สายรันนิ่งต้องดู! ชวนมาดูเคล็ดลับใช้นาฬิกาวิ่งยังไงให้เต็มศักยภาพ

wangcassie

ขีดเขียนชั้นอนุบาล (92)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:129
เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2568 22.25 น.

 

จริงอยู่ว่าการวิ่งออกกำลังกายนั้นขอแค่มีเพียงรองเท้าผ้าใบกับใจถึงๆ แต่ถ้าหากใครอยากยกระดับขีดความสามารถของตัวเองไปอีกหนึ่งขั้น การมีตัวช่วยอย่างนาฬิกาวิ่งนั้นถือว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะบันทึกข้อมูลพื้นฐาน เช่น ระยะทาง, เวลา และเพซ รวมไปถึงอัตราการเต้นของหัวใจได้แล้ว เรายังสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับใช้เพื่อออกแบบการฝึกซ้อมให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้เช่นกัน และเพื่อเป็นการช่วยให้การออกกำลังกายของคุณสนุกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วันนี้เราจะมาพูดถึงแนวทางการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ของนาฬิกาวิ่งให้คุ้มค่าตามรายละเอียดด้านล่าง ดังนี้

 

การตั้งค่าก่อนเริ่มใช้งาน

เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมาสามารถสะท้อนความเป็นจริงได้อย่างตรงจุด เราควรกรอกข้อมูลส่วนตัวที่ระบบจะนำไปใช้คำนวณปริมาณการเผาผลาญแคลอรีและโซนหัวใจให้ถูกต้อง เช่น เพศ, อายุ, น้ำหนัก, ส่วนสูง เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว ให้เราตั้งค่าโซนหัวใจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการออกกำลังกาย เช่น Zone 2 สำหรับการเผาผลาญไขมัน, Zone 3 สำหรับเสริมความแข็งแรงและความทนทาน Zone 4  สำหรับเสริมสมรรถนะ เป็นต้น

 

การเลือกโหมดการวิ่งให้ถูกต้อง

หลังจากกรอกข้อมูลและตั้งค่าโซนหัวใจเรียบร้อย ต่อมาก็ถึงเวลาที่เราจะเริ่มออกวิ่งกัน โดยสิ่งที่เราควรทำก่อนเริ่มถีบตัวออกจากจุดสตาร์ทได้แก่การเลือกโหมดการวิ่งให้ถูกต้องเพื่อให้เราสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้มาใช้ในการวางแผนการวิ่งในภายหลังได้อย่างแม่นยำ ซึ่งโหมดการวิ่งต่างๆ ของนาฬิกาวิ่งมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้

โหมดพื้นฐาน – เหมาะกับคนที่เดินหรือวิ่งเพื่อออกกำลังกายเบาๆ เน้นการเก็บข้อมูลพื้นฐานหลังการเดินและวิ่ง เช่น ระยะทาง, เวลา และความเร็ว

โหมด Interval Training – เป็นโหมดที่ตอบโจทย์กับคนที่อยู่ในช่วงการฝึกซ้อมแบบ Interval ซึ่งเป็นการฝึกที่เน้นการวิ่งเร็วสลับกับวิ่งช้า

โหมด Virtual Pacer – เป็นโหมดที่เหมาะกับคนที่อยากจะวิ่งทำความเร็วให้ได้ตามเป้าหมาย

โหมด Track Run – เป็นโหมดที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานเพื่อฝึกซ้อมในลู่วิ่ง ผู้ใช้งานสามารถกำหนดเป้าหมายการฝึกซ้อมได้ตามต้องการ

โหมด Trail Running – เป็นโหมดที่มีฟังก์ชันพิเศษสำหรับการวิ่งเทรล เช่น การวัดระดับความชัน และการนำทาง เป็นต้น

การวิเคราะห์ข้อมูล

หลังจากวิ่งเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็ถึงเวลาที่เราจะมาดูข้อมูลทั้งหมดที่นาฬิกาวิ่งบันทึกไว้ระหว่างวิ่งกัน โดยข้อมูลที่ได้จะประกอบไปด้วย ข้อมูลเบื้องต้น เช่น เวลา ระยะทาง เพซ และแคลอรี, โซนหัวใจ และรายละเอียดรอบ (Lap) ซึ่งการศึกษาข้อมูลทั้งหมดนี้มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผนการฝึกซ้อมตลอดจนปรับรูปแบบการฝึกเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างเป็นระบบ

การใช้งานฟังก์ชันอื่นๆ นอกเหนือไปจากการวิ่ง

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนาฬิกาวิ่งหรือนาฬิกาออกกำลังกาย แต่นาฬิกาดังกล่าวกลับมีฟังก์ชันเสริมที่จะช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างรอบด้านไม่ว่าจะเป็นระบบการวัดระดับความเครียด, ระบบติดตามคุณภาพการนอน, ระบบแจ้งเตือนฉุกเฉินในกรณีพบความผิดปกติที่เกิดกับผู้ใช้งาน เป็นต้น

จากรายละเอียดข้างต้น ทุกคนคงจะเห็นแล้วใช่ไหมว่าการทำความเข้าใจฟังก์ชันต่างๆ ของนาฬิกาวิ่งนั้นมีส่วนช่วยให้เราออกกำลังได้สนุก และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลังจากทราบฟังก์ชันดีๆ กันไปแล้ว ทุกคนอย่าลืมลองไปสำรวจและใช้งานฟังก์ชันต่างๆ บนนาฬิกาของตัวเองในการวิ่งครั้งต่อไปด้วยละ 

 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา