ส่อง 5 ประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ในยุค Open Banking

admeadme

ขีดเขียนชั้นมอต้น (117)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:120
เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 10.57 น.

เปิดโลกประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ Open Banking ที่คุณอาจไม่รู้

ในยุค Open Banking ที่สะดวกสบาย แต่จะมั่นใจได้ยังไงว่าคุณจะไม่พบประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เข้ามาทำอันตรายการเงินของคุณ Open Banking เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านการเงินได้มากขึ้นผ่านการเชื่อมต่อระบบและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับธนาคาร แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ก็มานำมาซึ่งความท้าทายใหม่ในการเสริมการป้องกันภัยไซเบอร์ เพราะระบบอาจมีช่องโหว่ที่ถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้ง่ายกว่าเดิม บทความนี้จะพาไปเจาะลึกประเภทของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สำคัญในยุค Open Banking เพื่อให้คุณสามารถสร้างอนาคตทางการเงินที่ปลอดภัยจากการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง

 

ประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์อันตรายในยุค Open Banking มีอะไรบ้าง

Open Banking เป็นระบบที่เปิดให้ธนาคารสามารถแชร์ข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่ได้รับอนุญาตแก่ผู้ให้บริการภายนอกเพื่อพัฒนาบริการใหม่ ๆ ให้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าในประเทศไทย Open Banking จะยังไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็กำลังผลักดันนโยบายนี้เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีล้ำสมัยด้านการเงินในอนาคต โดยเริ่มจากการทดลองในบางพื้นที่และเปิดให้ธนาคาร
ต่าง ๆ ทดสอบภายใต้โครงการ Sandbox อย่างไรก็ตามแม้ Open Bannkimg จะเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโฉมวงการการเงินได้ แต่ก็อาจเกิดประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ใหม่ ๆ ที่ต้องรับมือให้ทันเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

 

การโจมตีผ่านช่องโหว่ใน API

API (Application Programming Interface) เป็นเครื่องมือในระบบ Open Banking ที่ช่วยให้ธนาคารสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันเทคโนโลยีนี้ก็อาจตกเป็นเป้าหมายในโจมตีจากภัยคุกคามไซเบอร์ได้ หากเกิดช่องโหว่และไม่มีการป้องกันที่ดีพอ ข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงินก็อาจเกิดการถูกโจรกรรม ดังนั้นการโจมตีผ่านช่องโหว่ API จึงเป็นประเภทของภัยคุกคามทางไซเบอร์ของ Open Banking  ที่ควรให้ความระมัดระวัง

 

การโจมตีผ่าน Phishing และ Social Engineering

การโจมตีผ่าน Phishing และ Social Engineering เป็นหนึ่งในประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ของ Open Banking ที่พบได้บ่อย โดยผู้ประสงค์ร้ายจะหลอกลวงผู้ใช้งานให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต หรือรหัสผ่าน ยิ่งในยุค Open Banking ที่ข้อมูลทางการเงินถูกแลกเปลี่ยนในรูปแบบดิจิทัลและถูกแชร์ระหว่างหลายฝ่าย ทำให้ความเสี่ยงในการถูกหลอกลวงเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ใช้อาจไม่ทันระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูล

 

การโจมตีจากการใช้ข้อมูลที่รั่วไหล (Data Breach)

อีกหนึ่งประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่น่ากลัวที่สุดในยุค Open Banking คือการโจมตีจากการใช้ข้อมูลรั่วไหล หรือ Data Breach โดยเฉพาะข้อมูลที่แชร์กันระหว่างหลายแพลตฟอร์ม การรั่วไหลของข้อมูลจากธนาคารหรือผู้ให้บริการภายนอกอาจเกิดจากช่องโหว่ Data Breach ที่ไม่ทราบ ซึ่งทำให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้ง่าย เนื่องจากไม่มีการยืนยันตัวตนที่เข้มงวดจากช่องโหว่ที่ยังไม่ถูกตรวจพบโดยผู้ดูแลระบบ

 

การโจมตีแบบ Man-in-the-Middle (MITM)

การโจมตีแบบ Man-in-the-Middle (MITM) เป็นประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ผู้ประสงค์ร้ายจะแอบแฝงตัวเข้ามาระหว่างการสื่อสารของผู้ใช้กับผู้ให้บริการเพื่อแอบดักจับข้อมูลที่ถูกส่งไปมา
ระหว่างกัน ซึ่งการโจมตีในลักษณะนี้มักเกิดจากการเชื่อมต่อที่ไม่ปลอดภัยและการป้องกันที่อ่อนแอ นำไปสู่การถูกขโมยข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหรือถูกเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้

 

การโจมตีแบบ Credential Stuffing

การโจมตีแบบ Credential Stuffing เกิดขึ้นเมื่อผู้ประสงค์ร้ายใช้ข้อมูลที่ขโมยมา หรือได้จากการรั่วไหลของข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้กับบริการธนาคารต่าง ๆ ใน Open Banking ที่มีการเชื่อมต่อกับหลายแอปพลิเคชัน ซึ่งผู้ใช้หลายคนมักใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบริการ ทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายโดยไม่ต้องเจาะระบบให้ซับซ้อน


Open Banking เป็นเทคโนโลยีที่กำลังถูกผลักดันเพื่อยกระดับบริการต่าง ๆ ในภาคการเงินให้ดียิ่งขึ้น แต่ความสะดวกสบายของเทคโนโลยีก็ย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยงที่หน่วยงานต้องหาวิธีการป้องกันภัยไซเบอร์ให้แข็งแกร่งขึ้นเช่นกัน เพราะแม้ว่าเทคโนโลยี Open Banking จะเพิ่มความรวดเร็วให้กับบริการทางการเงิน แต่ก็นำมาซึ่งประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ยากจะจัดการ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ประเภทของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นใหม่สามารถคุกคามเราได้ และเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก Open Banking ได้อย่างมั่นใจในอนาคต การเสริมสร้างความตระหนักรู้และการพัฒนามาตรการวิธีป้องกันภัยไซเบอร์จึงสำคัญอย่างยิ่ง

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา