มองหาโอกาสธุรกิจโดยลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม ทำได้อย่างไร มาดูกัน
เชื่อว่าผู้ประกอบที่มีหัวสมัยใหม่นอกจากจะมองหาสินเชื่อเครื่องจักร เพื่อพัฒนาคุณภาพบริษัทให้ดียิ่งขึ้น ยังสนใจสร้างผลิตภัณฑ์ที่ช่วยตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นมาบ้าง ซึ่งนอกจากธุรกิจกลุ่มนี้ถูกใจลูกค้าสายรักษ์โลกแล้วยังเป็นการเพิ่มการต่อยอดธุรกิจในอนาคต ด้วยการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ที่ทั้งง่ายและดอกเบี้ยต่ำมาก ซึ่งต้องปฏิบัติตามหลักการ ESG ที่เป็นเกณฑ์พิจารณาขอ สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราจะพามาดูว่า ESG คืออะไร และจะเป็นโอกาสของธุรกิจอย่างไรบ้างมาดูเลย
E (Environment)
วิธีที่จะขอกู้เพื่อดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมสามารถทำได้หลากหลาย อย่างกู้เงินเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน กู้สินเชื่อโซล่าเซลล์ เพื่อปรับปรุงระบบไฟในอาคาร รวมไปถึงธุรกิจ SMEs ที่เปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจเพื่อดำเนินงานในส่วนของผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม หลายธุรกิจพยายาม Disrupt ตนเองด้วยการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดเพื่อขอแหล่ง สินเชื่อต่อยอดธุรกิจ เพื่อมองหาตลาดช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าใหม่ ๆ รวมทั้งจ่ายต้นทุนดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 2 - 3% และดอกเบี้ยจะคงที่เฉลี่ย 7 ปี และได้วงเงินในส่วนของ สินเชื่อหมุนเวียน ที่หลายบริษัทต้องการมากกว่า สินเชื่อระยะยาว เสียอีก เพราะแทบไม่ต้องเสียดอกเบี้ยส่วนต่างเลยหากบริหารจัดการได้อย่างถูกต้อง เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน P/N ซึ่งบางธนาคารเสนอให้ด้วยวงเงิน 50 ล้านบาท และยังมีวงเงินสินเชื่อต่าง ๆ แถมมาด้วย เป็นโอกาสให้หลายธุรกิจปรับตัวเพื่อสิ่งแวดล้อมและสามารถเข้าถึงสินเชื่อหมุนเวียนได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขการให้กู้ก็ไม่ใช่ว่าจะผ่านไปแบบง่าย ๆ เพราะบางสินเชื่อกำหนดเงื่อนไขการวางสินทรัพย์ค้ำประกัน รวมทั้งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบอีกว่าวงเงินที่ขอกู้ไปเพื่อสิ่งแวดล้อมทำจริงหรือไม่? เช่น
การสร้างโรงงานบำบัดน้ำเสียจะถูกตรวจสอบว่าน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมีสารตกค้างเจือปนอยู่หรือไม่? หรือโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากขยะส่งผลเสียต่อชุมชนโดยรอบซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่?
S (Society)
ตามที่ได้กล่าวไปว่าผู้มีส่วนได้เสียเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs จะละเลยไม่ได้หากสนใจสินเชื่อสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม เพราะหากธุรกิจของเราส่งผลกระทบต่อสังคมย่อมเสียภาพลักษณ์ของบริษัท เช่น ส่งเสริมการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง ไม่สนับสนุนสิทธิมนุษยชน ธุรกิจดำเนินการตัดไม้ทำลายป่า หรือแม้กระทั่งปล่อยน้ำเสียลงสู่ชุมชน ด้วยประเด็นเหล่านี้หลายธนาคารเริ่มพิจารณาแล้วเช่นเดียวกัน
G (Governance)
หลักธรรมาภิบาลเป็นสิ่งที่บริษัทละเลยไม่ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งข้อ G นี้คือการตรวจสอบว่าเจ้าของธุรกิจดำเนินงานโปร่งใสหรือไม่ เช่น บริษัท A ผู้บริหารไม่สนใจต่อการบริหารงานเพื่อองค์กร วัน ๆ ออกข่าวปั่นหุ้นเพื่อสร้างราคาหุ้นและกดราคาหุ้นให้ต่ำลงอันส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหารบริษัททุจริตต่อหน้าที่การงาน ไม่เสียภาษีเงินได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ผิดต่อหลักจริยธรรมทั้งสิ้น
ปัจจุบันหลักเกณฑ์ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้พิจารณาปล่อย สินเชื่อขยายธุรกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาจากปัจจัยทั้งสามทาง ดังนั้นธุรกิจจะได้รับโอกาสอันดีจากสินเชื่อดอกเบี้ยถูกนี้หรือไม่ ต้องดำเนินการหลัก ESG อย่างเคร่งครัด
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้