ภาษีนำเข้าสินค้าคืออะไร มีวิธีคำนวณภาษีอากรอย่างไร?

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (496)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:898
เมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2567 19.41 น.

ภาษีนำเข้า

 

ในยุคที่การค้าโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายตลาดและตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่การนำเข้าสินค้าก็มาพร้อมกับภาษีนำเข้าที่อาจส่งผลต่อกำไรและต้นทุน ดังนั้น การเข้าใจภาษีนำเข้าและวิธีคำนวณจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการนำเข้าสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้มากที่สุด ในบทความนี้จะมาเช็คภาษีนําเข้ากรมศุลกากร พร้อมเทคนิคการนำเข้าสินค้าอย่างไรให้เสียภาษีน้อยที่สุด

 

ทำความรู้จักกับความสำคัญของภาษีนำเข้า 

ภาษีนำเข้า (Import Duty) คือภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศเมื่อสินค้านั้นเข้ามายังประเทศของตน ซึ่งอาจเรียกเก็บในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์จากมูลค่าของสินค้าที่นำเข้า หรืออาจเป็นจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในแต่ละประเภทของสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการนำเข้าสินค้า ส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล

ภาษีนำเข้าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

นําเข้าสินค้า เสียภาษีอะไรบ้าง? การเสียภาษีนำเข้าสินค้าประกอบด้วยภาษีหลายประเภทที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้านำเข้า เช่น

  1. ภาษีนำเข้า เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ อัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า อาจมีการกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์จากมูลค่าหรือเป็นอัตราคงที่ตามประเภทของสินค้า
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าเพิ่มในกระบวนการผลิตและการจำหน่ายสินค้า ซึ่งรวมถึงสินค้านำเข้า โดยทั่วไปจะคำนวณจากมูลค่าของสินค้า (รวมภาษีนำเข้า) โดยมีอัตราที่กำหนดไว้ เช่น 7% ในประเทศไทย
  3. ภาษีศุลกากรขาเข้า ซึ่งอาจรวมถึงค่าธรรมเนียมการตรวจสอบสินค้า ค่าขนส่ง หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตนำเข้าสินค้า
  4. ค่าธรรมเนียมการประกันภัย ในกรณีที่มีการประกันภัยสำหรับสินค้านำเข้า อาจมีค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะรวมอยู่ในต้นทุนสินค้านำเข้า

 

ภาษีนำเข้ามีวิธีคำนวณอย่างไร

ภาษีนำเข้าสินค้า

ในการนำเข้าสินค้า การคำนวณภาษีขาเข้าเป็นสิ่งที่ผู้นำเข้าทุกคน ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือใหญ่ต้องเข้าใจและคำนวณให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังต้องไม่ลืมนำค่าภาษีไปรวมในต้นทุนเพื่อใช้กำหนดราคาขายที่เหมาะสมด้วย โดยอัตราภาษีนำเข้าของกรมศุลกากรจะใช้ราคา CIF (Cost Insurance and Freight) เป็นหลักในการคิดภาษีนำเข้า เรามาดูวิธีคำนวณภาษีนําเข้า คิดยังไงกัน

 

CIF คืออะไร?

 

  • C หมายถึง Cost หรือ ต้นทุน สามารถดูได้จากใบ Commercial Invoice หรือใบ PO
  • I หมายถึง Insurance หรือ ประกันภัย โดยจะใช้ยอดในการทำประกัน ในกรณีที่ไม่ได้ทำประกันภัย คิดเป็น 1% จากต้นทุน และในกรณีที่มีการซื้อประกันกับบริษัทประกันภัย ให้คิดตามจริง
  • F หมายถึง Freight หรือ ค่าขนส่ง สำหรับการหาค่าขนส่ง สามารถสอบถามจาก Freight Forwarder ได้เลย หรือในกรณีที่ไม่ทราบ ให้กำหนดใช้เรทอัตรา 10% จาก Cost ทั้งหมด

สูตรการคำนวณ

  1. คำนวณราคา CIF = รวมค่าสินค้า, ค่าประกันภัย และค่าขนส่งระหว่างประเทศ
  2. คำนวณอากรขาเข้า = ใช้สูตร CIF × อัตราภาษีอากรขาเข้า
  3. คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) = คำนวณจากยอดรวม CIF + อากรขาเข้า × ด้วย 7%
  4. รวมค่าภาษีที่ต้องชำระ = รวมอากรขาเข้าและ VAT

ตัวอย่างการคำนวณ

มูลค่าของสินค้าที่นำเข้าจำนวน 200,000.00 บาท มีค่าประกัน 2,000.00 บาท (1%) กรณีที่ไม่ได้ทำประกันภัย และมีค่าขนส่งระหว่างประเทศ 20,000.00 บาท และอัตราภาษีนำเข้า 10%

  1. ราคา CIF
    ค่าสินค้า + ค่าประกัน + ค่าขนส่งระหว่างประเทศ = ราคา CIF
    200,000.00 + 2,000.00 + 20,000.00 = 222,000.00 บาท
  2. ค่าภาษีอากรขาเข้า
    ราคา CIF × อัตราภาษีอากรขาเข้า = ภาษี
    222,000.00 × 10%=22,200.00 บาท
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ภาษี + (ราคา CIF × อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม) = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    22,200.00 + (222,000.00 × 7%) = 37,740.00 บาท
  4. รวมภาษีที่ต้องชำระ
    ภาษี + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าภาษีนำเข้าทั้งหมดที่ต้องชำระ
    22,200.00 + 37,740.00 = 59,940.00 บาท

 

เคล็ดลับนำเข้าสินค้า ให้เสียภาษีนำเข้าน้อยที่สุด หรือนำเข้าแบบปลอดภาษี

  • ใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงทางการค้า ตรวจสอบว่าประเทศต้นทางของสินค้าตกลงทำการค้ากับประเทศหรือไม่ หากมีการทำความตกลงทางการค้า อาจทำให้สินค้านั้นได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าหรือเสียภาษีน้อยลง และศึกษาสิทธิประโยชน์จากสัญญาการค้าเสรีที่มีอยู่ เช่น AFTA หรือ GSP
  • เลือกประเภทสินค้าที่ต้องการนำเข้า เลือกประเภทสินค้าที่มีอัตราภาษีต่ำ หรือตรวจสอบสินค้าที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • ใช้สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน หากเป็นผู้ประกอบการที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลสนับสนุน อาจมีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีหรืออัตราภาษีที่ลดลง
  • นำเข้าสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมถึงภาษี
  • ทำประกันภัยสำหรับสินค้านำเข้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเสียหายและช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
  • วางแผนการนำเข้าอย่างรอบคอบและชัดเจน ทั้งในเรื่องเวลาและวิธีการ เพื่อลดความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น
  • หาข้อมูลและคำปรึกษา เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า รวมถึงการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากร เพื่อให้เข้าใจสิทธิและหน้าที่อย่างถูกต้อง
  • การนำเข้าสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิต หากเป็นไปได้ ควรนำเข้าสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิตเพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในกระบวนการนำเข้า

 

สรุป ภาษีนำเข้า รู้ละเอียดง่ายต่อการนำเข้าสินค้ามากขึ้น

การนำเข้าสินค้าแต่ละครั้งใช้งบประมาณค่อนข้างมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมีการจัดเตรียมเอกสาร การคำนวณภาษีนำเข้า เช่น อัตราอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างรอบคอบและครบถ้วน รวมถึงควรคำนึงการเลือกซื้อสินค้าที่เสียภาษีน้อยที่สุด และพิจารณาเลือกใช้สิทธิต่าง ๆ ที่ช่วยลดค่าภาษีนำเข้าสินค้า เช่น สัญญาการค้าเสรี เนื่องจากภาษีนำเข้านั้นมีผลต่อราคาสินค้าในตลาดนั่นเอง

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา