ระบบการศึกษาประเทศอังกฤษ
ใครที่กำลังสนใจไปเรียนต่อ อังกฤษ ลองมาดูกันซิว่าระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษเขาเป็นยังไง
ระบบการศึกษาประเทศอังกฤษ
สำหรับการศึกษาภาคบังคับของอังกฤษจะเริ่มตั้งอายุ 5-16 ปี ซึ่งปีการศึกษาของอังกฤษจะต่างจากเมืองไทย โดยเริ่มต้นเทอมแรกราวปลายเดือนกันยายน และจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม โดยแบ่งเป็น 3 เทอม คือภาคต้น ภาคกลาง และภาคปลาย แต่ละเทอมจะมีช่วงระยะเวลาเรียนประมาณ 3 เดือน
ประถมศึกษา รับนักเรียนอายุ 5-13 ปี ซึ่งการเรียนการสอนจะเป็นหลักสูตรมุ่งเน้นเตรียมตัวเข้าสอบในระดับมัธยม Commont Entrance Education (CEE) เน้นการเขียนและทักษะด้านตัวเลขให้เด็กได้เรียนรู้ตามวัย
มัธยมศึกษา รับนักเรียนอายุ 13 ปีขึ้นไปที่สอบผ่าน CEE โรงเรียนมีให้เลือกทั้งแบบชายล้วน หญิงล้วนและสหศึกษา มีทั้งแบบประจำและไปกลับเช่นเดียวกับเมืองไทย และมีโรงเรียนบางแห่งที่เปิดสอนสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เช่น ดนตรี กีฬา เป็นต้น
อาชีวศึกษา เป็นการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ที่ไม่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ต้องการทักษะด้านวิชาชีพต่างๆ ในการประกอบอาชีพ
อุดมศึกษา ในอังกฤษมีมหาวิทยาลัยมากกว่า 100 แห่ง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาลแทบทั้งหมด
- ปริญญาตรี เรียน 3 ปี
- ปริญญาโทเรียน 1 ปี ทุกหลักสูตร
- ปริญญาเอกเรียน 3-4 ปี
การฝึกงาน
Internship หรือ Career Training
คือ การฝึกงานในสาขาวิชาที่ตัวเองจบการศึกษา สำหรับการฝึกงานในประเทศอังกฤษ มีหลายๆ โครงการที่เปิดรับนักศึกษาฝึกงาน ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือจบการศึกษาไม่เกิน 1 ปี เช่น วิศวกรรม, การโรงแรม เป็นต้น
โครงการแลกเปลี่ยน
ปัจจุบันมีหลากหลายองค์กรที่สนับสนุนนักเรียนไทย ให้ได้สัมผัสกับประสบการณ์การเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในต่างแดน ซึ่งโครงการที่ประเทศอังกฤษเข้าร่วม ก็มีด้วยกันหลายโครงการ เช่น
- AYC หรือ Amsam Youth Center โครงการแลกเปลี่ยนทุนเยาวชนไทย-นานาชาติที่มีประเทศอังกฤษรวมอยู่ด้วย เหมาะสำหรับนักเรียนที่เรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่3-5 หรือมีอายุไม่เกิน 16 ปี และต้องมีผลคะแนนทางภาษา IELTS 5.5 โดยจะเปิดรับสมัครในช่วงมิถุนายนของทุกปี
- EF องค์กรการศึกษาเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีอายุกว่า 40 ปี จัดหลักสูตรภาษาและประสบการณ์แลกเปลี่ยนให้กับเยาวชนไทย ซึ่งก็มีประเทศอังกฤษรวมอยู่ในโครงการนี้ด้วย เหมาะกับนักเรียนที่เรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-5 และมีผลการเรียนสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.00 ในสองปีการศึกษา และมีผลการสอบ EF
- BWK อีกหนึ่งโครงการสำหรับนักเรียนม.ปลาย ที่มีอายุ 15-18ปี ซึ่งมีประเทศอังกฤษรวมอยู่ในเงื่อนไขของโครงการ โดยเป็นรูปแบบของโครงการร่วมสมทบทุน ในระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการ 10-11 เดือน หรือ 1 ปีการศึกษา
การประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำคู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะฉบับนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทนำ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่และผลงานทางวิชาการ ขั้นตอนการดำเนินการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ และแนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัด และคำชี้แจงการประเมิน รวมทั้ง แบบเสนอขอรับการประเมิน แบบรายงาน แบบสรุปผลการตรวจสอบและประเมิน เพื่อช่วยให้การประเมิน วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบรรลุผลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าว
โดยทาง หจก.ครุศาสตร์ปัญญาได้จัดทำหลักสูตร การวิจัยในชั้นเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ รหัส 627172001 ระดับ กลาง สาระ การศึกษาพิเศษ ระดับช่วงชั้น ประถม ระยะเวลา 18 (ชม.) เพื่อให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่สนใจในคุปองครูหลักสูตรดังกล่าว ได้ศึกษาตามหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง
หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูสนใจในหลักสูตรสามารถติดต่อได้ที่ https://karusatpanya.org/ หรือสามารถสอบถามได้ที่ Line : @trainingobec ( มี @ )
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้