เริมเป็นแล้วทำไงดี ไขข้อข้องใจไปพร้อมกับรู้จักโรคเริมให้มากขึ้น
เริมโรคที่หลายคนอาจเคยได้ยินหรือเคยพบเจอมาก่อนแล้ว และรู้สึกว่าโรคเริมนั้นน่ากลัวจัง โรคเริมคืออะไร เกิดจากอะไร อาการเริมมีวิธีป้องกัน รักษา การใช้ยาทาเริมและดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเริมทำได้อย่างไรบ้างนั้น หลายคนยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ดีพอส่งผลให้มีความกังวลใจกันมาก ดังนั้นบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับโรคเริมให้มากขึ้นเพื่อการป้องกันและการดูแลตัวเองให้ห่างไกลเริมได้อย่างถูกต้อง
เริม อาการติดเชื้อทางผิวหนังคืออะไร
เริม เป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนังที่เกิดจากไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes virus) โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ได้แก่
- เริมชนิดที่ 1 (Oral herpes) มักเกิดขึ้นบริเวณริมฝีปาก ปาก หรือใบหน้า ทำให้เกิดตุ่มน้ำใสคล้ายไข่มุก
- เริมชนิดที่ 2 (Genital herpes) มักเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือบริเวณใกล้เคียง
อาการของโรคเริม อาการของโรคเริมจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่โดยทั่วไปจะพบอาการเริมดังนี้
- ตุ่มน้ำใส เป็นลักษณะเด่นของโรคเริม โดยตุ่มน้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นแผลเริมเป็นหนอง แล้วแตกออกเป็นแผล
- ปวดแสบปวดร้อน บริเวณที่เกิดตุ่มน้ำจะรู้สึกแสบร้อนและเจ็บปวด
- คัน อาจมีอาการคันร่วมด้วย
- ต่อมน้ำเหลืองโต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงอาจโตขึ้น
- ไข้ บางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ
เริม สาเหตุเกิดจากอะไร
โรคเริมเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส และสามารถติดต่อได้ง่าย การรักษาโรคเริมมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แต่โรคเริมวิธีรักษายังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย และการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ โรคเริม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus หรือ HSV) ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดหลักที่ทำให้เกิดโรคเริม คือ
การติดเชื้อไวรัส HSV-1
การติดเชื้อไวรัส HSV-1 (Herpes Simplex Virus type 1) มักทำให้เกิดเป็นเริมที่ปาก หรือใบหน้า คือไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุหลักของโรคเริมที่ปาก หรือบริเวณใบหน้า ซึ่งเราเรียกกันติดปากว่า ปากแตก
การติดเชื้อไวรัส HSV-2
การติดเชื้อไวรัส HSV-2 (Herpes Simplex Virus type 2) เป็นไวรัสที่มักเกี่ยวข้องกับโรคเริมที่อวัยวะเพศ โดยสามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ การสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำ หรือแผลของผู้ติดเชื้อ
ลักษณะอาการเมื่อเป็นเริม
เมื่อสงสัยว่าเริมอาการเริ่มต้น เป็นอย่างไร และเริ่มสงสัยว่าจะเป็นเริมหรือไม่นั้น ให้ดูจากลักษณะเด่น คือตุ่มน้ำใส ๆ คันและเจ็บ โดยทั่วไปจะพบที่ริมฝีปาก เริมที่อวัยวะเพศหรือเริมที่ปากเกิดจากบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย
1. เริมในผู้หญิง
โรคเริมในผู้หญิง เป็นการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus: HSV) โดยส่วนใหญ่จะเกิดเริมที่อวัยเพศหญิง ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพทางเพศได้อย่างมาก ซึ่งอาการเริมในผู้หญิงมีดังนี้
- ตุ่มน้ำใส ปรากฏเริมที่อวัยเพศหญิงภายนอก ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก หรือบริเวณใกล้เคียง ตุ่มน้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ แตกออกและกลายเป็นแผล
- ปวดแสบปวดร้อน รู้สึกแสบร้อนและเจ็บปวดบริเวณที่เกิดตุ่มน้ำ
- คัน อาจมีอาการคันร่วมด้วย
- ปัสสาวะแสบขัด: เนื่องจากตำแหน่งของตุ่มน้ำอาจอยู่ใกล้กับท่อปัสสาวะ
- ตกขาวผิดปกติ: อาจมีตกขาวมากขึ้นผิดปกติและมีกลิ่น
- ไข้ บางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ
- ต่อมน้ำเหลืองโต ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบอาจโตขึ้น
2. เริมในผู้ชาย
โรคเริมในผู้ชาย เป็นการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus: HSV) โดยส่วนใหญ่จะเกิดเริมที่อวัยเพศชาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพทางเพศได้อย่างมาก ซึ่งอาการเริมในผู้ชายมีดังนี้
- ตุ่มน้ำใส ปรากฏเริมที่อวัยเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก หรือบริเวณใกล้เคียง ตุ่มน้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ แตกออกและกลายเป็นแผล
- ปวดแสบปวดร้อน รู้สึกแสบร้อนและเจ็บปวดบริเวณที่เกิดตุ่มน้ำ
- คัน อาจมีอาการคันร่วมด้วย
- ปัสสาวะแสบขัด เนื่องจากตำแหน่งของตุ่มน้ำอาจอยู่ใกล้กับท่อปัสสาวะ
- ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณขาหนีบอาจโตขึ้น
- ไข้ บางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ
วิธีการดูแลตัวเอง เมื่อเป็นเริม
ไม่ว่าจะเป็นเริมที่อวัยวะส่วนใดก็ตาม การศึกษาวิธีการรักษาเริมที่อวัยวะเพศหรือวิธีรักษาเริมที่ปากให้หายเร็วที่สุดเมื่อเป็นเริม การรักษาและการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีจะช่วยให้อาการเริมดีขึ้นเร็วขึ้น และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นต่อไปนี้เป็นวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น มีขั้นตอนดังนี้
โรคเริมวิธีรักษาด้วยการดูแลแผล
- รักษาความสะอาดล้างบริเวณที่เป็นแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดเบา ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
- หลีกเลี่ยงการแกะเกา อาจทำให้แผลลุกลามและติดเชื้อได้
- ใช้ผ้าเย็นประคบจะช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงไม่ควรสัมผัสบริเวณที่เป็นแผลโดยตรง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
โรคเริมวิธีรักษาด้วยการดูแลร่างกาย
- พักผ่อนให้เพียงพอเพราะการพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่ดีขึ้น
- ดื่มน้ำมากๆ ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและขับของเสีย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วนจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- หลีกเลี่ยงความเครียด ความเครียดอาจทำให้อาการแย่ลง
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
โรคเริมวิธีรักษาด้วยการใช้ยา
- ยาต้านไวรัสควรทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดอาการและระยะเวลาในการเกิดแผล
- ยาแก้ปวด หากมีอาการปวดมาก สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ตามที่แพทย์แนะนำ
- การป้องกันการแพร่เชื้อ
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหายสนิท
- ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ
- ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสบริเวณที่เป็นแผล
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับโรคเริม
- การสัมผัสแสงแดดโดยตรง แสงแดดอาจทำให้อาการแย่ลง
- การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ระคายเคือง เช่น สบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม
ข้อควรจำ โรคเริมวิธีรักษาในปัจจุบันยังไม่มีทางหายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ การรักษาที่ถูกต้องและการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความรุนแรงและความถี่ในการเกิดอาการกำเริบ หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ทันที
เริม รู้ก่อนรักษาหายได้เร็ว
โรคเริมมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แต่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย และการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้