เผย! วิธีจัดการ ปัญหาเด็กติดเกม ก้าวร้าว ให้กลายเป็นเด็กดี
ต้องยอมรับว่าสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เพราะมีฟังก์ชันที่หลากหลายจึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในหมู่เด็กวัยกำลังโต อายุ 6 – 12 ปี ที่มักใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเล่นเกมทำให้เกิด ปัญหาเด็กติดเกม เพิ่มมากขึ้น
5 อาการติดเกม และลักษณะของเด็ก ติดเกม
1 ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ส่งผลให้ เด็กก้าวร้าว
2 ไม่อยากใช้เวลาร่วมกับผู้อื่น
3 พัฒนาการด้านการเรียนรู้ต่ำลง
4 จิตใจวอกแวก สมาธิสั้น
5 ต่อต้านสังคม
สาเหตุหลักของ ปัญหาเด็กติดเกม ในเด็กวัย 6 – 12 ปี มักเกิดจากผู้ปกครองไม่มีเวลาให้ หรือต้องการหลีกเลี่ยงสถานการณ์บางอย่าง เช่น
ปัญหาครอบครัว
ผู้ปกครองทะเลาะกันบ่อยครั้งทำให้เด็กอยากหลีกหนีสถานการณ์ที่เลวร้ายจึงใช้การเล่นเกมเป็นสถานที่หลบหนีจากโลกแห่งความจริง
ขาดการใช้เวลาคุณภาพร่วมกับสมาชิกในครอบครัว
โดยส่วนใหญ่มักเกิดกับครอบครัวที่ผู้ปกครองต้องทำหน้าที่หลายอย่างจึงไม่ได้ใช้ช่วงเวลาคุณภาพร่วมกันกับเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกอ้างว้างจึงเริ่มเล่นเกมเพื่อฆ่าเวลาและกลายเป็นเด็กติดเกมในที่สุด
ผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี
ผู้ปกครองหลายคนเองก็เป็นผู้ที่มีปัญหาติดเกมจึงไม่ได้ใส่ใจลูกมากนัก ทำให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อให้ได้ใกล้ชิดกับผู้ปกครอง
ขาดความมั่นใจในตัวเอง
การทำโทษเด็กด้วยการว่ากล่าวด้วยถ้อยคำที่รุนแรงหรือเสียงดัง หรือกระทำการให้เด็กอับอายทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าคิด ไม่กล้าแสดงออกจึงใช้การเล่นเกมเป็นที่พึ่งทางใจ
เมื่อทราบต้นตอของพฤติกรรมติดเกมของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองสามารถจัดการปัญหา เด็กก้าวร้าว ให้กลายเป็นเด็กดีได้ เลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วยขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- จัดตารางการใช้ชีวิตของตัวเอง การจัดตารางชีวิตเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เวลาคุณภาพร่วมกันกับเด็ก สำหรับคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองที่มีภาระหน้าที่หลายอย่าง ควรแบ่งเวลาอย่างน้อยวันละ 30 – 90 นาที เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันกับลูก
- กำหนดช่วงเวลาคุณภาพ การใช้เวลาคุณภาพอาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการรับประทานอาหารพร้อมกัน โดยไม่มีการจับมือถือหรือดูทีวี และใช้เวลานั้นพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ชื่นชมในสิ่งที่เด็กทำดีและหากต้องการตักเตือนในสิ่งที่เด็กทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการดุด่าด้วยถ้อยคำที่รุนแรง แต่ควรถามเหตุผลในการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสมและฟังอย่างตั้งใจ จึงค่อยให้คำปรึกษา จากนั้นกอด ลูบหัว เพื่อให้เด็กรับรู้ว่าไม่ต้องปฏิบัติตัวไม่ดีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองก็ให้ความสนใจ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการกำหนดเวลา ในช่วงแรกผู้ปกครองควรกำหนดช่วงเวลาในการเล่นเกม หรือช่วงเวลาที่ไม่ควรเล่นเกมอย่างเหมาะสม ร่วมกับการหากิจกรรมเชิงบวกให้เด็กทำ เช่น การทำงานศิลปะ อ่านหนังสือ เล่นดนตรี หรือกีฬา เป็นต้น
- กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ การมอบภาระงานบ้านที่เหมาะสมตามวัยจะทำให้เด็กเรียนรู้ถึงความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นแนวทางการฝึกระเบียบวินัยและทำให้เด็กมีเป้าหมายในการใช้ชีวิตมากขึ้น ไม่ฆ่าเวลาด้วยการเล่นเกม
การเลี้ยงลูกให้ได้ดี โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงลบให้กลายเป็นพฤติกรรมเชิงบวกเป็นวิธีที่ต้องใช้ความอดทน แต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อพัฒนาการของเด็ก เพียงคุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีและใช้เวลาคุณภาพร่วมกันกับลูกจะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กดีได้อย่างแน่นอน
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้