โรคแพนิค ตื่นตระหนกสุดขีด ทำความเข้าใจวิธีรักษา

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (554)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:993
เมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 07.19 น.

โรคแพนิค


ในบางครั้งการอาการตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นดูเหมือนเป็นเรื่องที่ปกติสำหรับคนเรา แต่ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ใจสั่น หายใจไม่ออก ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และใช้ระยะเวลานานกว่าอาการจะหายไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และการเข้าสังคม นี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็น
โรคแพนิค อาการของโรคแพนิคมักรุนแรงและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตื่นตกใจ กลัวอย่างสุดขีด อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา 10 นาที และอาจหายไปเองภายใน 30 นาที 

ตามรายงานของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคแพนิคประมาณ 1.2 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณ 2.5% ของประชากรไทยทั้งหมด ผู้ป่วยโรคแพนิคมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อัตราส่วนผู้หญิงต่อผู้ชายอยู่ที่ 3:2 



โรคแพนิค คืออะไร อาจเป็นแต่ไม่รู้ตัว

โรคแพนิค คือเป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งหรือที่เรียกกันว่า โรคตื่นตระหนกที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ระบบประสาทในส่วนนี้ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ทำให้มีอาการทางร่างกายแสดงออกมา เช่น มือไม้สั่น วิงเวียนหัว เหงื่อไหลออกตามร่างกาย หัวใจเต้นเร็ว อึดอัด และกระวนกระวายใจ 

ซึ่งอาการมักจะขึ้นแบบฉับพลันโดยไม่มีสาเหตุ หรือมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตกใจ แล้วจะแสดงอาการแพนิคที่กล่าวมาข้างต้น เป็นระยะเวลา 10 นาที หลังจะผ่านไปสักระยะหนึ่งอาการจะค่อยลดลง หลังจะหายแพนิคผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย อาการของโรคแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา ส่งผลทำให้ผู้ที่เป็นโรคแพนิครู้สึกกลัว และมีปัญหาการใช้ชีวิตประจำวัน



อาการของโรคแพนิค มีอะไรบ้าง?

อาการโรคแพนิค ในผู้ป่วยโรคแพนิคทั่วไป ที่เกิดจากความตื่นตระหนก ตกใจแบบไม่ทันได้ตั้งตัว เมื่อเจอกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด จึงแสดงอาการออกมา ดังนี้

  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ใจสั่น แน่นหน้าอก
  • หายใจติดขัด หายใจถี่ อึดอัดตรงบริเวณหน้าอก
  • เหงื่อไหลออกตามร่างกาย รู้สึกร้อน ๆ หรือรู้สึกหนาว
  • มือไม้สั่น ไม่สามารถจับ หรือถือสิ่งของได้
  • วิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ และปั่นป่วนภายในช่องท้อง
  • ตัวสั่น ตัวชา มึนงง ยืนนิ่งไม่สามารถก้าวขาเดินไปได้
  • รู้สึกเป็นไข้ ตัวร้อนวูบวาบผิดปกติ
  • วิตกกังวล กลัว ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และกลัวตาย
  • ไม่สามารถอยู่ด้วยตัวคนเดียวได้

หากคุณประสบพบเจอกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด Panic attack คือ ความรู้สึกกลัว ไม่สบายใจเป็นอย่างมาก หรือไม่ได้ประสบพบเจอกับเหตุการณ์อะไรเลย แต่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีแล้วแสดงอาการเหล่านี้ขึ้นมา บ่งชี้ได้ว่าคุณอาจจะเป็นโรคแพนิค



สาเหตุของโรคแพนิคมาจากอะไร

 

โรคแพนิค เกิดจากอะไร


โรคแพนิคสามารถเกิดขึ้นไปกับคนทั่วไป เมื่อต้องพบเจอกับปัญหา หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด จนทำให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล ความกลัว และความเครียดสะสมอย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์ที่ร้ายแรง เช่น สูญเสียคนรัก อุบัติเหตุรถชน และอื่น ๆ เกิดได้หลากหลายสาเหตุ โดยไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง สาเหตุหลักของโรคแพนิค มีดังนี้

สาเหตุทางร่างกาย

  • ปัจจัยทางระบบชีวภาพในร่างกาย ผู้ป่วยที่มีโอกาสเป็นโรคแพนิค จะมีระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ระบบประสาทอัตโนมัติอาจจะทำงานผิดปกติ ทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลการจึงมีโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคแพนิคได้
  • ปัจจัยด้านพันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนก วิตกกังวล ก็มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคแพนิคมากกว่าครอบครัวที่ไม่มีมีประวัติในเครือญาติ 5 เท่า

สาเหตุทางสภาพจิตใจ

  • ผู้ที่มีความเครียด วิตกวังกล เหนื่อยล้า พักผ่อนไม่เพียงพอ และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดเป็นโรคแพนิคเช่น ทำงานหนักจนเกินไป เรียนหนักมากไป และต้องเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความกดดัน
  • พบเจอกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่มีผลกระทบต่อสภาพของจิตใจ เช่น สูญเสียคนรัก คนในครอบครัว ผิดหวัง และเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง แต่ในบางกรณีผู้ป่วยบางรายไม่จำเป็นต้องพบเจอกับเหตุการณ์เลวร้ายก็สามารถแสดงอาการแพนิค หรือเป็นโรคแพนิคได้

โรคแพนิคอันตรายไหม ต้องบอกว่าไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่โรคแพนิคมีอาการที่คล้ายกับโรคอื่น เช่น แพนิคกับโรคหัวใจวายเฉียบพลัน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่น ๆ และมีผลกระทบต่อดำเนินใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หากคุณเป็นโรคแพนิค หรือมีคนใกล้ตัวเป็นโรคนี้ ควรรีบรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น



วิธีรักษาโรคแพนิค อยากหายต้องทำอย่างไร

ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวิธีรักษาโรคแพนิคนั้น มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคให้หายขาดได้ ผู้ที่เป็นโรคแพนิคควรเข้ารับการรักษาโรคแพนิคจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อแก้อาการแพนิคให้ผู้ป่วยหาย และกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป โดยวิธีรักษาโรคแพนิค มีดังนี้

วิธีรักษาโรคแพนิค


รักษาด้วยจิตบำบัด

วิธีรักษาโรคแพนิคด้วยจิตบำบัด จากความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้ป่วย ที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคแพนิคเรียนรู้เข้าใจถึงตัวเอง และอาการแพนิคที่เกิดขึ้นว่าไม่ได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต และปรับเปลี่ยนความคิดให้คิดเชิงบวกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เรียนรู้วิธีที่จะรักษาแพนิคด้วยตัวเอง โดยที่นักจิตบำบัดจะรักษาด้วยวิธีที่ให้ผู้ป่วยโรคแพนิค  ฝึกตอบสนองต่อความรู้สึกหวาดกลัว หรืออาการตื่นตระหนกอาจจะที่เกิดขึ้น ฝึกการผ่อนคลาย จัดการกับความวิตกกังวล ฝึกให้คนป่วยรู้จักวิธีผ่อนคลาย เช่น ฝึกหายใจเข้าออกช้า ๆ  และให้คนรอบข้างคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจกับโรคนี้ และให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างเหมาะสม


รักษาด้วยการใช้ยา

วิธีนี้ใช้ยารักษาโรคแพนิค ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคส่วนใหญ่จะมีสาเหตุเกิดจากความพักผ่อนไม่เพียงพอมีความเครียดสะสม หรือเกิดจากพันธุกรรมจากคนในครอบครัวสู่ลูก  และความบกพร่องเกี่ยวกับสารเคมีในสมอง ทางการแพทย์จะรักษาผู้ป่วยโรแพนิคด้วยวิธีรับประทานยา ซึ่งจะดูจากความรุนแรงของอาการโรคแพนิค เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมองให้เป็นปกติ แก้อาการแพนิค ยารักษาโรคแพนิคจะช่วยป้องกันควบคุมไม่ให้อาการกำเริบขึ้นมา ยาที่ใช้รักษาเป็นกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน ที่ช่วยคลายเครียด นอนหลับ ยากลุ่มนี้จะใช้รักษากับผู้ป่วยโรคแพนิคในระยะแรก หรือใช้รักษาเพียงแค่ชั่วคราว เพราะยากลุ่มนี้เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่งจะเกิดดื้อยาขึ้นมาได้ ยากลุ่มต้านเศร้า เป็นยาที่ต้องใช้ระยะเวลารักษา เนื่องจากตัวยาต้านเศร้าจะออกฤทธิ์ช้า ยากลุ่มนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงระดับสารเคมีในสมองให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งผู้ป่วยโรคแพนิคที่รักษาด้วยกลุ่มยาต้านเศร้าจะมีอาการแพนิคที่ลดลงอย่างเห็นชัด ผู้ป่วยโรคแพนิคควรรับประทานอย่างต่อเนื่องประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ถึงจะเริ่มเห็นผล

เนื่องจากผู้ป่วยโรคแพนิคเข้ารับการรักษาด้วยยารักษาโรคแพนิค ตัวยาแต่ละกลุ่มมักจะมีผลข้างเคียง เมื่อได้รับประทานเข้าไป เช่น ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ มือไม้อ่อนแรง ทรงตัวลำบาก ในยากลุ่มต้านเศร้าอาจพบอาการข้างเคียง เช่น ริมฝีแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ตาพร่ามัว วิงเวียนศีรษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้ กระวนกระวาย และมีปัญหาระบบทางเพศสัมพันธ์ 

หากคุณเป็นโรคแพนิคเกิดมีความสงสัยว่าโรคแพนิครักษาหายไหม ? จริง ๆ แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาจาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรมาพบแพทย์เพื่อค่อยเช็คอาการโรคแพนิคอย่างสม่ำเสมอ



การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคแพนิค

เมื่อผู้ป่วยโรคแพนิคที่เกิดขึ้นด้วยจากสาเหตุ หรือปัจจัยต่าง ๆ เช่น มีความเครียดสะสม ปัญหาทางสุขภาพ ปัญหาทางด้านจิตใจ ความบกพร่องของสาเคมีในสมอง และพันธุกรรมก็ตาม คุณควรรู้จักวิธีดูแลตัวเมื่อเป็นโรคแพนิค

  • ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคแพนิค และรักษาในทันที
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ กาแฟ และชา
  • ไม่ควรรับประทานยานอนหลับเอง หรือเสพยาเสพติด 
  • ฝึกควบคุมอารมณ์ เช่นหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ
  • ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามิน และมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ อะโวคาโด
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เล่นกีฬา วิ่ง เดินเล่น และพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • ฝึกมองโลกในเชิงบวก เมื่อต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ให้นึกถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกดี จิตใจสงบ และผ่อนคลาย จะช่วยลดระดับความตึงเครียด

 



สรุปโรคแพนิค เป็นแล้วต้องรักษา

โรคแพนิคเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นไปกับทุกคน เมื่อคุณต้องพบเจอเหตุการณ์เลวร้าย หรือปัญหาต่าง ๆ โรคแพนิคไม่ได้เป็นโรคที่ไม่น่ากลัว หรืออันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่โรคแพนิคเป็นโรคที่ส่งผลกระทบในแง่ลบในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ถึงอย่างนั้นหากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแพนิค หรือเป็นอยู่แล้ว ควรที่จะเข้ารับการรักษาขอคำแนะนำ วิธีรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้ควบคุมอาการและให้หายจากโรคนี้

แก้ไขครั้งที่ 2 โดย GUEST1649747579 เมื่อ5 มีนาคม พ.ศ. 2568 16.34 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา