อาการไข้หวัดใหญ่ โรคระบาดติดต่อง่าย ที่ป้องกันได้
อาการไข้หวัดใหญ่ หรือโรคไข้หวัดใหญ่นั้น เป็นโรคทางเดินหายใจที่ติดต่อได้ง่าย ทั้งยังอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนร้ายแรงได้อีกด้วย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา การทำความเข้าใจอาการไข้หวัดใหญ่จึงเป็นสิ่งควรให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อใช้สำหรับทั้งการป้องกัน หรือต้องรีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อลดอาการแทรกแซงต่าง ๆ ตามมา
ในบทความนี้ เราได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอาการไข้หวัดใหญ่ วิธีการติดต่อ ภาวะแทรกซ้อน ทางเลือกในการรักษา ไปจนถึงการป้องกันอาการไข้หวัดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ร่างกายของคุณมีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ
อาการไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้อย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้าง
ไข้หวัดใหญ่ติดต่อผ่านละอองทางเดินหายใจเป็นหลัก เมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือพูดคุย ไวรัสสามารถแพร่กระจายโดยการสัมผัสพื้นผิว หรือวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ จากนั้นเมื่อไวรัสสัมผัสกับใบหน้า โดยเฉพาะปาก จมูก หรือตา จะทำให้เกิดอาการไข้หวัดใหญ่ได้ ซึ่งปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
- การแพร่เชื้อทางอากาศ ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถคงอยู่ในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้สามารถติดต่อไวรัสได้โดยการสูดละอองหายใจเข้าไป เมื่อใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
- การปนเปื้อนบนพื้นผิวต่าง ๆ เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะ หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน อาจเป็นแหล่งสะสมของไวรัสได้ การสัมผัสพื้นผิวเหล่านี้แล้วสัมผัสใบหน้าอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- การสัมผัสใกล้ชิด การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น จะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ
- การแพร่กระจายของไวรัส บุคคลที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นได้แม้กระทั่งก่อนที่จะแสดงอาการ จนถึงหนึ่งสัปดาห์หลังจากป่วย
อาการไข้หวัดใหญ่สามารถสังเกตจากอะไรได้บ้าง
อาการไข้หวัดใหญ่อาจจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรง โดยสัญญาณที่บ่งชี้ว่าน่าจะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
- ไข้ การมีไข้สูงอย่างกะทันหัน เป็นอาการที่เด่นชัดของไข้หวัดใหญ่
- อาการไอ ไอเรื้อรัง มักมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย
- เจ็บคอ อาการเจ็บคอ เป็นอาการทั่วไปของโรคไข้หวัดใหญ่
- ปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดเมื่อยตามร่างกายและความเมื่อยล้าโดยทั่วไป มักเกิดขึ้นในช่วงไข้หวัดใหญ่
- อาการปวดหัว อาการปวดหัวอย่างรุนแรงเป็นอาการ เป็นอีกอาการไข้หวัดใหญ่ที่พบได้บ่อย
- หนาวสั่น บุคคลจำนวนมากที่เป็นไข้หวัดใหญ่จะมีอาการหนาวสั่นกะทันหัน
- ความเหนื่อยล้า ความเหนื่อยล้า อ่อนแอ ซึ่งอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์
- คัดจมูก อาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล เป็นอาการทางเดินหายใจที่พบบ่อยเช่นกัน
อาการไข้หวัดใหญ่ VS อาการไข้หวัดธรรมดา เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไรบ้าง?
ไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนกับฤดูหนาว แต่อาการไข้หวัดใหญ่ กับไข้หวัดนั้น มีอาการที่คล้ายคลึงกันมาก ทำให้หลายคนสับสนว่าตัวเองเป็นโรคอะไรกันแน่ เพื่อให้คุณเข้าใจและดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง เราจะอธิบายความแตกต่างของทั้งสองให้เข้าใจได้ง่าย เราจะเปรียบเทียบในรูปแบบตาราง ดังนี้
อาการ |
ไข้หวัดใหญ่ |
ไข้หวัด |
สาเหตุ |
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) |
เชื้อไวรัสหลายชนิด เช่น ไรโนไวรัส (Rhinovirus) โคโรนาไวรัส (Coronavirus) อะดีโนไวรัส (Adenovirus) |
ระยะเวลาการฟักตัว |
1-4 วัน |
2-3 วัน |
ไข้ |
38-40 องศาเซลเซียส |
37-38 องศาเซลเซียส |
หนาวสั่น |
พบได้บ่อย |
พบได้น้อย |
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ |
พบได้บ่อย |
พบได้น้อย |
อ่อนเพลีย |
พบได้บ่อย |
พบได้น้อย |
ไอ |
ไอแห้ง ๆ ไอมาก |
ไอมีเสมหะ |
เจ็บคอ |
พบได้บ่อย |
พบได้บ่อย |
น้ำมูก |
น้ำมูกใส คัดจมูก |
น้ำมูกใส คัดจมูก |
ปวดตา |
พบได้บ่อย |
พบได้น้อย |
เบื่ออาหาร |
พบได้บ่อย |
พบได้น้อย |
คลื่นไส้ |
พบได้บ่อย (ในเด็ก) |
พบได้น้อย |
ระยะเวลาการป่วย |
7-10 วัน |
3-7 วัน |
ภาวะแทรกซ้อน |
รุนแรง เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หัวใจวาย ไตวาย |
ไม่รุนแรง |
ภาวะแทรกซ้อนจากอาการไข้หวัดใหญ่
แม้ว่าอาการไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่าง ๆ ได้แก่
- โรคปอดบวม ไข้หวัดใหญ่สามารถทำให้เกิดโรคปอดบวม จากไวรัสหรือแบคทีเรียได้ โดยเฉพาะในบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- โรคหลอดลมอักเสบ อาจเกิดการอักเสบของหลอดลม ทำให้มีอาการไออย่างต่อเนื่อง
- การติดเชื้อไซนัส ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อไซนัส ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณใบหน้า
- การติดเชื้อที่หู การติดเชื้อที่หูชั้นกลางอาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในเด็ก
- อาการเรื้อรัง บุคคลที่มีภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด หรือโรคหัวใจ ซึ่งอาจมีอาการกำเริบของโรคได้
การทราบอาการไข้หวัดใหญ่แต่เนิ่น ๆจะทำให้การดูแลทางการแพทย์ได้อย่างทันท่วงที ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้
อาการไข้หวัดใหญ่ สามารถรักษาอย่างไรได้บ้าง
อาการไข้หวัดใหญ่นั้น โดยปกติจะหายเองได้ภายใน 7-10 วัน แต่ในบางกรณี อาจจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้ดูแลผู้ป่วย ไปจนถึงผู้มีโรคประจำตัว ซึ่งอาจจะมีการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ซึ่งการรักษานั้น ได้แก่
- พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายมีเวลาซ่อมแซมตัวเองและต่อสู้กับเชื้อไวรัส ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
- ดื่มน้ำให้มาก การดื่มน้ำให้มากจะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ รวมไปถึงช่วยให้ร่างกายขับสารพิษออกทางปัสสาวะ ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร
- ทานยาแก้ปวดลดไข้ การทานยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ทานยาแก้ไอ การทานยาแก้ไอจะช่วยให้ไอแห้งไอมาก
- ทานยาแก้คัดจมูก การทานยาแก้คัดจมูกจะช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล
- กรณีมีไข้สูง ไอมาก หายใจลำบาก ควรไปพบแพทย์ เพราะแพทย์อาจสั่งยาต้านไวรัสเพื่อลดระยะเวลาการป่วย ทั้งยังป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อีกด้วย
วิธีป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ทำได้อย่างไร
เมื่อคุณทราบถึงอาการไข้หวัดใหญ่ และการรักษาเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเราจะมาดูกันว่า มีวิธีการอะไรบ้าง ที่จะช่วยป้องกันคุณ ให้มีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่ลดลง มีดังต่อไปนี้
- การฉีดวัคซีนประจำปี การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อีกด้วย
- การล้างมือ การล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่ หรือใช้เจลทำความสะอาด จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสได้ในระดับหนึ่ง
- การป้องกันทางระบบหายใจ ปิดปากปิดจมูกเมื่อต้องการไอหรือจาม พร้อมกับทิ้งทิชชู่อย่างเหมาะสม จะช่วยสามารถป้องกันการแพร่กระจายของละอองฝอยจากทางเดินหายใจ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่ป่วย จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้อย่างมาก
- การทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อ การทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อบริเวณผิวสัมผัสบ่อย ๆ สามารถป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสได้ดีอีกวิธีหนึ่ง
สรุปอาการไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร
อาการไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีอาการหลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นมีไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ หนาวสั่น เหนื่อยล้า ไปจนถึงอาการคัดจมูก เมื่อคุณทราบอาการป่วยเบื้องต้นของไข้หวัดใหญ่แล้ว จะช่วยให้คุณสามารถพบแพทย์ในทันที เมื่อเริ่มมีอาการ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้