หลักสูตร MBA ของ ACEM ติดอันดับที่ 39 ของโลก จากการจัดอันดับของไฟแนนเชียล ไทม์ส ประจำปี 2559

IQML

สุดยอดขีดเีขียน (400)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:414
เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 14.24 น.

เซี่ยงไฮ้--1 ก.พ.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการบริหารจัดการอานไท่ (ACEM) ในสังกัดมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (SJTU) ยังคงความโดดเด่นในแวดวงสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจ โดยในปี 2559 หลักสูตร MBA ของ ACEM ได้ไต่ขึ้นสู่อันดับที่ 39 ของโลก จากการจัดอันดับขององค์กรข่าวธุรกิจชั้นนำของโลกอย่างไฟแนนเชียล ไทม์ส นับว่าเป็นการขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3 ปีติต่อกัน หลังจากอยู่ในอันดับที่ 77 ในปี 2557 และอันดับที่ 55 ในปี 2558

หลักสูตร MBA ของ ACEM ทุ่มเทให้กับการพัฒนานักศึกษาและเบิกทางสู่การประกอบหน้าที่การงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นอย่างเด่นชัดจากการจัดอันดับต่างๆ รวมถึงการจัดอันดับโดยไฟแนนเชียล ไทมส์ ทั้งนี้ อัตราการจ้างงานของผู้จบการศึกษาหลักสูตร MBA ของ ACEM อยู่ที่ 100% ขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนอยู่ที่ 168% และอันดับความสำเร็จในการบรรจุเข้าทำงานอยู่ในอันดับที่ 22 ด้านระดับประสบการณ์ของคอร์สนานาชาติอยู่ในอันดับที่ 36 และความคุ้มค่าอยู่ในอันดับที่ 33 นอกจากนี้ หลักสูตร MBA ของ ACEM ยังครองอันดับที่ 10 ในด้านการสอนวิชาเกี่ยวกับอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการผลิต และโลจิสติกส์ จากการจัดอันดับหลักสูตร MBA ทั่วโลกประจำปี 2559

นอกจากนี้ ไฟแนนเชียล ไทม์ส เปิดเผยว่า รายได้เฉลี่ยของศิษย์เก่าภายหลังจบการศึกษา 3 ปี อยู่ที่ 113,340 ดอลลาร์ต่อปี

ACEM เป็นสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจแห่งแรกในจีนแผ่นดินใหญ่ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมรับรองสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจอันทรงอิทธิพลที่สุดในโลก 3 แห่ง อันประกอบด้วย AMBA, EQUIS และ AACSB สำหรับหลักสูตร MBA ของ ACEM นั้น มีมานานกว่า 20 ปีแล้ว และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากมาโดยตลอด ทั้งนี้ จากการจัดอันดับประจำปี 2559 ของไฟแนนเชียล ไทม์ส พบว่า ระดับคุณวุฒิและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของคณาจารย์ประจำอยู่ในระดับสูง โดยอาจารย์กว่า 91% จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านจำนวนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อเทียบกับจำนวนคณาจารย์อยู่ในอันดับที่ 86

ทางวิทยาลัยใช้ทรัพยากรหลากหลายรูปแบบเพื่อสร้างบรรยากาศที่สมบูรณ์และสมจริงในการพัฒนาความเป็นผู้นำทางธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับบริษัทจริง และการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นต้น

เพื่อเป็นการผลักดันให้นักศึกษาเริ่มทำธุรกิจเป็นของตนเอง หลักสูตรนี้จึงมีการเรียนการสอนด้านความเป็นผู้ประกอบการด้วย โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการภายใต้หลักสูตรดังกล่าว ได้ให้เงินทุนสนับสนุนโครงการของนักศึกษาไปแล้วกว่า 37 โครงการ คิดเป็นเงินรวมกว่า 11 ล้านหยวน (1.67 ล้านดอลลาร์)

นอกจากนี้ หลักสูตรดังกล่าวยังส่งเสริมให้นักศึกษาได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในโลกกว้าง โดยมีโครงการศึกษายังต่างประเทศในระยะสั้น โครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศ รวมถึงหลักสูตร 2 ปริญญา ซึ่งในแต่ละปีมีนักศึกษากว่า 300 คนที่ได้รับโอกาสเดินทางไปเรียนในต่างประเทศ

ทั้งนี้ มีสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจแห่งอื่นๆในประเทศจีนที่ได้รับการจัดอันดับด้วยเช่นกัน เช่น มหาวิทยาลัยเหรินหมิน ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 43 และมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 47

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา