ระบบน้ำหยด เทคโนโลยีสุดล้ำที่ช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุน

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (554)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:993
เมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2567 20.50 น.

ระบบน้ำหยด คือ

จากปัญหาภัยแล้ง สามารถแก้ไขได้ด้วยระบบน้ำหยด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ช่วยเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ไปสู่ระบบรดน้ำอัจฉริยะ ช่วยประหยัดน้ำ เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แล้วระบบน้ำหยด คืออะไร ระบบน้ำหยด ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

มาทำความรู้จักระบบน้ำหยด

ระบบน้ำหยด คือวิธีการชลประทานแบบหนึ่งที่ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจ่ายน้ำให้พืชเป็นจุด ๆ ผ่านหัวจ่ายน้ำขนาดเล็กที่ติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะค่อย ๆ ไหลออกมาช้า ๆ ซึมลงสู่ดินบริเวณรากพืชโดยตรง ระบบน้ำหยดเปรียบเสมือนเป็นการรดน้ำต้นไม้แบบเฉพาะจุดต่างจากวิธีการรดน้ำแบบทั่วไปที่น้ำจะกระจายไปทั่วพื้นที่ ส่งผลให้ดินบริเวณอื่นที่ไม่ได้รับน้ำมีความชื้นสูง เกิดปัญหาโรครากเน่า และสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ 

 

นอกจากนี้ ระบบน้ำหยดมีบทบาทสำคัญในภาคการเกษตร เพราะเป็นการรดน้ำต้นไม้ได้เฉพาะจุด ช่วยให้ประหยัดน้ำ สามารถใช้น้ำได้อย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังสามารถลดการใช้น้ำได้สูงสุดถึง 70% ในช่วงท่ามกลางวิกฤตภัยแล้ง ทำให้พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นจำนวนมาก และผลผลิตมีคุณภาพดี ปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดค่าไฟ ค่าแรง และปุ๋ยให้แก่เกษตรกรอีกด้วย

ระบบน้ำหยดมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร

การทำระบบน้ำหยด

ระบบน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยหล่อเลี้ยงพืชผลในยุคสมัยที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยการทำระบบน้ำหยดก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะระบบน้ำหยดสามารถทำเองได้ ก่อนอื่น ต้องเข้าใจการทำงานและการออกแบบระบบน้ำหยดเสียก่อน โดยมีหลักการทำงานดังนี้

  1. สูบน้ำจากแหล่งน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น บ่อ ทะเลสาบ หรือน้ำประปา 
  2. นำน้ำที่ผ่านการกรองมาเก็บที่ถังเก็บน้ำ และผ่านเข้าสู่ระบบกรอง เพื่อกรองสิ่งสกปรก ตะกอน และตะไคร่น้ำ
  3. ปั๊มน้ำจ่ายน้ำจากถังเก็บน้ำไปยังท่อหลัก แล้วท่อหลักจะส่งน้ำไปยังท่อแขนง เพื่อจ่ายน้ำไปยังแปลงเพาะปลูก 

 

ทั้งนี้ การวางระบบน้ำหยดจะมีวาล์วควบคุมการไหลของน้ำ แบ่งเป็นโซน พร้อมทั้งติดตั้งหัวจ่ายน้ำหยดจ่ายน้ำทีละจุด บริเวณโคนต้นพืช และมีระบบควบคุม เพื่อควบคุมเวลาและปริมาณน้ำ แล้วระบบน้ำหยด ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง โดยอุปกรณ์หลัก ๆ ของระบบน้ำหยด ได้แก่

  1. หัวจ่ายน้ำหยด ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบ มีหลายแบบ แต่เลือกให้เหมาะกับชนิดพืช 
  2. ท่อ ควรเลือกขนาดและชนิดให้เหมาะกับแรงดันและปริมาณน้ำ โดยมีทั้งท่อพีวีซี, ท่อ HDPE และท่อ LDPE 
  3. ข้อต่อ เพื่อเชื่อมต่อท่อเข้าด้วยกัน
  4. ตัวกรอง สำหรับกรองสิ่งสกปรก ตะกอน ป้องกันหัวน้ำหยดอุดตัน 
  5. ปั๊มน้ำแรงดันต่ำ ควรเลือกขนาดให้เหมาะกับพื้นที่และปริมาณน้ำ 
  6. ถังเก็บน้ำ ควรเลือกขนาดให้เหมาะกับปริมาณน้ำที่ใช้ อาจจะใช้ถังพลาสติกหรือถังเหล็ก
  7. ระบบควบคุม: ตัวตั้งเวลา โซลินอยด์วาล์ว ควบคุมแรงดันและปริมาณน้ำ 

โดยระบบน้ำหยดสามารถนำมาใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นแปลงผัก สวนผลไม้ หรือพืชไร่ขนาดใหญ่

ข้อดี-ข้อจำกัดของระบบน้ำหยด

ระบบน้ำหยดเองก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดในการใช้งาน โดยข้อดีของการทำระบบน้ำหยด คือ

  • ช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 50 - 70% เมื่อเทียบกับวิธีรดน้ำแบบทั่วไป เพราะเป็นการจ่ายน้ำเฉพาะจุด จึงไม่สูญเสียน้ำไปกับการระเหยหรือไหลซึม 
  • เพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของพืช เพราะพืชได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ผลผลิตเพิ่มปริมาณและคุณภาพดีขึ้น
  • ช่วยลดปัญหาโรคพืช เพราะดินมีความชื้นเฉพาะบริเวณรากพืช จึงลดโอกาสการเกิดโรครากเน่า และลดการใช้ยาฆ่าแมลง 
  • ทำให้ควบคุมวัชพืชได้ง่าย เพราะพื้นที่ระหว่างต้นพืชแห้ง ส่งผลให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ยาก จึงประหยัดแรงงานในการกำจัดวัชพืช
  • ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน เพราะเป็นการให้น้ำแบบอัตโนมัติ จึงไม่ต้องใช้แรงงานรดน้ำ ส่งผลให้ประหยัดเวลาและค่าแรง
  • ระบบน้ำหยดติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย เหมาะกับเกษตรกรทุกระดับ และเหมาะกับพื้นที่แห้งแล้ง
  • สามารถผสมปุ๋ยและยาฆ่าแมลงลงในระบบน้ำหยด ช่วยให้พืชดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถทำระบบน้ำหยดได้กับพื้นที่จำกัด เหมาะสำหรับปลูกผักสวนครัวในบ้าน
  • ระบบน้ำหยดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยประหยัดน้ำ ลดการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ช่วยลดมลพิษ

 

แต่ทั้งนี้ ระบบน้ำหยดก็ยังมีข้อเสียหรือข้อจำกัดบางประการด้วยเช่นกัน ได้แก่

  • ระบบน้ำหยดมีราคาสูงกว่าระบบรดน้ำแบบทั่วไป เพราะต้องใช้อุปกรณ์หลายชิ้น 
  • หัวน้ำหยดอาจอุดตันจากตะกอน สนิม หรือตะไคร่น้ำ จึงต้องหมั่นตรวจสอบและทำความสะอาด 
  • ระบบน้ำหยดบางประเภทใช้ไฟฟ้า จึงต้องมีแหล่งจ่ายไฟเพิ่มเติม
  • ต้องมีความรู้และทักษะในการติดตั้งและบำรุงรักษา
  • การวางระบบน้ำหยดไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีความลาดชัน และน้ำอาจไหลไม่สม่ำเสมอ
  • ระบบน้ำหยดไม่เหมาะกับพืชบางชนิดที่มีระบบรากลึก 

ระบบน้ำหยดช่วยเหลือการเกษตรอย่างไรบ้าง

การวางระบบน้ำหยด

อย่างที่ทราบดีว่า ระบบน้ำหยดเป็นระบบจ่ายน้ำที่สามารถติดตั้งได้ง่าย ช่วยประหยัดแรงและเวลา โดยการทำน้ำหยดนี้ ช่วยแก้ปัญหาทางการเกษตรได้หลายประการ ดังนี้

ลดต้นทุนทางการเกษตร

ระบบน้ำหยดช่วยลดต้นทุนทางการเกษตรได้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าปุ๋ย (ปุ๋ยถูกส่งไปยังรากพืชโดยตรง ผ่านระบบน้ำหยด) ค่ายาฆ่าแมลง (สามารถลดปริมาณการใช้ยาฆ่าแมลงได้) ค่าแรง (เป็นการให้น้ำแบบอัตโนมัติ จึงไม่ต้องใช้แรงงานรดน้ำ) กล่าวได้ว่า ระบบน้ำหยดช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ลดโอกาสการเกิดโรคพืช เพิ่มผลผลิต ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

ช่วยรักษาหน้าดินให้ชุ่มชื้น

ระบบน้ำหยด ช่วยรักษาหน้าดินให้ชุ่มชื้น เมื่อดินมีความชุ่มชื้น ก็จะไม่เกิดปัญหาดินแห้งแตกร้าว ลดการกัดเซาะของน้ำฝนและลม นอกจากนี้ ยังเหมาะต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในดิน โดยจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ดินมีโครงสร้างดี รากพืชดูดซึมน้ำและสารอาหารได้ดี

ช่วยรับมือกับภัยแล้ง

 ด้วยประเทศไทยมีฤดูร้อนที่บางปีอาจจะส่งผลกระทบทำให้เกิดภัยแล้งได้ โดยระบบน้ำหยดจะช่วยให้เกษตรกรรับมือกับภัยแล้งได้เป็นอย่างดี เพราะในการวางระบบน้ำหยดจะมีอุปกรณ์ที่เป็นถังเก็บน้ำ ซึ่งเกษตรกรบางรายสามารถวางแผนหรือจัดเตรียมถังเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ตลอดช่วงหน้าแล้งได้

สรุปเกี่ยวกับระบบน้ำหยด

ระบบน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดน้ำ เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เหมาะกับการใช้งานในภาคการเกษตรรูปแบบต่าง ๆ แต่ระบบน้ำหยดก็มีข้อเสียที่ต้องพิจารณา เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง การอุดตัน ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ดังนั้น เกษตรกรจึงควรศึกษาข้อมูลและเลือกระบบน้ำหยดที่เหมาะสม หรืออาจจะเลือกปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่าง Civic Agrotech ซึ่งพร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานระบบปลูกพืช (Plant Factory with Artificial Lighting) อย่างครบวงจร

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ10 มิถุนายน พ.ศ. 2567 20.51 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา