รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ่อเกลือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 เพื่อปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึก เสริมทักษะ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ่อเกลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต37 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ่อเกลือ อำเภอ บ่อเกลือ จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 59 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบทดสอบ แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 4 เล่มและแบบสอบถามความพึงพอใจจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการทดสอบที (t- test)
ผลการศึกษาปรากฏผลดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ โดยมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.02/85.95 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานข้อที่ 1
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและ หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2พบว่า ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 2
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( =4.97,S.D. =1.46) ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 3
ผู้โพส : นางพยอม ทิฆัมพรธีรวงศ์
การประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำคู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะฉบับนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทนำ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการ การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่และผลงานทางวิชาการ ขั้นตอนการดำเนินการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ และแนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน การกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัด และคำชี้แจงการประเมิน รวมทั้ง แบบเสนอขอรับการประเมิน แบบรายงาน แบบสรุปผลการตรวจสอบและประเมิน เพื่อช่วยให้การประเมิน วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาบรรลุผลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าว
โดยทาง หจก.ครุศาสตร์ปัญญาได้จัดทำหลักสูตร การออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกและสร้างเครื่องมือการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา รหัส 623182012 ระดับ กลาง สาระ บูรณาการ ระดับช่วงชั้น มัธยมต้น ระยะเวลา 18 (ชม.) เพื่อให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่สนใจในคุปองครูหลักสูตรดังกล่าว ได้ศึกษาตามหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง
หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูสนใจในหลักสูตรสามารถติดต่อได้ที่ https://karusatpanya.org/ หรือสามารถสอบถามได้ที่ Line : @trainingobec ( มี @ ).
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้