ทำความรู้จักกับโรคต้อกระจก สาเหตุ อาการ รวมถึงการรักษา

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (546)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:980
เมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 02.26 น.

โรคต้อกระจก

ต้อกระจก (Cataract) คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาบริเวณจุดรับแสงที่ม่านตาขุ่นมัว จนทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่ต้อกระจกมักเกิดในผู้สูงอายุ 

ภาวะต้อกระจกพบได้บ่อยในผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป ต้อกระจกในผู้สูงอายุเกิดจากการเสื่อมสภาพของดวงตาที่มีการใช้งานอย่างหนักมาโดยตลอด หลายคนอาจสงสัยว่าโรคต้อกระจกอันตรายไหม? ทำให้ตาบอดได้เลยหรือไม่? มีวิธีรักษาต้อกระจกด้วยตัวเองหรือไม่ บทความนี้ชวนมาอ่านรายละเอียดข้อมูลเรื่องโรคต้อกระจกที่ควรรู้!


 

โรคต้อกระจก คืออะไร อันตรายไหม

 

ต้อกระจก คืออะไร

ต้อกระจก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาที่มีการเสื่อมสภาพ ทำให้แก้วตามีความขุ่นมัวขึ้น ส่งผลทำให้การรวมแสงที่ตกกระทบที่จอประสาทตาได้ไม่เต็มที่ ต้อกระจกภาพที่เห็นนั้นจะเป็นภาพมัวๆ หรือมองเห็นได้ไม่ชัดเจน หากเป็นโรคต้อกระจกระยะที่รุนแรงอาจทำให้ตาบอดสนิทได้เลย ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุ


 

สาเหตุของการเกิดต้อกระจก มีอะไรบ้าง

 

สาเหตุการเกิดต้อกระจก คือความเสื่อมของโปรตีนในดวงตา ส่งผลทำให้เลนส์ตาขุ่นมัวและเกิดก้อนแข็งขึ้น ส่วนใหญ่เมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีปัญหาโรคต้อกระจกตามมา เนื่องจากดวงตาผ่านการใช้งานมานานจึงเสื่อมตามสภาพ อีกสาเหตุหนึ่งคือ การเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา โรคตาหรือโรคอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อดวงตา เช่น โรคเบาหวาน โรคตาอักเสบ พันธุ์กรรมตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งจะพบได้น้อยมากๆ การทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น การได้รับรังสีหรือฉายแสงโรคต่างๆ ก็อาจส่งผลทำให้เกิดต้อกระจกได้


 

เช็คลิสต์อาการต้อกระจก รู้ได้อย่างไร

 

ต้อกระจก อาการ

โดยทั่วไปอาการของโรคต้อกระจกนั้นจะเห็นได้ชัดเจนในตอนที่อายุมากขึ้น และจะค่อยๆ เปลี่ยนไปอย่างช้าๆ ซึ่งลักษณะอาการแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะเริ่มต้น (Early Stage)

 

ต้อกระจก อาการเริ่มต้นหรือระยะเริ่มแรก จะมีอาการที่เห็นได้ไม่ชัดเจน โดยที่ผู้ป่วยอาจจะยังไม่ทันได้สังเกตตัวเองว่าเข้าสู่ภาวะการเป็นต้อกระจกแล้ว โดยอาการมีดังนี้

  • ตาพร่ามัว
  • ตาไม่สู้แสง
  • มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นเป็นแสงฟุ้งๆ 
  • เริ่มมองเห็นได้ยากในเวลากลางคืน
  • เริ่มแยกสีหรือความสว่างของแสงได้ยากขึ้น แม้ในที่ที่แสงสว่างมาก
  • มองเห็นภาพเป็นโทนสีเหลืองหรือมืดครึ้มลง
  • มีปัญหาสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น

ระยะท้าย (Late or Advanced Stage)

 

ต้อกระจกระยะสุดท้าย พัฒนามาจากระยะเริ่มต้นและไม่รีบรักษา ทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น โดยอาการมีดังนี้

  • ไม่สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน
  • ตาพร่ามัวเหมือนมีฝ้าหมอกมาบดบังการมองเห็น ถึงแม้จะเป็นเวลาในตอนเช้า
  • ดวงตามีลักษณะเป็นจุดสีขาวที่บริเวณรูม่านตา
  • หากเป็นหนักมากๆ อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
  • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ อย่างเช่น โรคต้อหิน ตาอักเสบ


 

การตรวจวินิจฉัยต้อกระจก 

 

หากสังเกตว่าตนเองเข้าข่ายเป็นโรคต้อกระจก ควรรีบการพบแพทย์เพื่อทำการวินัจฉัยอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจมีโอกาสเกิดมาจากต้อกระจกจริงๆ หรือมีโรคตาอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เพื่อหาแนวทางให้การรักษาต่อไปได้อย่างถูกวิธี โดยการตรวจวินัจฉัยอาการต้อกระจก มีดังนี้

  • ตรวจวัดระดับการมองเห็น (visual acuity)
  • ตรวจวินัจฉัยโดยใช้เครื่องมือ (slit lamp) เพื่อดูกระจกตาเบื้องต้น , ตรวจดูมุมตา , ตรวจลักษณะและขนาดของม่านตา
  • ตรวจอย่างละเอียดโดยวิธีการขยายม่านตา
  • ตรวจจอประสาทตา รวมถึงขั้วประสาทตา และจุดรับภาพ โดยจะทำการตรวจด้วยเลนส์พิเศษผ่านเครื่องมือ slit lamp เพื่อถ่ายรูปจอประสาทตา รวมถึงใช้เทคโนโลยี OCT ในการตรวจขั้วประสาทตาและจุดรับภาพ 
  • ตรวจความโค้งของกระจกตา และตรวจค่าสายตาว่า สั้น ยาว เอียงเท่าไหร่
  • ตรวจค่าเลนส์เทียมที่จะใช้ในการผ่าตัด ผ่านเครื่องมือวัดคำนวณแก้วตาแบบเลเซอร์ (IOL-Master) เพื่อหาค่ากำลังของเลนส์เทียมที่จะใช้ในการผ่าต้อกระจก


 

วิธีการรักษาโรคต้อกระจก

 

ผ่าตัดต้อกระจก

วิธีรักษาต้อกระจกระยะแรก อาจแก้ไขด้วยการใส่แว่นสายตาที่ช่วยให้การมองเห็นชัดเจนขึ้นบ้าง แต่หากอาการต้อกระจกเข้าสู่ระยะที่มีผลกระทบต่อการมองเห็นในชีวิจประจำวันแล้วนั้น การใส่แว่นตาก็จะไม่ได้ช่วยมากนัก และโรคต้อกระจกยังไม่สามารถรักษาโดยการทานยาหรือใช้ยาหยอดตาให้หายสนิทได้ ดังนั้นการรักษาจึงมีอยู่ 2 แบบ คือ การสลายต้อกระจกด้วยเครื่อง และการผ่าตัดต้อกระจก

วิธีสลายต้อกระจกด้วยเครื่องสลายต้อกระจก

 

การสลายต้อกระจกด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) หรือคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปสลายต้อกระจกจนหมด แล้วค่อยๆ ดูดออก โดยวิธีนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 3 มม. และใช้เวลาในการผ่าต้อกระจกครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ไม่มีการเย็บปิดแผล หลังทำไม่ต้องพักฟื้นนาน ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้ก็คือ สามารถเลือกใส่เลนส์แก้วตาเทียมแทนการสวมใส่แว่นตาได้เลย เป็นการรักษาค่าสายตาไปในตัวอีกด้วย

แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดสลายต้อกระจกนั้น ทำได้ในกรณีที่ต้อยังไม่สุกหรือแข็งจนเกินไปเท่านั้น หากต้อมีลักษณะที่สุกแล้วจะใช้อีกวิธีการนึงหรือที่เรียกว่า ผ่าตัดกระจกแบบเปิดแผลกว้าง

วิธีผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง

 

การผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction หรือ ECCE) คือ การผ่าตัดเพื่อใส่เลนส์ตาเทียมแบบแข็งเข้าไปแทนที่เลนส์ตาธรรมชาติแล้วจึงเย็บปิดแผล โดยต้องเปิดแผลใหญ่ประมาณ 8 - 10 มม. วิธีนี้มักใช้ในกรณีที่ต้อกระจกสุกเต็มที่แล้วเท่านั้น หรือมีลักษณะขาวขุ่นเนื้อแข็งมาก จนไม่สามารถใช้วิธีการสลายต้อได้แล้ว วิธีนี้ใช้เวลาในการผ่าตัดและพักฟื้นนาน ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนการรักษาและเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดโดยแพทย์จักษุ


 

การป้องกันการเกิดภาวะต้อกระจก

 

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคต้อกระจกตั้งแต่เนิ่นๆ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารบำรุงสายตาที่มีวิตามิน เช่น วิตามินอี เอ ซี เพื่อลดโอกาสในการเกิดต้อกระจกขึ้น
  • สวมใส่แว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกไปข้างนอก เพื่อป้องกันแสงยูวีและรังสีต่างๆ
  • ควรตรวจสุขภาพดวงตาในทุกๆ ปี 
  • พักสายตาทุกๆ 30 นาที หลังจากจ้องหน้าจอ
  • จัดโต๊ะทำงานโดยให้มีแสงสว่างส่องถึง และจอคอมไม่ใกล้หน้าจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ


 

สรุปต้อกระจก โรคยอดฮิตในผู้สูงวัย

 

ต้อกระจกเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากเลนส์แก้วตามีการเสื่อมสภาพเนื่องจากอายุที่มากขึ้น จนทำให้เกิดอาการขุ่นมัวในดวงตา แสงที่ส่องผ่านเข้าไปนัยส์ตาไม่สามารถตกกระทบที่จุดรับภาพชัดได้ ส่งผลทำให้สายตาพร่ามัวหรือประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง หลายคนสงสัยว่าต้อกระจก อันตรายไหม? ตอบได้เลยว่าอันตรายในกรณีที่ปล่อยไว้นานจนต้อสุกและแข็งจนไม่สามารถรักษาได้ จนทำให้ตาบอดและอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ อย่างเช่น ต้อหิน เป็นต้น

 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา