค์กร (Constitutive Charter of the Organisation) จะมีผลบังคับใช้ จากการมอบสัตยาบันของผู้แทนรัฐที่มาร่วมก่อตั้งอย่างน้อย 10 แห่ง และหลังจากที่กฎบัตรธรรมนูญมีผลบังคับใช้จะมีการเรียกประชุมใหญ่เป็นครั้งแรกต่อไป
ผู้ร่วมลงนามในปฏิญญา UDBIE ทุกรายล้วนให้การยอมรับใน 4 หลักการของการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ซึ่งได้แก่ Intraculturalism, Transdisciplinarity, Dialecticism และ Contextuality โดยพวกเขาต่างมุ่งมั่นที่จะใช้หลักการเหล่านี้กับระบบการศึกษาของพวกเขา ภายใต้การสนับสนุนร่วมกันในกลุ่ม OEC บนพื้นฐานความต้องการของประชากร วาระสำคัญของชาติ และความจำเป็นในการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับโลก
The Education Relief Foundation (ERF) เป็นองค์กรนอกภาครัฐที่ไม่แสวงผลกำไร และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา โดยทำหน้าที่พัฒนา ส่งเสริม รวมถึงวางรากฐานการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ผ่านการพัฒนานโยบาย การสร้างเสริมศักยภาพ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และกิจกรรมอื่น ๆ
การประชุม ForumBIE 2030 ครั้งแรกจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนธันวาคม 2017 และการประชุม ForumBIE 2030 ครั้งที่สองจัดขึ้นที่เม็กซิโกซิตี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2018 โดยมีการเปิดตัว Global Guide of Ethics, Principles, Policies, and Practices in Balanced and Inclusive Education, และมีการลงนามเบื้องต้นใน International Call for Balanced and Inclusive Education ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดให้มีการเตรียมปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1083623/ERF_Djibouti.jpg
คำบรรยายภาพ - นายกรัฐมนตรี อับดุลกาเดร์ คามิล โมฮัมเหม็ด แห่งสาธารณรัฐจิบูตี แสดงความยินดีกับนายมานซูร์ บิน มุสซาลลาม เนื่องในโอกาสที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ OEC ในปิดพิธีปิดการประชุม ForumBIE 2030 ครั้งที่ 3 ณ นครจิบูตี
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1029418/ERF_Logo.jpg
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Etienne Lacombe-Kishibe
หัวหน้าฝ่ายสื่อสารและสื่อมวลชน
อีเมล: e.kishibe@educationrelief.org
โทร: 0041 (0) 22 920 0859
มือถือ: 0041 (0) 79 864 2692
การประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำคู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะฉบับนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทนำ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่และผลงานทางวิชาการ ขั้นตอนการดำเนินการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ และแนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัด และคำชี้แจงการประเมิน รวมทั้ง แบบเสนอขอรับการประเมิน แบบรายงาน แบบสรุปผลการตรวจสอบและประเมิน เพื่อช่วยให้การประเมิน วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบรรลุผลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าว
โดยทาง หจก.ครุศาสตร์ปัญญาได้จัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ รหัส 623102001 ระดับ กลาง สาระ เทคโนโลยี ระดับช่วงชั้น ต้น ระยะเวลา 18 (ชม.) เพื่อให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่สนใจในคุปองครูหลักสูตรดังกล่าว ได้ศึกษาตามหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง
หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูสนใจในหลักสูตรสามารถติดต่อได้ที่ https://karusatpanya.org/ หรือสามารถสอบถามได้ที่ Line : @trainingobec ( มี @ )
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้