ท่อ pe ร้อยสายไฟ อุปกรณ์สำคัญเพื่อการจัดระเบียบสายไฟ
ปัจจุบันท่อ PE ร้อยสายไฟเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากและนิยมใช้ในการเดินระบบสายไฟภายในอาคารที่ต้องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าสายไฟจะมีปริมาณมากหรือน้อยท่อสำหรับร้อยสายไฟ เพื่อจัดให้เป็นระเบียบ ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตามต้องเลือกขนาดท่อร้อยสายไฟให้เหมาะแก่การใช้งาน
นอกจากนี้ยังการนำสายไฟบนอากาศลงใต้ดินเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในเมืองให้ดูสวยงามและลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ท่อ PE ร้อยสายไฟก็เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมี
ท่อ PE ร้อยสายไฟ คือ
ท่อ PE ร้อยสายไฟ หรือ ท่อร้อยสายไฟ HDPE (High Density Polyethylene) คือ ท่อที่มีไว้สำหรับจัดระเบียบ โดยการร้อยสายไฟฟ้าหลาย ๆ เส้นเข้าไว้ด้วยกัน หรือ สายเคเบิล สายสัญญาณโทรศัพท์ สายกล้องวงจรปิด เป็นต้น
นอกจากนี้ท่อร้อยสายไฟ PE ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเภทของท่อร้อยสายไฟที่ทำมาจากวัสดุพลาสติก “โพลีเอทีลีน” Polyethylene (PE) ชนิดความหนาแน่นสูง มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า จึงช่วยทำให้ปลอดภัยจากการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วจากสายไฟฟ้าชำรุดเสียหาย
ท่อ PE ร้อยสายไฟเป็นท่อพลาสติกชนิดที่สะอาดและแข็งแรง มีความอ่อนตัว ยืดหยุ่น น้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม ทนทานต่อแรงบีบอัดและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี เหมาะที่จะใช้เก็บงานได้รวดเร็วและเรียบร้อยพร้อมป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินสะดุดสายไฟอีกด้วย ทั้งยังใช้กับงานที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง เช่น พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ หรือพื้นที่ที่อาจมีการทรุดตัว
ในตารางท่อร้อยสายไฟของท่อ HDPE ร้อยสายไฟซึ่งผลิตตามข้อกำหนดทางวิศวกรรมของการไฟฟ้านครหลวงที่มาพร้อมราคามาตรฐานนั้นสามารถนำมาเลือกใช้ได้ทั้งในงานท่อร้อยสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ และ ท่อร้อยสายไฟฟ้าแรงดันสูง
การเลือกใช้ท่อร้อยสายไฟ HDPE นั้นนอกจากเลือกแบบผิวเรียบ หรือ แบบลูกฟูกแล้วยังต้องเลือกขนาดของท่อที่เหมาะสมกับการใช้งาน และยังต้องดูค่า PE และ PN ด้วย เพราะค่าแต่ละตัวก็มีคุณสมบัติเหมาะสมกับสถานที่ติดตั้งที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น วิศวกร หรือ ผู้ขายท่อ PE เป็นต้น
ลักษณะของท่อ PE ร้อยสายไฟที่สร้างความแตกต่าง
ท่อ PE ร้อยสายไฟ เป็นท่อร้อยสายไฟ HDPE ที่มีสีดำแถบส้มที่ถูกทำให้เห็นความแตกต่างเพื่อง่ายต่อการดูแลรักษาซ่อมบำรุงภายหลัง ลักษณะเด่น ๆ ของท่อร้อยสายไฟ PE มีดังนี้
ลักษณะพื้นผิวของท่อ PE ร้อยสายไฟ
ทั้งภายนอกภายในของท่อ PE ร้อยสายไฟมีความเรียบมัน มีความต้านทานต่ำ ไม่ฝืด จึงไม่เกิดการหักงอหรือเสียหาย ช่วยทำให้การร้อยสายไฟสะดวก
ความทนทานของท่อ PE ร้อยสายไฟ
สามารถทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ทนทานต่อความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้เดินท่อได้ในที่โล่งแจ้ง ภายในอาคาร และฝังดินได้ โดยไม่เป็นสนิม และไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี
ขนาดของท่อ PE ร้อยสายไฟ
ขนาดท่อร้อยสายไฟ HDPE มีหลายขนาดตั้งแต่ 20 มม.ถึง 200 มม. ความยาวของท่อแบบท่อนคือ 6 เมตร 12 เมตร และ 15 เมตร ในขณะที่ท่อขนาดเล็กมีขนาดตั้งแต่ 20 มม.ถึง 110 มม.ซึ่งสามารถขดเป็นม้วนได้ 50 เมตร และ 100 เมตร จากสเปคดังกล่าวทำให้ใช้งานได้ในหลายระบบงาน เคลื่อนย้ายและการติดตั้งง่าย ช่วยลดค่าใช้จ่าย
มาตรฐานการผลิตท่อ PE ร้อยสายไฟ
มาตรฐานการเดินท่อร้อยสายไฟเป็นไปตามข้อกำหนดทางวิศวกรรมการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และมาตรฐาน DIN 8074/8075-1999 PE 80 หรือตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม มอก. 982-2556 ที่เน้นการป้องกันไม่ให้สายไฟชำรุดจากการใช้งาน
ท่อ PE ร้อยสายไฟมีคุณสมบัติอย่างไร ที่ควรค่าแก่การเลือกใช้งาน ไร้ปัญหา
คุณสมบัติที่เด่นชัดของท่อ PE ร้อยสายไฟ คือ
- มีน้ำหนักเบากว่า 5-7 เท่าเปรียบเทียบกับท่อเหล็ก สามารถดัดโค้งงอได้ 20-40 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ ทำให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและง่ายต่อการติดตั้งใช้งานในการร้อยสายไฟในท่อ HDPE
- ช่วยปกป้องสายไฟฟ้า สายเคเบิล สายสัญญาณจากสิ่งแปลกปลอม เช่นฝุ่น น้ำ ของเหลว ความชื้น สารเคมี หรือสัตว์ประเภท แมลง หนูที่อาจมากัดแทะทำให้สายไฟเสียหายได้
- ปลอดภัยจากการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา และแมลงต่าง ๆ ได้
- ท่อ PE ร้อยสายไฟมีสารป้องกันรังสียูวี จึงทนต่อแสงแดดได้ดีจึงเหมาะกับงานระบบไฟฟ้าภายนอกอาคาร สามารถทนต่อแสงแดดตั้งแต่ – 40๐c ถึง 80๐c
- ท่อร้อยสายไฟ HDPE ช่วยให้การเดินสายไฟดูเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม ลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
- ท่อ HDPE มีความหนาแต่ไม่แตกเปราะง่าย
- สามารถป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อจากการใช้งานไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจรที่ก่อนให้เกิดประกายไฟที่สร้างความเสียหายแก่สิ่งรอบข้างได้, ป้องกันไฟดูดที่เกิดจากไฟรั่ว เป็นต้น
- ท่อ PE ร้อยสายไฟสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นเวลายาวนานมากกว่า 50 ปี
- ทนต่อแรงกด กระแทก บีบอัด มีความอ่อนตัว ยืดหยุ่นสูง ทนอุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าวัสดุท่อร้อยสายอื่น ๆ
- ทนต่อการลุกลามของไฟ ต้านเปลวไฟได้ มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ดี ไม่นำไฟฟ้า จึงไม่รบกวนทางไฟฟ้า ทนต่อการกัดกร่อนของปฏิกิริยาไฟฟ้าได้
- ท่อ PE สามารถรับแรงดันไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 500 KV.
- มีท่อร้อยสายไฟขนาดต่าง ๆ ที่เหมาะแก่การใช้งานในระบบที่มีความแตกต่างกัน เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบโทรศัพท์ ระบบกล้องวงจรปิด ฯลฯ
สรุป
การเดินท่อร้อยสายไฟโดยมากจะเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการเดินระบบสายไฟไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกอาคาร ฝังในผนังหรือใต้พื้นคอนกรีต ซึ่งในปัจจุบันนี้ตัวเลือกที่นิยมใช้ คือ ท่อ PE ร้อยสายไฟเพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมดังกล่าวข้างต้น และยังมีลักษณะของท่อร้อยสายไฟ HDPE (ท่อดำคาดส้ม) ที่จะแยกความต่างการใช้งานจากระบบอื่นซึ่งง่ายต่อการซ่อมบำรุง
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้