โรคเครียดคืออะไร มีอาการเป็นแบบไหน สามารถรักษาได้ไหม ?

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (553)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:993
เมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566 01.07 น.

โรคเครียด

ในปัจจุบันผู้คนต่างพบประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องประสบพบเจอกับปัญหา หรือต้องพบกับสถานการณ์ที่มีความกดดัน อาจส่งผลให้บางคนเกิดภาวะความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าหากเกิดภาวะเครียดสะสมไปนาน ๆ อาจส่งผลให้เกิดเป็นโรคเครียด หรือโรคเครียดเรื้อรังจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยในวันนี้จึงจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับโรคเครียดคืออะไร มีอาการของโรคเป็นแบบไหน มีวิธีในการรักษาโรคนี้อย่างไร ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดทั้งหมดเพิ่มเติมได้ในบทความนี้


 

ความเครียด มีกี่ระดับ มีผลกระทบอย่างไร ?

 

อาการเครียดที่เป็นผลมาจากโรคเครียดในปัจจุบันจะแบ่งได้เป็นหลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะมีอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยจะมีทั้งสาเหตุของความเครียด และผลกระทบที่แตกต่างกัน เพื่อให้รู้จักว่าตัวเองกำลังมีความเครียดในระดับไหน ในหัวข้อนี้จึงจะมาอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะของความเครียดแต่ละระดับเพิ่มเติม ว่ามีอาการเครียดแบบไหน มีสาเหตุความเครียดเกิดจากอะไร และส่งผลกระทบแบบไหนบ้าง

1. Acute Stress

 

เป็นความเครียดที่มีสาเหตุเกิดจากความกดดันจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังพบเจออยู่ เป็นอาการความเครียดที่เกิดขึ้นทันที และจะสามารถหายไปได้เองเมื่อผ่านพ้นสถานการณ์นั้น ๆ มาได้ เช่น การทำงาน, ความกลัว, ตกใจ, เกิดอันตราย เป็นต้น เมื่อหลังจากผ่านพ้นเหตุการณ์ไปแล้ว ร่างกายก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยที่ไม่มีอาการเครียดสะสมตามมา

2. Episodic Acute Stress

 

เป็นอาการเครียดที่มีผลต่อเนื่องมาจากความเครียดแบบ Acute Stress ที่เกิดขึ้นหลายครั้งติดต่อกัน เช่น ปัญหาการทำงาน, ความสัมพันธ์ เป็นต้น เมื่อเกิดความเครียดซ้ำ ๆ อาจก่อให้เกิดเป็นโรคเครียดได้

3. Chronic Stress 

 

เป็นอาการเครียดเรื้อรังที่จะมีสาเหตุมาจากความเครียดที่เกิดขึ้นบ่อย หรือเกิดขึ้นในทุก ๆ วัน ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดของทั้ง 2 ระดับ จนร่างกายไม่สามารถจัดการกับความเครียดนั้นได้ โดยจะส่งผลกระทบต่อทั้งด้านจิตใจ และด้านร่างกาย เป็นระดับของความเครียดที่นำไปสู่การเป็นโรคเครียดได้


 

โรคเครียด คืออะไร ?

 

โรคเครียด หรือ Adjustment Disorder เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่ส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถปรับตัว หรือรับมือกับภาวะความเครียด หรือความกดดันได้อย่างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลทางด้านจิตใจ และในด้านของร่างกาย ทำให้เกิดความทุกข์จนเกิดอาการเครียดสะสม ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งความรุนแรงของความเครียดนั้นในแต่ละคนจะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันโรคเครียดถือเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ด้วยวิธีการรักษาทางการแพทย์ที่ถูกวิธีได้ 


 

อาการของโรคเครียดมีอะไรบ้าง ?

 

ผู้ที่ป่วยโรคเครียดนอกจากจะมีอาการเครียดสะสมแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วย ซึ่งจะมีทั้งอาการที่เกี่ยวกับสภาพจิตใจ และอาการที่ส่งผลต่อร่างกาย โดยจะสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม โดยอาจจะเป็นการแยกตัวออกจากผู้อื่น ใช้ชีวิตแบบไม่มีสติ ทำอะไรต่าง ๆ เริ่มช้าลง
  • มองโลกในแง่ลบ มีอารมณ์ที่ขุ่นมัว เพราะการที่มีภาวะเครียดสะสมเป็นเวลานานต่อเนื่องหลายสัปดาห์ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมองโลกในแง่ลบตลอดเวลา ไม่รู้สึกร่าเริง หรือมีความสุขกับสิ่งใดเหมือนปกติ
  • นึกถึงเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเหตุการณ์ที่มีความเครียดอยู่บ่อยครั้ง เป็นผลกระทบจากการที่ต้องพบเจอเหตุการณ์ร้าย ๆ หรือเหตุการณ์ที่มีความกดดันอยู่ตลอด จึงทำให้ผู้ป่วยโรคเครียดมักเห็นภาพของตัวเองอยู่ตลอด
  • รู้สึกไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ รอบตัว เช่น มีปัญหาการนอนหลับ หลับยาก, มีอารมณ์ที่ดูโมโห, รู้สึกขาดสมาธิ, ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้, อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ 
  • รู้สึกเจ็บปวดทางร่างกาย เช่น ปวดหลัง, กล้ามเนื้อหดตัว, ปวดขากรรไกร เป็นต้น
  • มีอาการปวดศีรษะรุนแรง ปวดไมเกรน เวียนศีรษะอยู่บ่อยครั้ง
  • ความดันโลหิตสูง เนื่องจากเมื่อมีอาการเครียดวิตกกังวล จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนักทำให้เลือดสูบฉีดได้มากผิดปกติ อาจทำให้รู้สึกหายใจติดขัด หรือรู้สึกเจ็บกลางหน้าอกได้
  • มีปัญหากับระบบทางเดินอาหาร เกิดโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมา เช่น กรดในกระเพาะอาหาร, กรดไหลย้อน, ท้องอืด, ท้องร่วง เป็นต้น
  • มีความต้องการใช้สารเสพติด หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ เพราะผู้ป่วยโรคเครียดจะต้องการสิ่งที่จะเข้ามาช่วยในด้านของการปิดกั้นความเครียดมากกว่าคนที่ไม่ป่วย
  • มีความเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหาร รู้สึกต้องการอาหารมากขึ้น หรือรู้สึกเบื่ออาหาร
  • รู้สึกซึมเศร้า รู้สึกท้อกับชีวิตที่เป็นอยู่ ซึ่งในบางคนอาจรู้สึกคิดสั้นจนถึงขั้นทำร้ายร่างกายตัวเองรุนแรงจนถึงขั้นอันตรายถึงชีวิต


 

การรักษาโรคเครียดมีวิธีการรักษาด้วยวิธีไหน ?

 

การรักษาโรคเครียด

โรคเครียดถือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยโรคเครียดนั้นจะเป็นผู้ที่มีภาวะจิตไม่ปกติ เป็นเพียงแค่คนที่มีภาวะโรคเครียดเท่านั้น ซึ่งวิธีรักษาโรคเครียดสามารถรักษาได้ด้วยการเข้ารับการปรึกษากับทางจิตแพทย์โดยตรง เพื่อรับคำปรึกษา ช่วยบรรเทาอาการเครียดที่เป็นอยู่ พร้อมเข้ารับการบำบัดจิตใจให้กลับมาเป็นปกติได้อย่างถูกวิธี โดยจะมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอนดังนี้

  • เริ่มต้นเข้ารับคำปรึกษากับจิตแพทย์โดยตรง ถือเป็นทางเลือกแรก ๆ สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะป่วยเป็นโรคเครียด เพื่อเข้ารับการปรึกษาเกี่ยวกับการรับมือกับความเครียด หรือเพื่อตรวจโรคเครียดของตัวเองว่ากำลังอยู่ในระดับไหน
  • เข้ารับการบำบัดปรับเปลี่ยนความคิด หากเข้ารับคำปรึกษา และปฏิบัติตามคำแนะนำแล้วอาการเครียดยังไม่ดีขึ้น ยังคงพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิต แพทย์จะใช้วิธีการบำบัดระยะสั้น เพื่อที่จะช่วยปรับเปลี่ยนแนวคิดของผู้ป่วยโรคเครียด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยให้ค่อย ๆ กลับมาเป็นปกติ
  • การใช้ยารักษา โดยปกติแล้วจะใช้ยารักษาสำหรับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น โดยจะเป็นการใช้ยารักษาโรคเครียดเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการสำหรับผู้ป่วยโรคเครียดที่มีผลกระทบต่อร่างกาย และผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการนอน หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะซึมเศร้าตามมา


 

เป็นโรคเครียด ดูแลตนเองไม่ให้เครียดได้อย่างไร ?

 

  • หลีกเลี่ยงการพบเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด เพราะการที่ต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดเป็นภาวะเครียดสะสมจนเกิดเป็นโรคเครียดได้
  • ฝึกการทำสมาธิ เช่น เล่นโยคะ, นวดหรือทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
  • หางานอดิเรกที่ไม่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น การเลี้ยงสัตว์, อ่านหนังสือ, ฟังเพลง, ดูหนัง เป็นต้น
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกายเบา ๆ วันละ 15-30 นาที และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พูดคุยปรึกษาปัญหากับคนที่ใกล้ชิด เพื่อพูดคุย หรือหาคนรับฟังเพื่อระบายความเครียดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลให้มีอาการเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันให้ออกไปจากความคิด
  • การปรับเปลี่ยนความคิด ฝึกการมองโลกในแง่บวกอย่างมีเหตุผล ไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยผิดพลาด ยอมรับความเป็นจริง 
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นหัวใจหลักในการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคเครียด หรือผู้ที่เริ่มมีแนวโน้มที่มีภาวะเครียดสะสม เพราะการที่นอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลเกี่ยวกับเรื่องของการควบคุมอารมณ์ในแต่ละวันได้ไม่ดีมากพอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งเสพติด รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดการเสพติด และทำให้มีปัญหาในการนอนหลับได้
  • หากมีอาการเครียดรุนแรงหรือมีอาการซึมเศร้า ควรติดต่อเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์โดยตรง


 

สรุป โรคเครียดรักษาให้หายได้ไหม ?

 

โรคเครียดสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ด้วยการรักษาที่ถูกวิธีตามหลักการรักษาของจิตแพทย์ ซึ่งระยะเวลาในการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการเครียดของผู้ป่วยว่ามีความเครียดระดับใด มีอาการโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนไหม และที่สำคัญผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือกับทางจิตแพทย์ จะต้องมีการดูแลรักษาตัวเองให้ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ตลอดทั้งการรักษา เพื่อให้ผลลัพธ์ของการรักษามีประสิทธิภาพ 

สุดท้ายนี้ขอฝากสำหรับผู้ที่คิดว่าตนเองเริ่มมีภาวะเครียดสะสม มีอาการเครียดบ่อยครั้ง ไม่ควรปล่อยเอาไว้ เพราะอาจจะก่อให้เกิดเป็นความเครียดเรื้อรังจนนำไปสู่การเป็นโรคเครียดได้ โดยควรเข้ารับคำปรึกษากับทางจิตแพทย์โดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ5 มีนาคม พ.ศ. 2568 16.33 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา