รู้จักกับ ‘โรคต้อ’ อันตรายเกี่ยวกับดวงตาที่คุณไม่ควรมองข้าม

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (577)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:1033
เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 12.44 น.

ในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับโรคที่ส่งผลต่อการมองเห็น ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ดวงตาหรือก็คือ “โรคต้อ” การที่ตาเป็นต้อเป็นเรื่องที่เกิดได้กับทุก ๆ คนโดยไม่มีการแบ่งแยกเพศ อายุ กล่าวได้ว่าทุก ๆ คนมีโอกาสที่จะเป็นต้อที่ตา แต่ก็มีชนิดของต้อที่จะเกิดขึ้นจากการพฤติกรรมดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ต้อลม ต้อเนื้อ หรือจากวัยที่สูงขึ้น เช่น ต้อกระจก หรือ ต้อหิน เป็นต้น


ตาเป็นต้อ อาการที่คุณไม่ควรมองข้าม

 

 

โรคต้อ คือโรคที่เกี่ยวกับอะไร

โรคต้อ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติที่ดวงตา ส่งผลต่อการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทำให้ภาพที่มองเห็นพร่ามัว คนที่เป็นต้ออาจมีอาการทั้งที่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงมาก ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสาเหตุที่มาจากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน

 

โรคต้อมีกี่แบบอะไรบ้าง เกิดจากสาเหตุใด มีอาการอะไรบ้าง

โรคต้อมีหลายแบบที่แตกต่างกันไป โดยที่ความรุนแรงของตาต้อสามารถเรียงลำดับความรุนแรงจากน้อยไปหามากดังนี้

  • โรคต้อลม
  • โรคต้อเนื้อ
  • โรคต้อกระจก
  • โรคต้อหิน

 

โรคต้อ มีกี่ประเภท

ต้อลม

อาการของต้อลม : มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อเล็ก ๆ สีขาวหรือขาวเหลืองนูนขึ้นบริเวณตาขาว ตำแหน่งที่เกิดมีสองจุด คือ ส่วนหัวตา และหางตา แต่ไม่ใช่อาการเนื้องอกในตา และไม่เป็นอันตรายถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น คนป่วยจะรู้สึกแสบตา คันตา ตาพร่ามัว รู้สึกเหมือนมีทรายในดวงตา ตาแห้ง

 

สาเหตุ : ตาต้อลมเกิดจากการที่เยื่อบุตาขาวเสื่อมจากการใช้งานหนักเกินไป จนเกิดอาการระคายเคือง โดยมากเกิดในคนที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีมลภาวะ ฝุ่นควัน แสงแดดจัด หรือ รังสี UV เป็นเวลานานเกินไป, มักเกิดในคนที่มีอาการตาแห้งง่าย และยังพบบ่อยในคนสูงวัย

 

ต้อเนื้อ

อาการของต้อเนื้อ : ผู้ป่วยต้อเนื้ออาการที่เกิดจะมีความระคายเคือง แสบตา น้ำตาไหล จนอาจลุกลามเข้าไปในดวงตาดำมีลักษณะเนื้อเยื่อสีขาวออกแดงตรงบริเวณกระจกตาด้านหัวตาหรือหางตา ส่งผลรบกวนต่อการมองเห็นได้ ทำให้ตามัว

 

สาเหตุ : มีการใช้สายตาหนักเกินไป อีกทั้งดวงตาสัมผัสกับมลภาวะต่าง ๆ เช่น ฝุ่น แสงแดด และรังสี UV เป็นเวลานานหรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นต้อเนื้อ

 

ต้อกระจก

อาการของต้อกระจก : เป็นภาวะที่เลนส์แก้วตาเกิดขุ่น จนทำให้การมองเห็นลดลง มองเห็นไม่ชัดเหมือนมีหมอกหรือฝ้าบัง ตามัวลงอย่างช้า ๆ จะมัวมากตอนกลางวันหรือในที่มีแสง แต่จะเห็นชัดในตอนกลางคืน โดยรวมของอาการภาพที่มองเห็นสีจะซีดจาง เห็นภาพซ้อน เห็นวงรอบแสงไฟ ตาสู้แสงไม่ได้ มีผลทำให้สายตาสั้น ปวดตา ปวดศีรษะ หรือมีต้อหินแทรกซ้อน ต้อกระจกอาจเกิดขึ้นกับตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างพร้อมกัน

 

สาเหตุ : ต้อที่ตาชนิดนี้จะพบได้บ่อยในคนที่มีอายุมากขึ้น ทำให้เลนส์เสื่อมถอย, อาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม, การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์, ได้รับแสง UV แสงแดดจัด, สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ, มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ดวงตา, โรคทางกาย เช่น เบาหวาน, สารเคมีเข้าตา, เป็นโรคทางตา เช่น โรคต้อกระจก, เคยผ่านการฉายแสงจากโรคมะเร็ง, ไฟฟ้าช็อต เป็นต้น

 

ต้อหิน

อาการของต้อหิน : ดวงตามีลักษณะแข็งเหมือนกับหิน สูญเสียการมองเห็นโดยการวัดลานตาว่ากว้างหรือแคบมากน้อยเพียงใด ถ้าลานตาแคบลง การมองเห็นภาพแคบลงเรื่อย ๆ คนที่เป็นต้อหินจะไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้าจนเข้าระยะที่มีการมองเห็นผิดปกติ สำหรับคนที่เป็นต้อหินเฉียบพลัน จะรู้สึกปวดตามาก เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ

 

สาเหตุ : เกิดจากความดันภายในลูกตาสูงจนไปกดทับขั้วประสาทตา จนขั้วประสาทตาถูกทำลายแบบถาวร ส่วนสาเหตุที่ทำให้ตาเป็นต้อหินนั้นโดยมากเกิดกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีที่มีค่าสายตาผิดปกติ, โรคทางพันธุกรรมที่คนในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน, มีโรคประจำตัว, เคยประสบอุบัติเหตุมาก่อน, มีใช้ยาต้านซึมเศร้าซึ่งมีส่วนผสมสเตียรอยด์อยู่ เป็นต้น

 

การรักษาโรคต้อต้องทำอย่างไรบ้าง

ชนิดของต้อแต่ละประเภทมีวิธีการรักษาต้อที่แตกต่างกันไป เช่น

 

 

  • ต้อลม

 

  • ต้อลมรักษาด้วยการหยอดน้ำตาเทียมและหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีมลภาวะต่าง ๆ
  • ใช้ยาหยอดตาแบบสเตียรอยด์ลดอาการบวมและแดง

 

 

  • ต้อเนื้อ

 

  • อาการไม่รุนแรง ก็ให้ใช้การหยอดน้ำตาเทียม และพยายามลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา
  • อาการขั้นรุนแรง ควรรีบเข้ารับการผ่าตัดลอกต้อเนื้อออก

 

 

  • ต้อกระจก

 

  • ระยะเริ่มต้น ให้ใส่แว่นตาเพื่อช่วยในการมองเห็น
  • ระยะกลาง เป็นได้ทั้งการใส่แว่นตาถ้าหากไม่เป็นปัญหากับการดำรงชีวิตประจำวัน หรือ ผ่าตัดเลย
  • ระยะสุดท้าย ใช้วิธีการผ่าตัดทันทีเมื่อผู้ป่วยพร้อมแล้วเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นคนตาบอดถาวร

 

 

  • ต้อหิน : เป็นโรคเสื่อมสภาพของตาต้อขั้นรุนแรง ดังนั้นการรักษาต้อหินให้หายขาดอาจเป็นไปไม่ได้ แต่ก็สามารถยับยั้ง หรือประคับประคองไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายมากขึ้นได้ วิธีรักษาก็จะมี

 

  • รักษาด้วยยาหยอดตาเพื่อลดความดันตามคำสั่งแพทย์
  • ใช้เลเซอร์ตัดแต่งเนื้อเยื่อที่มุมตาเพื่อช่วยระบายน้ำเลี้ยงไม่ให้ค้างมากเกินไปจนเพิ่มความดันในตา
  • ใช้การผ่าตัดใส่ท่อเข้าไปเพื่อลดความดันตา

 

การป้องกัน ไม่ให้เป็นต้อ ทำได้ง่าย ๆ

วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นโรคต้อมีขั้นตอนในการดูแล ป้องกันที่แตกต่างกันตามชนิดของต้อ เช่น ต้อกระจก, ต้อหิน, ต้อลม, ต้อเนื้อ เป็นต้น

สำหรับโรคต้อลม โรคต้อหิน ต่อไปนี้เป็นวิธีสำหรับดูแลป้องกันดวงตาจากการเป็นต้อที่ตา

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ตรวจวัดความดันตากับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเฝ้าระวังโรคต้อต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ในเวลาที่ออกนอกบ้าน นอกสถานที่ ควรใส่แว่นตากันแดดที่กันแสง UV, กันลม ฝุ่น ควันได้
  • ไม่ควรใช้สายตามองจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานาน ๆ
  • ไม่ควรซื้อยาหยอดตามาใช้เอง เพราะส่วนผสมสเตียรอยด์อาจก่อให้เกิดต้อหินได้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมง เพื่อเลี่ยงอาการเคืองตา ตาแห้ง ต้อลม ต้อเนื้ออักเสบได้
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมออาทิตย์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที
  • ควรรักษาความสะอาด ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ควรขยี้ตาเพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้

 

วิธีป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก มีดังต่อไปนี้

  • ไม่ควรจ้องมองดวงอาทิตย์ตรง ๆ ควรใส่แว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้งหรือที่ที่มีแสงแดดจ้า
  • ให้ทำงานในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เหมาะสมแก่การทำงาน
  • ต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาถ้าต้องทำงานในที่ที่มีโอกาสเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
  • ให้ปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนใช้ยาหยอดตาทุกชนิด
  • ควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตาอย่างน้อยปีละครั้ง โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

 

วิธีป้องกันการเป็นต้อ ประเภท ต้อเนื้อ อาจใช้วิธีต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ๆ และใส่แว่นเพื่อกันแดด และกันฝุ่น ลม ควัน
  • พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีลม ฝุ่น ความร้อน ควัน สิ่งสกปรก และความแห้ง

 

ป้องกันการป็นต้อ

สรุปโรคที่เกี่ยวกับต้อ

ถึงแม้การเป็นต้อจะเป็นผลร้ายต่อสุขภาพการมองเห็น และอาจเกิดได้กับทุกคน แต่มันสามารถป้องกันการเป็นต้อได้ จากเนื้องที่นำเสนอไว้ข้างต้น ต้องคอยเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หากว่าเป็นโรคต้อชนิดใดแล้ว ก็ควรเข้ารับการรักษาจากจักษุแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการแม้จะเป็นอาการแรกเริ่ม เพื่อให้สามารถป้องกัน หรือรักษาได้ทันท่วงที เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญที่ต้องอยู่กับเราไปทั้งชีวิต 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา