โรคนอนไม่หลับ มีอาการอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร?

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (550)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:987
เมื่อ 14 เมษายน พ.ศ. 2567 02.34 น.

โรคนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยากเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถข่มตานอนโดยไม่คิดอะไรเลยในหัวได้ ในคนไข้บางรายอาจส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง และหากมีการสะสมในระยะยาวอาจทำให้ความทรงจำสั้นลง มีปัญหาในการสื่อสาร ง่วงนอนตลอดเวลาจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ มาเช็คอาการแบบไหนควรพบแพทย์ สาเหตุ พร้อมวิธีการรักษาเพื่อหาทางออกของโรคนอนไม่หลับนี้ได้เลย



สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ 

สาเหตุของภาวะนอนไม่หลับมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งปัจจัยภายนอกอย่างสภาพแวดล้อม และปัจจัยภายในอย่างสภาพร่างกายและจิตใจขณะนั้น 

ปัจจัยภายนอก

  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังรบกวน 
  • อยู่ในที่ๆ มีแสงสว่างส่องตลอด รบกวนการนอน ส่งผลให้นอนไม่หลับได้ 
  • อุณหภูมิในห้องนอนไม่เหมาะสมกับการพักผ่อน
  • การพักผ่อนไม่เป็นเวลา เช่น ทำงานไม่เป็นเวลาที่แน่นอน
  • แปลกสถานที่ หรือเปลี่ยนสถานที่นอนใหม่

ปัจจัยภายใน

  • อาการเจ็บป่วย ส่งผลทำให้นอนหลับยากขึ้น หรือตื่นกลางดึกเนื่องจากความเจ็บปวด ในบางรายมีอาการนอนแล้วกระตุก หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก ส่งผลทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่นตลอดเวลา 
  • ความเครียดสะสม อยู่ในภาวะที่จิตใจอ่อนแอ เช่น มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล
  • ตกอยู่ในภาวะหิวก่อนนอน ต่อให้นอนหลับแล้วสมองก็ไม่หยุดคิด ส่งผลให้หลับไม่ได้นั่นเอง
  • การมีอาการผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ เช่น นอนละเมอ ฝันร้ายบ่อยๆ หรือนอนดึกจนติดเป็นนิสัย
  • มีอาการแน่นท้อง หรือท้องอืดท้องเฟ้อ มีลมในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป ส่งผลทำให้นอนไม่หลับได้
  • การดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือการใช้สารเสพติดหรือยารับประทานบางตัวที่อาจส่งผลต่ออาการนอนไม่หลับ



นอนไม่หลับแบบไหนควรพบแพทย์

นอนไม่หลับรุนแรง

อาการนอนไม่หลับมีทั้งในระดับเริ่มแรกที่เป็นไม่หนักมาก ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมาก แต่หากปล่อยให้โรคนอนไม่กลับเกิดขึ้นหนักเข้า นอกจากจะทำให้ร่างกายมีปัญหา ยังส่งผลต่อภาวะทางจิตใจและการควบคุมอารมณ์ตามมาในภายหลังได้ หากมีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันนานเกินสัปดาห์ ควรเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาก่อนที่อาการจะทรุดไปมากกว่านี้ โดยอาจได้วิธีการรักษาอาจทำได้โดยการบำบัดความเครียด หรือการทานยานอนหลับในคนไข้ที่มีอาการนอนไม่หลับขั้นรุนแรง เป็นวิธีทำให้นอนหลับได้ง่ายที่สุด แต่ผลเสียที่อาจตามมาก็มีเช่นกัน ดังนั้นไม่ควรซื้อยามารับประทานเองดีกว่า



นอนไม่หลับส่งผลเสียอย่างไร

ผลเสียของการนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับส่งกระทบทั้งในทางสุขภาพในการทำงานของระบบในร่างกาย และยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจได้อีกด้วย ยกตัวอย่าง

  • ส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ภูมิคุ้มกันตก จนเกิดโรคติดต่อหรือโรคอื่นๆ ได้ง่าย เช่น โรคเริม โรคเครียด โรคผมร่วงผมบาง
  • เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดปัญหาความดันโลหิตสูง และหัวใจทำงานหนัก
  • ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ ซึ่งร่างกายจะเผาผลาญได้ดีในขณะที่เรานอนหลับนั่นเอง
  • ส่งผลทำให้โกรทฮอร์โมนทำงานผิดปกติ ร่างกายเจริญเติบโตช้าหรือฮอร์โมนชนิดอื่นที่หลั่งเฉพาะตอนที่หลับไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
  • อารมณ์แปรปรวนง่ายขึ้น เช่น หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย หรือมีอาการเฉื่อยช้า
  • รบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน



นอนไม่หลับ มีวิธีแก้อย่างไร

อาการนอนไม่หลับมีวิธีการรักษาและวิธีหลีกเลี่ยงภาวะนอนไม่หลับได้ ดังนี้

  • จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอนหลับพักผ่อน เช่น ที่นอนต้องสะอาด สบายตัว บรรยายกาศเงียบสงบ ไม่มีแสงสว่างส่องที่เตียงนอน ปิดการแจ้งเตือนมือถือ เปิดแอร์หรือพัดลมเป็นอีกหนึ่งวิธีทำให้นอนให้หลับได้ง่ายขึ้น 
  • ออกกำลังกายเบาๆ ก่อนนอน ช่วยทำให้อาการนอนไม่หลับดีขึ้นได้ เนื่องจากร่างกายอยู่ในภาวะอ่อนแรง เพราะสูญเสียพลังงาน ทำให้สมองสั่งการให้อยากนอนหลับพักผ่อนไวขึ้นกว่าปกติ
  • หาเวลาไปนวดผ่อนคลายหรือเข้าสปา เพื่อขจัดความเหนื่อยสะสมหรือความเครียดจากการทำงาน
  • เข้านอนทันทีที่รู้สึกง่วงนอน และให้เข้านอนในเวลานั้นๆ เป็นประจำ เพื่อสร้างนิสัยให้กับตนเอง และสร้างความเคยชินให้กับสมองและร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารมากเกินไป หรืออาหารที่ย่อยยาก ที่อาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ 
  • ก่อนนอนควรทำสมองให้ปลอดโปร่ง เช่น การฟังเพลงผ่อนคลาย จุดเทียนหอม นั่งสมาธิ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือการดื่มกาแฟ ชา แอลกอฮอล์ เพื่อทำให้ร่างกายนอนหลับได้ง่ายขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์จำพวก อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง โปรตีนและฟอสฟอรัส
  • เข้าพบแพทย์หรือนักบำบัด เพื่อหาคำแนะนำหรือแนวทางการแก้ไขภาวะนอนไม่หลับต่อไป



สรุปนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับเป็นโรคส่วนใหญ่ที่ในปัจจุบันสามารถพบเจอได้กับทุกคน ไม่ว่าจะวัยไหน ทั้งเพศชาย และหญิงก็สามารถเผชิญอาการอยากนอนแต่นอนไม่หลับ หรืออาการนอนไม่หลับกระสับกระส่ายได้ทั้งนั้น ดังนั้นหมั่นสังเกตอาการตนเอง เพื่อปรับปรับพฤติกรรมการนอนไม่ให้มีอาการนอนหลับยากตั้งแต่เนิ่นๆ 



แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ5 มีนาคม พ.ศ. 2568 16.36 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา