คีเลชั่น การล้างพิษในกระแสเลือด ทางเลือกใหม่ในการรักษา
ในยุคปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับมลภาวะทางอากาศ สิ่งแวดล้อม อาหาร ไปจนถึงน้ำดื่มที่ปนเปื้อน ร่างกายจึงเสี่ยงต่อการสะสมสารพิษโลหะหนักต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม รวมถึงสารหนู ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม การทำคีเลชั่น (Chelation) จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการบำบัดที่ช่วยล้างสารพิษโลหะหนักออกจากร่างกาย ฟื้นฟูการทำงานของระบบต่าง ๆ และส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง
การทำคีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) คืออะไร?
Chelation Therapy คือ หนึ่งในทางเลือกของการรักษา โดยการใช้สารละลายเคมีจับกับโลหะหนักในร่างกาย เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารหนู และอลูมิเนียม ซึ่งโลหะหนักเหล่านี้สามารถสะสมในร่างกายจากสิ่งแวดล้อม อาหาร หรือน้ำดื่มได้ เมื่อโลหะหนักสะสมในร่างกายอาจส่งผลเสียต่อระบบต่าง ๆ เช่น ระบบประสาท ระบบไต ระบบหัวใจ ไปจนถึงระบบภูมิคุ้มกัน การทำคีเลชั่นจะช่วยดักจับโลหะหนัก พร้อมขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีพิษโลหะหนักสะสมในร่างกาย
พิษของโลหะหนักส่งผลเสียต่อร่างกายได้หลายอย่าง เมื่อโลหะหนักสะสมอยู่ในอวัยวะ หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่งผลให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ ด้วยการรักษาแบบคีเลชั่นจะช่วยให้อาการกลับมาเป็นปกติ โดยผลกระทบต่อสุขภาพที่พบบ่อย ได้แก่
- ความผิดปกติของสมองและระบบประสาท : โลหะหนักอย่างตะกั่วกับปรอท ส่งผลต่อสมองกับระบบประสาท ทำให้ความจำเสื่อม สับสน จนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
- ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด : การสะสมของโลหะหนักอาจทำให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น
- ความเสียหายของไต : ไตเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากโลหะหนัก ซึ่งอาจนำไปสู่ความผิดปกติของไต รวมถึงโรคไตเรื้อรังได้
- ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน : โลหะหนักทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย
- ความผิดปกติกับระบบสืบพันธุ์ : การได้รับโลหะหนักอาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้มีบุตรยากหรือทารกมีสุขภาพไม่แข็งแรง
สำหรับการแสดงอาการก่อนจะทำคีเลชั่นขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณของโลหะหนัก รวมถึงระยะเวลาที่ได้รับ โดยอาการที่พบทั่วไป ได้แก่ อ่อนเพลียเรื้อรัง ปวดกล้ามเนื้อและข้อ ปวดหัว ปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวลหรือซึมเศร้า ความจำเสื่อม สมาธิสั้น เป็นต้น แต่ถ้าไม่ขับสารพิษออกจากร่างกายอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ข้อดีของการทำคีเลชั่นคืออะไร
การทำคีเลชั่นคือการใช้สารเคมีเพื่อจับกับโลหะหนักหรือแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายแล้วขับออกทางปัสสาวะ ข้อดีของการทำคีเลชั่น หรือการล้างสารพิษในร่างกาย มีดังต่อไปนี้
- ขจัดโลหะหนักออกจากร่างกาย Chelation เป็นรักษาโดยการนำโลหะหนักออกจากร่างกาย เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ไปจนถึงอลูมิเนียม เพราะโลหะหนักเหล่านี้สะสมในร่างกายเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ตัวอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคไต และโรคประสาท
- ปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิต Chelation Therapy สามารถช่วยการไหลเวียนโลหิตโดยการขจัดคราบไขมันกับโลหะหนักออกจากหลอดเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ปรับปรุงการทำงานของหัวใจ ทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองอีกด้วย
- ลดอาการปวด Chelation ช่วยลดอาการปวดที่เกิดจากภาวะต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ โรคเส้นใยกล้ามเนื้อ รวมถึงโรคไฟโบรไมอัลเจีย โดยการลดการอักเสบและปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต
- เพิ่มพลังงาน เนื่องจากคีเลชั่นช่วยปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต ทำให้การส่งออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้รู้สึกมีชีวิตชีวา ลดความเมื่อยล้า
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน การทำคีเลชั่นสามารถช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โดยการลดการอักเสบและขับสารพิษออกจากร่างกายสิ่งนี้สามารถช่วยให้ป่วยน้อยลง และฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้น
- สุขภาพผิว คีเลชั่นสามารถช่วยทำให้สุขภาพผิวดีขึ้น ช่วยลดสิว รอยเหี่ยวย่น และริ้วรอย
- เพิ่มความจำและการโฟกัส คีเลชั่นบำบัดสามารถเพิ่มความจำและการโฟกัส ช่วยให้มีความคิดได้อย่างชัดเจน ทั้งยังมีประสิทธิสูงมากขึ้น
- ลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง คีเลชั่นบำบัดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ เพราะว่าคีเลชั่นลดการอักเสบ พร้อมทั้งขับสารพิษออกจากร่างกาย ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ล้วนเป็นสาเหตุในการเกิดโรคมะเร็ง
อย่างไรก็ตาม การทำคีเลชั่น เพื่อความปลอดภัยควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ต้องได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
แนะนำการเตรียมตัวก่อนคีเลชั่น
เมื่อตัดสินใจทำ Chelation สิ่งต่อไปคือการเตรียมตัวที่ดี เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย ดังนั้น จึงมีการเตรียมตัวก่อนทำคีเลชั่น ดังนี้
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการทำคีเลชั่น:
- ประเมินสภาพร่างกาย แจ้งประวัติ ยา และโรคประจำตัว
- ตรวจร่างกายและอาจส่งตรวจเลือดเพิ่มเติม
- ปรับพฤติกรรม:
- ทานอาหารมีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช และโปรตีน
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ไขมันสูง น้ำตาลสูง และแอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่
- พักผ่อนให้เพียงพอ:
- นอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
- จัดการความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก
- เตรียมความพร้อมทางจิตใจ:
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคีเลชั่นบำบัด
- ตั้งคำถามและปรึกษาแพทย์ทางด้านคีเลชั่นจนหายสงสัย
- เตรียมใจให้พร้อมสำหรับกระบวนการบำบัด
ขั้นตอนการทำคีเลชั่น
การทำคีเลชั่นจะทำเป็นคอร์ส ๆ โดยแต่ละคอร์สจะทำประมาณ 3-5 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง
ความห่างของแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ โดยคีเลชั่นแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
- ระหว่างทำ Chelation
- ผู้ป่วยจะนอนบนเตียง แพทย์จะทำการใส่เข็มเข้าที่หลอดเลือดดำ
- สารคีเลตจะถูกผสมกับสารละลายน้ำเกลือและวิตามินต่าง ๆ ก่อนฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
- ปริมาณกับระยะเวลาในการฉีดขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปริมาณการสะสมโลหะหนัก
- ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายระหว่างทำคีเลชั่น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะหายไปเองหลังการทำคีเลชั่น
- หลังดูแลหลังทำ Chelation
- ผู้ป่วยควรดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ เพื่อช่วยขับสารคีเลต และล้างโลหะหนักในร่างกายออก
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์
- แพทย์นัดติดตามผลการรักษา อาจจำเป็นต้องตรวจเลือดเพิ่มเติม
สรุป คีเลชั่นสำคัญอย่างไร
คีเลชั่นเป็นการรักษาทางเลือก ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนักออกจากร่างกาย การทำคีเลชั่นสามารถช่วยลดอาการของโรคที่เกิดจากพิษโลหะหนัก เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มพลังงาน ปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต รวมถึงช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ การทำคีเลชั่นควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยของผู้รักษา
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้