อาการปัสสาวะเล็ด ปัญหาที่พบบ่อยในผู้หญิงแม้อายุน้อย !

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (487)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:884
เมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 21.11 น.

ปัสสาวะเล็ด

ปัญหาฉี่เล็ดโดยปกติแล้ว สามารถพบเจอได้ในปัสสาวะเล็ดผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็ไม่ได้แปลว่าผู้หญิงอายุน้อยและผู้ชาย จะไม่พบเจอกับอาการนี้ ปัสสาวะเล็ดเป็นโรคอย่างหนึ่ง ที่อาจทำให้คุณไม่มั่นใจ จนกระทบต่อการใช้ชีวิตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เรามารู้จักการรักษาปัสสาวะเล็ดพร้อมวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเองกันดีกว่า

ปัสสาวะเล็ดคืออะไร อาจไม่เกี่ยวกับช่วงอายุ

ปัสสาวะเล็ดหรือโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence) เป็นภาวะผิดปกติของระบบประสาท ที่ไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือการทำงานของกล้ามเนื้อท่อปัสสาวะได้ อาการจะเริ่มจากการไอแล้วฉี่เล็ด จาม หัวเราะ ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศแต่ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้หญิงสูงอายุ นอกจากนี้ยังมีปัสสาวะเล็ดเกิดจากเนื้องอก เมื่อคุณเริ่มมีอาการปัสสาวะเล็ดแบบควบคุมไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจโรคที่เป็นอยู่

 

ปัสสาวะเล็ดแบบไม่สามารถควบคุมได้ เกิดจากอะไร 

ปัสสาวะเล็ดเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ ในส่วนกระเพาะปัสสาวะหรือเนื้อเยื่อที่เกี่ยวกับเส้นเอ็น ที่ทำการพยุงอวัยวะอ่อนลง เมื่ออวัยวะในอุ้งเชิงกรานหรือเกิดการหย่อนยานของช่องคลอด ทำให้ท่อปัสสาวะหย่อนตัวลง จึงพบได้กับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 

ปัสสาวะเล็ดอาการจะเกิดเมื่อเวลาไอแล้วฉี่เล็ด, จาม, หัวเราะ, แสดงอารมณ์, ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ส่งผลต่อแรงดันในช่องท้อง ส่งผลให้อวัยวะภายในที่หย่อนตัวลง ไม่สามารถทนต่อแรงดันนั้นได้ เลยเกิดปัญหาปัสสาวะเล็ดตามมา 

นอกจากนี้โรคยังส่งผลต่อสุขภาพจิตได้อีกด้วย เนื่องจากอาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจ ในการใช้ชีวิต เสียบุคลิกภาพ เวลาพบปะสังคมและพบปัญหาฉี่เล็ดตอนนอน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. น้ำหนักตัวมากหรือผู้ที่เป็นโรคอ้วน เนื่องจากมีไขมันส่วนเกิน เข้าไปกดทับบริเวณช่องท้อง จึงส่งผลไปถึงกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเล็ดบ่อย
  2. ความเสื่อมของร่างกายที่เกิดจากอายุ ตั้งแต่กล้ามเนื้อในบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือกระเพาะปัสสาวะ หย่อนคล้อยและเก็บปัสสาวะได้น้อยลง
  3. ปัสสาวะเล็ดในผู้สูงอายุ ร่างกายของผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ช่วยเกี่ยวกับเยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเลยทำให้ฮอร์โมนนี้ลดน้อยลง จนเนื้อเยื่อเริ่มเสื่อมสภาพ
  4. ปัญหาหลังการคลอดบุตร ในการคลอดบุตรแต่ละรอบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนแอลง จนทำให้พบอาการปัสสาวะเล็ดผู้หญิงได้

 

อาการของปัสสาวะเล็ด

อาการของปัสสาวะเล็ด มีได้ทั้งอาการเริ่มต้นไปจนถึงอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ โดยแบ่งได้หลายอาการ ดังนี้

 

  • ปัสสาวะเล็ดที่เกิดจากแรงดันในช่องท้อง เป็นภาวะที่เกิดแรงดันกดทับกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเราใช้ชีวิตประจำวันอย่าง ไอแล้วปัสสาวะเล็ด จาม หัวเราะ ออกกำลังกายและยกของหนักอาการต่างๆ เหล่านี้เกิดจากภาวะหูรูดท่อปัสสาวะผิดปกติ ท่อปัสสาวะหย่อนยาน จนเกิดอาการปัสสาวะเล็ดออกมา
  • ปัสสาวะราด เป็นภาวะผิดปกติเมื่อมีอาการปวดปัสสาวะ และไม่สามารถกลั้นไว้ได้นาน ก่อนจะเข้าห้องน้ำ ทำให้ฉี่หยดก่อนเสร็จภารกิจ ซึ่งเกิดจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวกว่าปกติ
  • ปัสสาวะเล็ดราด เป็นภาวะปัสสาวะราดทันที เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ ภาวะนี้เกิดจากการมีแรงดันในช่องท้องและกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวกว่าปกติพร้อมกัน สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
  • ปัสสาวะล้น ภาวะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ เมื่อในกระเพาะปัสสาวะมีน้ำตกค้าง แรงดันจะส่งผล ให้หูรูดท่อปัสสาวะเปิดออกและเกิดอาการฉี่เล็ดตลอดเวลา ภาวะนี้เกิดได้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เนื้องอกหรือประสบอุบัติเหตุ

 

การป้องกันปัสสาวะเล็ด

การป้องกันปัสสาวะเล็ดเป็นวิธีที่ดีกว่ารักษาเพื่อแก้ไข ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตนเองง่ายๆ ดังนี้

 

  • ลดน้ำหนักเป็นอีกวิธีแก้ฉี่เล็ดแล้วได้เรื่องของสุขภาพด้วย ถ้าคุณมีน้ำหนักตัวมากเกินไป อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พบเจอปัญหาปัสสาวะเล็ด
  • ฝึกปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง เฉลี่ยวันละ 4-8 ครั้ง ควบคุมให้ไม่มากเกินไปหรือบ่อยเกินไป
  • สำหรับผู้หญิงมีวิธีบริหารอุ้งเชิงกราน ด้วยการฝึกขมิบช่องคลอด ในท่าที่ถูกต้องเริ่มจากขมิบค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นไต่ระดับไปถึง 15 วินาที เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ  
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 8 แก้ว ถ้าดื่มน้อยเกินไปหรือดื่มคาเฟอีน น้ำหวาน แอลกอฮอล์เป็นต้น อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองส่งผลให้ปัสสาวะเล็ดเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ปัสสาวะเล็ด

 

การรักษาปัสสาวะเล็ด

การรักษาปัสสาวะเล็ดมี 2 วิธี คือ การรักษาแบบประคับประคองและการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยแพทย์จะเลือกจากการวินิจฉัยอาการเริ่มต้นถึงอาการรุนแรง เพื่อให้ได้วิธีรักษาที่เหมาะสม

 

  • การรักษาแบบประคับประคอง เริ่มจากการบริหารกล้ามเนื้อด้วยการฝึกขมิบช่องคลอด วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีอาการแรกเริ่มหรือผู้ที่เตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด โดยแพทย์จะพิจารณาจากอาการปัสสาวะเล็ดและกำหนดระยะเวลาการฝึก ควบคู่ไปกับการทานยารักษาปัสสาวะเล็ดอย่างเหมาะสม
  • การรักษาแบบประคับประคองในผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง แพทย์จะเริ่มรักษาด้วยห่วงที่ช่วยพยุงช่องคลอด ลดการกดทับบริเวณกระเพาะปัสสาวะ เวลาไอจนปัสสาวะเล็ดหรือจาม จะไม่มีปัสสาวะออกมา ด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยอาจจะต้องใส่ห่วงไว้ตลอดการรักษา
  • การรักษาแบบประคับประคองด้วยหัตถการเลเซอร์ ใช้รักษาผู้ป่วยปัสสาวะเล็ดอาการไม่รุนแรงมาก โดยการนำเครื่องเลเซอร์เข้าไปกระชับในช่องคลอด เพื่อช่วยการฉี่เล็ดบ่อย
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้แพทย์จะใช้การผ่าตัดเนื้อเยื่อบริเวณใกล้คอปัสสาวะ ได้ผลดีในระยะยาว แต่ใช้เวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน ผู้ป่วยจึงต้องมีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดกระชับคลอด ผ่าตัดรักษาอุ้งเชิงกรานเป็นต้น

 

สรุปปัสสาวะเล็ดรีบรักษา อย่าปล่อยให้เสียความมั่นใจ 

การรักษาปัสสาวะเล็ด เริ่มได้จากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การลดน้ำหนัก, เลี่ยงการทานอาหารที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัว, คาเฟอีน, น้ำหวานและงดการดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อเราสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้น อาการปัสสาวะเล็ดอาจไม่ต้องร้ายแรง จนไปถึงขั้นผ่าตัด ทั้งนี้การรักษาปัสสาวะเล็ดต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าหากคุณเริ่มมีอาการควรพบแพทย์ เพื่อเริ่มรักษาได้อย่างทันท่วงที

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา