เซ็บเดิร์มคืออะไร? วิธีรักษาและป้องกันแบบยั่งยืน

mooky555

ขีดเขียนเต็มตัว (206)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:323
เมื่อ 7 กันยายน พ.ศ. 2567 14.50 น.

 

เซ็บเดิร์ม หรือผื่นแพ้ต่อมไขมัน โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่หากใครได้เป็น หรือมีอาการกำเริบ นอกจากจะพาให้จิตตก สูญเสียความมั่นใจ สร้างความรำคาญต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังต้องเสียเวลาและเงินในการรักษาอีกไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะแม้จะไม่ใช่โรคที่สามารถติดต่อกันได้ แต่โรคเซ็บเดิร์มที่ว่านี้สามารถกลับมามีอาการได้เมื่อถูกกระตุ้น โดยเฉพาะในหน้าร้อนที่อุณหภูมิไม่เป็นมิตรกับผิว ความเครียด ภาวะเจ็บป่วยไม่สบายที่บั่นทอนร่างกายให้อ่อนแอลง ตลอดจนทำให้คนที่เป็นสูญเสียความมั่นใจไปไม่น้อยเลยทีเดียว

ทำความรู้จัก “เซ็บเดิร์ม” โรคผิวหนังอักเสบที่ไม่น่ามอง

“เซ็บเดิร์ม” (Seborrheic Dermatitis) เป็นโรคผิวหนังที่เกี่ยวกับการอักเสบเรื้อรัง หรือเรียกอีกชื่อว่า ‘โรคต่อมไขมันอักเสบ’ ซึ่งมักเกิดขึ้นบริเวณที่มีต่อมไขมัน เช่น บริเวณหนังศีรษะ ไรผม ใบหู หัวคิ้ว ข้างจมูก ร่องแก้ม รอบริมฝีปาก หน้าอก รักแร้ หรือขาหนีบ เป็นต้น โดยเมื่อมีอาการจะทำให้ผิวหนังมีอาการแดง แสบ ลอก และอาจมีอาการคันร่วมด้วยในบริเวณที่เป็น เช่น บางคนเป็นเซ็บเดิร์มที่หน้าอกก็อาจมีผื่นลอก แดง คันที่บริเวณอก หรือหากเป็นบริเวณหนังศีรษะก็จะมีอาการคล้ายเป็นรังแค แต่หากมีการอักเสบเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดผมร่วงตามมาได้เช่นกัน เซ็บเดิร์ม รักษา

ในส่วนของสาเหตุของโรคเซ็บเดิร์มนั้น ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปทางการแพทย์ที่แน่ชัดถึงสาเหตุของโรค แต่ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของภูมิแพ้ที่มาจาก

  • ภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เป็นๆ หายๆ เมื่อร่างกายถูกกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้หรือภูมิคุ้มกันในร่างกายตกลง อาการของโรคเซ็บเดิร์มก็สามารถกำเริบขึ้นมาได้ 
  • พันธุกรรมโรคภูมิแพ้ สาเหตุส่วนหนึ่งของการเกิดโรคเซ็บเดิร์มนั้นเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นภูมิแพ้ก็มีโอกาสที่เราจะเป็นโรคเซ็บเดิร์มได้เช่นกัน โดยตัวโรคจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและสูญเสียสมดุลบริเวณผิวหนัง ทำให้เชื้อยีสต์มีปริมาณเยอะขึ้นและก่อให้เกิดการอักเสบ แดง ลอก ตามมา

นอกจากเรื่องของภูมิแพ้นี้แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ทำให้ตัวโรคสามารถกำเริบ หรือแสดงอาการขึ้นมาได้ คือ 

  • ภาวะความเจ็บป่วยไม่สบายของร่างกาย 
  • ระดับของฮอร์โมนที่แปรปรวน
  • ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ความร้อน แสงแดด หรือรังสี UV 
  • ฝุ่นและมลภาวะ
  • เชื้อราส่วนเกินบนผิว หรือปฏิกิริยาการอักเสบของยีสต์ส่วนเกินที่ทำให้ผิวหนังอักเสบ แดง ลอก

 

อาการแบบไหนถึงจะเรียกว่าเป็นเซ็บเดิร์ม

สำหรับอาการของโรคเซ็บเดิร์มหรือผื่นผิวหนังอักเสบ ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการให้เห็น ดังนี้

  • ผิวมัน มีผื่นแดง แสบและคัน 
  • ผิวลอก ตกสะเก็ดเป็นแผ่นที่สามารถลอกเป็นขุยๆ สีขาวหรือเหลืองบริเวณที่มีต่อมไขมัน เช่น หัวคิ้ว ข้างจมูก รอบริมฝีปาก ใบหู ใบหน้า หน้าอก รักแร้ ถุงอัณฑะ หรือตามร่างกายส่วนอื่นๆ รวมถึงบริเวณหนังศีรษะที่จะมีลักษณะคล้ายรังแค

เซ็บเดิร์ม VS สะเก็ดเงิน โรคผิวหนังที่คนมักสับสน

สำหรับโรคเซ็บเดิร์มและโรคสะเก็ดเงินนั้น เป็นโรคผิวหนังที่มีการอักเสบและทำให้ผิวหนังลอก แดง คันและลอกเป็นขุยได้เหมือนกัน จนสร้างความสับสนให้ใครหลายคน แต่ทั้ง 2 โรคนี้ก็ยังมีอาการที่แตกต่างกันและทำให้เราแยกโรคได้ โดยเซ็บเดิร์มจะเป็นขุยเล็กสีเหลืองหรือขาว แต่สะเก็ดเงินจะมีลักษณะเป็นขุยหนา แผ่นใหญ่ มีผื่นหนาสีแดงและขอบชัดเจนนั่นเอง

 

วิธีรักษาและการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคผิวหนังอักเสบ เซ็บเดิร์ม

1. ล้างหน้าด้วยความอ่อนโยน

ในการทำความสะอาดผิวหน้าในระหว่างที่มีอาการของโรคเซ็บเดิร์มนั้น ควรล้างหน้าให้เบามือที่สุด และแนะนำให้ใช้สบู่อ่อนๆ หรือล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าอย่างเดียว เพื่อไม่ให้ผิวเกิดการระคายเคืองเพิ่มเติม หากมีอาการบริเวณหนังศีรษะหรือหน้าอกแนะนำให้เปลี่ยนยาสระผมและสบู่ที่ใช้เป็นสูตรอ่อนโยนเช่นกัน

2. ทาครีมบำรุงสำหรับผิวแพ้ง่าย

นอกจากการทำความสะอาดอย่างอ่อนโยนแล้ว การรักษาความชุ่มชื้นก็ถือเป็นหัวใจหลักของการดูแลผิวที่มีการอักเสบ หรืออ่อนแออยู่เช่นกัน โดยแนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยน ไม่มีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างสารกันเสียหรือน้ำหอม และเหมาะกับผิวแพ้ง่าย

3. ทาครีมกันแดดเสมอ เลี่ยงแดดจัดๆ

แม้แสงแดดอ่อนๆ จะมีส่วนช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อยีสต์ หรือเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเซ็บเดิร์มได้ แต่ทั้งนี้ควรใช้ครีมกันแดดสูตร Physical เป็นประจำทุกวันแม้จะอยู่ในบ้าน ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสการระคายเคืองที่มาจากความร้อนในอากาศและรังสีจากแสงแดดที่จะกระตุ้นให้อาการแย่ลงได้ นอกจากนี้หากอยู่ในช่วงที่โรคเซ็บเดิร์มมีอาการกำเริบควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับแสงแดดจัดๆ โดยตรง แต่หากจำเป็นต้องเจอกับแสงแดดแนะนำให้สวมหมวก หรือกางร่มเพื่อเป็นเกราะป้องกันให้ผิวอีกชั้นหนึ่ง

4. งดขัดหน้า ทรีตเมนต์และเลเซอร์

ในระหว่างที่ผิวหนังมีการอักเสบอยู่นั้นถือเป็นช่วงที่ผิวอ่อนแอ ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง การขัดหน้า พอกหน้า ทรีตเมนต์ หรือเลเซอร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผิวหน้าทั้งหมดจึงควรงด หรือเลี่ยงออกไปก่อนจนกว่าผิวหนังหรืออาการของโรคเซ็บเดิร์มจะหายอักเสบ ไม่เช่นนั้นจะเหมือนเป็นการซ้ำเติมให้ผิวยิ่งมีอาการแย่ลงไปอีก

5. พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด

การพักผ่อนให้เพียงพอ มีคุณภาพ และไม่สะสมความเครียด เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลตัวเองและช่วยบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้นได้ เพราะความเครียดส่งผลให้ฮอร์โมนแปรปรวน และทำให้กระบวนการซ่อมแซมผิวหนังของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นการพักผ่อนให้มีคุณภาพและหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด จะช่วยให้อาการดีขึ้นและลดการกำเริบของโรคในอนาคตได้

6. ปรึกษาแพทย์ผิวหนังหากมีอาการรุนแรงขึ้น

หากดูแลและรักษาอาการเซ็บเดิร์มตามคำแนะนำ 5 ข้อบนแล้วพบว่าอาการรุนแรงขึ้นหรือมีแนวโน้มแย่ลง เช่น ผื่นลอกมาก เป็นขุย แสบ คัน ผิวคล้ำขึ้น ผมร่วงเยอะ หรือกระทบกับการใช้ชีวิต เกิดความวิตกกังวล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยยาที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และยาที่มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบทั้งกลุ่มสเตียรอยด์และไม่ใช่สเตียรอยด์ ตามการวินิจฉัยและประเมินอาการของแพทย์

แม้ว่าโรคเซ็บเดิร์มจะเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่เป็นแล้วสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก แต่เราสามารถดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้นมาได้ตามการดูแลผิวที่ได้แนะนำไป ร่วมกับการเข้าพบแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมเมื่ออาการมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้โรคสงบลงและไม่กำเริบออกมาให้สูญเสียความมั่นใจ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ผิวหนังและความงาม ชั้น 9 โรงพยาบาลวิมุต

เวลา 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0074

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา