เริ่มต้นลงทุนใน กองทุนรวม อย่างไร ลองดูบทความนี้
มนุษย์เงินเดือนหลายคนกำลังมองหาช่องทางการลงทุนที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตนเอง หนึ่งในประเภทการลงทุนที่ได้รับความนิยมในขณะนี้คงหนีไม่พ้นการลงทุนใน กองทุนรวม เพราะนอกจากจะเริ่มต้นด้วยเงินจำนวนไม่มาก มีมืออาชีพมาช่วยบริหารจัดการแล้วยังทำรายการซื้อขายกองทุนได้อย่างสะดวกสบายอีกด้วย
กองทุนรวม คืออะไร กองทุนรวมมีอะไรบ้าง
กองทุน ประเภทนี้เกิดจากการรวบรวมเงินลงทุนจากนักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก เพื่อนำมาบริหารจัดการโดยผู้จัดการกองทุนที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ดำเนินการลงทุนตามนโยบายของกองทุนนั้น ๆ เช่น กองทุนกำหนดนโยบายให้กองทุนดังกล่าวลงทุนในตราสารหนี้ 25% ตราสารทุนในไทย 50% ตราสารทุนต่างประเทศ 25% การลงทุนก็ต้องเป็นไปตามนั้น นั่นหมายความว่าผู้ลงทุนใน กองทุน ควรศึกษานโยบายการลงทุน ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไขรายละเอียดต่าง ๆ ของกองทุนที่สนใจก่อนตัดสินใจ
วิธี ซื้อกองทุน ขั้นตอนง่าย ๆ ผ่านแอปบนสมาร์ทโฟน
ก่อนเริ่ม ลงทุนกองทุนรวม จำเป็นต้องเปิดบัญชีกองทุนรวมก่อน โดยสามารถนำบัตรประชาชนและสำเนาหน้าบัญชีธนาคารที่ต้องการให้โอนเงินเข้าไปยื่นประกอบการเปิดบัญชีได้ที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เป็นผู้ออกกองทุนรวมโดยตรง บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน หรือเปิดบัญชีกองทุนผ่านแอปต่าง ๆ ที่สามารถดำเนินการซื้อขายกองทุนได้ จำนวน 3 ประเภทดังต่อไปนี้
1. แอปนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน สามารถซื้อขายกองทุนจากหลาย บลจ. ได้ในแอปเดียว เช่น Easy Invest, FINNOMENA, FINVEST, Odini, TMB TOUCH และ True Money Wallet
2. แอปของ บลจ. โดยตรง ซึ่งจะสามารถซื้อขายกองทุนได้เฉพาะกองทุนของ บลจ. นั้น ๆ ไม่สามารถซื้อขายกองทุนข้าม บลจ.ได้ เช่น K-My Funds, MFC Wealth, Principal TH, SCBAM Fund Click, TISCO My Funds และ UOBAM Invest Thailand
3. แอปของธนาคาร ซึ่งเราใช้ทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ อยู่แล้วเป็นประจำ เช่น KPLUS, KMA-Krungsri และ SCB Easy
เรียกว่าสะดวกช่องทางไหนก็สามารถทำรายการซื้อขายกองทุนจากแอปบนสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา
ข้อดีของการ ลงทุนกองทุนรวม
ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมยังมีข้อดีที่น่าสนใจอีกหลายอย่างดังนี้
- ใช้กองทุนรวมน่าสนใจ SSF และ RMF เป็นเครื่องมือลดหย่อนภาษีได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของกองทุนด้วย เช่น SSF กำหนดให้ถือครองหน่วยลงทุนอย่างน้อย 10 ปี RMF กำหนดให้ขายหน่วยลงทุนได้เมื่อผู้ลงทุนอายุครบ 55 ปี อย่างไรก็ตามในระหว่างทางผู้ลงทุนสามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุนอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าได้ แต่ต้องเป็นการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุนประเภทเดียวกันเท่านั้น
- สามารถลงทุนแบบ dca โดย dca คือ การหักเงินจากบัญชีเงินเดือนเพื่อ ซื้อกองทุน เป็นจำนวนเงินเท่ากันทุกเดือนตามวันที่กำหนดไว้ เช่น การซื้อหน่วยลงทุนเป็นยอด 3,000 บาท ทุกวันที่ 1 ของเดือน การลงทุนวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจในระยะยาว เพราะมีการถัวเฉลี่ยต้นทุน แม้จะไม่ได้กำไรแบบสูงลิ่วเมื่อตลาดเป็นช่วงขาขึ้น แต่ก็จะไม่เจ็บหนักเมื่อตลาดเป็นขาลง เนื่องจากเป็นการเฉลี่ยต้นทุนเพื่อรับผลตอบแทนแบบเกาะกลุ่มแกนกลาง
- สภาพคล่องดี ขายหน่วยลงทุนไม่กี่วันก็ได้เงินคืน โดยทั่วไปหลังทำรายการขายหน่วยลงทุนเรียบร้อยแล้ว ผู้ลงทุนมักจะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีภายใน 1 - 3 วันทำการ แต่ในรายละเอียดปลีกย่อยผู้ลงทุนควรสังเกตที่ข้อมูล “วันรับเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน” จะพบคำว่า T+1 หรือ T+3 ซึ่งตัว T ย่อมาจาก Trade หมายถึงวันที่ผู้ลงทุนส่งคำสั่งขายกองทุน ดังนั้น T+1 จึงตีความหมายง่าย ๆ ได้ว่า “หลังทำรายการ 1 วันทำการ” ส่วน T+3 ก็แปลว่า “หลังทำรายการ 3 วันทำการ” นั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้เชื่อว่าหลาย ๆ คนมีความพร้อมที่จะเริ่มต้นลงทุนในกองทุนรวมแล้วระดับหนึ่ง ขั้นตอนต่อไปผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบกองทุนต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจ เมื่อลงทุนแล้วก็ควรกลับมาประเมินผลตอบแทนเป็นระยะว่าอยู่ในระดับที่ตนพอใจหรือไม่ จากนั้นก็จัดพอร์ตการลงทุนใหม่วนไปตามต้องการ
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้