บทสัมภาษณ์ “เพิร์ต” BMAT ที่1 ของประเทศ
บทสัมภาษณ์ “เพิร์ต” BMAT ที่1 ของประเทศ
ธงทอง ธงทอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
สวัสดีครับน้องๆ เชื่อว่าน้องๆหลายคนโดยเฉพาะน้องๆที่เตรียมตัวสอบ BMAT ต้องอยากรู้ใช่ไหมครับว่าน้องๆที่ประสบความสำเร็จ สอบติดคณะแพทยศาสตร์อินเตอร์ เค้าเตรียมตัวการสอบกันอย่างไร? อ่านหนังสืออะไรบ้าง? เตรียม Portfolio กันแบบไหน? วันนี้พี่ๆ ignite เลยพาไปถาม-ตอบกับ น้องเพิร์ต ที่1 BMAT ของประเทศ ที่มาบอกประสบการณ์เตรียมตัวสอบ BMAT อย่างละเอียดไม่มีกั๊ก ถ้าพร้อมแล้วเราไปอ่านบทสัมภาษณ์เจาะลึกสุด Exclusive กับน้องเพิร์ตกันได้เลยครับ
Q: จุดเริ่มต้นของน้องเพิร์ต กับการสอบ BMAT
A: เดิมทีผมมีเป้าหมายคือการสอบเข้าแพทย์แบบ กสพท. ปกติ แต่บังเอิญในช่วงที่ผมอยู่ ม.5 ทาง ignite ได้แนะนำให้รู้จักกับการสอบเข้าคณะแพทย์โดยใช้ความถนัดทางภาษาอังกฤษ ทำให้สนใจและเริ่มทำความรู้จักกับ BMAT ครับ
Q: ต้องเตรียมตัวทั้งไทยและอินเตอร์ น้องเพิร์ตวางแผนการเตรียมตัวสอบยังไงบ้างครับ
A: จำได้ว่าช่วงที่รู้จัก BMAT ใหม่ๆเป็นช่วงเดือนสิงหาคม 2560 ผมยังไม่ค่อยอยากจะสอบเท่าไหร่เพราะยังอยากเน้นไปในเรื่องเรียนภาคปกติที่โรงเรียน และช่วงนั้นเป็นช่วงที่ผมมีกิจกรรมอื่นๆชนกันมากมาย ทั้งการแข่งดนตรี เล่นคอนเสิร์ต มีโครงงานทั้งในและต่างประเทศ ฯลฯ ทำให้มีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก แต่สมัครสอบไปแล้ว ยังไงก็คงต้องไป แต่โชคดีที่มีคอร์สของ ignite อยู่ ก็ช่วยผมได้มากทีเดียว ผมพยายามไปเรียนเท่าที่จะมีเวลาว่างได้ครับ ถึงจะยังไม่ได้ทุ่มเทกับมันมากเพราะตอนนั้นก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าสอบไปแล้วจะมีโอกาสได้เอาคะแนนไปใช้ทำอะไรรึเปล่า
จนเมื่อถึงวันสอบจริงก็รู้สึกว่าข้อสอบค่อนข้างยากและเยอะมาก อาจจะเป็นเพราะเราเตรียมตัวมาไม่ดีพอด้วย (ดีที่ยังได้เรียนจาก ignite มาบ้าง) เมื่อผลสอบออก ผมได้ 15.3 ครับ ก็ได้แต่เก็บคะแนนเอาไว้เฉยๆ กะว่าปีหน้าค่อยว่ากันอีกที ปีนี้เป็นการลองสนามไปก่อน ยังไงก็ตาม การได้ไปลองสอบดูก่อน ถือเป็นโอกาสที่ดีมากๆที่ได้รู้แนวข้อสอบ มีประสบการณ์และความคุ้นชินกับบรรยากาศในการสอบจริง ทำให้การสอบในปีถัดมาของผมคล่องตัว และตื่นเต้นน้อยลงมากครับ
หลังจากนั้น ผมก็เริ่มเข้าสู่โหมดการเรียนปกติ โดยทำกิจกรรมต่างๆควบคู่ไปด้วย และเมื่อขึ้นชั้น ม.6 ก็เริ่มวางแผนอ่านหนังสือจริงจังขึ้นโดยเน้นหนักไปที่ กสพท. และ 9 วิชาสามัญ ซึ่งเอาเข้าจริงๆแล้วมีเนื้อหาและการฝึกตะลุยโจทย์เยอะมาก อ่านกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว แต่โชคดีที่หลักสูตร Gifted Science ที่โรงเรียน ในรุ่นของผมเป็นรุ่นสุดท้ายที่ได้เรียนเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะแตกต่างจากห้องอื่นๆโดยจะเรียนเข้มข้นและร่นระยะเวลาให้จบหลักสูตร ม.ปลายทั้งหมดภายใน ม.6 เทอม1 อยู่แล้ว ดังนั้นในช่วงใกล้สอบ ผมจึงได้เก็บเนื้อหาของ 3 วิชานี้จากในห้องเรียนจนเกือบจบไปพอสมควร
และเมื่อทราบว่าทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประกาศกฏใหม่ว่าจะรับผลสอบ BMAT ในรอบ September 2018 เท่านั้น ทำให้ผมต้องเริ่มแบ่งเวลามาทบทวน BMAT ที่ ignite บ้างในช่วง 1-2 เดือนก่อนสอบ อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่กิจกรรมที่โรงเรียนค่อนข้างเยอะมากๆ ผมได้มาเริ่มจริงจังจริงๆก็ประมาณ 2 สัปดาห์สุดท้าย โดยมีตัวช่วยคือการทำข้อสอบเก่า และทบทวนเนื้อหาในขอบเขตที่มีให้ผู้เข้าสอบเรียนรู้จากในเว็บไซต์ รวมถึงฝึกทำโจทย์จากหนังสือต่างๆ ซึ่งมีโจทย์รวมประมาณ 1,200 ข้อให้ลองฝึกทำดู แน่นอนครับว่าการจะทำให้ครบทั้งหมดจะต้องใช้เวลาและความตั้งใจอย่างมาก ผมต้องนั่งอ่านทบทวนและฝึกโจทย์จนดึกดื่น เป็นเวลา 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งเป็นอะไรที่เหนื่อยมากๆ (สำหรับน้องๆ ขอเตือนว่าควรเผื่อเวลาไว้ให้มากกว่านี้หน่อยนะครับ 555) และในการสอบ ครั้งที่ 2 นี้ ผมได้คะแนน 5.9, 8.2, 4A (รวม 18.1A) เป็นคะแนนที่ผมใช้ยื่นเข้าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รอบ1 ปี 62 ครับ
อ่านเพิ่มเติมอย่างเจาะลึกได้ที่: https://www.ignitebyondemand.com/2019/04/17/interview-bmat-number1-thailand/
การประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำคู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะฉบับนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทนำ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่และผลงานทางวิชาการ ขั้นตอนการดำเนินการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ และแนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัด และคำชี้แจงการประเมิน รวมทั้ง แบบเสนอขอรับการประเมิน แบบรายงาน แบบสรุปผลการตรวจสอบและประเมิน เพื่อช่วยให้การประเมิน วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบรรลุผลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าว
โดยทาง หจก.ครุศาสตร์ปัญญาได้จัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ รหัส 623102001 ระดับ กลาง สาระ เทคโนโลยี ระดับช่วงชั้น มัธยมต้น ระยะเวลา 18 (ชม.) เพื่อให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่สนใจในคุปองครูหลักสูตรดังกล่าว ได้ศึกษาตามหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง
หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูสนใจในหลักสูตรสามารถติดต่อได้ที่ https://karusatpanya.org/ หรือสามารถสอบถามได้ที่ Line : @trainingobec ( มี @ )
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้