รู้ทันสาเหตุการเกิดน้ำกัดเท้า และการรักษาอย่างเหมาะสม

haileyb

ขีดเขียนชั้นอนุบาล (93)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:137
เมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 16.34 น.

เพราะสุขอนามัยที่เท้า ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะคนที่ต้องใส่รองเท้าเป็นเวลานาน ๆ หรือทำงานในบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคน้ำกัดเท้าได้ เพื่อช่วยให้ทุกคนตระหนักถึงพิษภัยของโรคน้ำกัดเท้ากันมากขึ้น บทความนี้จะมาบอกถึงสาเหตุการเกิดน้ำกัดเท้า และการรักษาอย่างเหมาะสมให้ได้รู้กัน ตามไปดูกันเลย

น้ำกัดเท้าคืออะไร 

น้ำกัดเท้า (Athlete's foot) หรือฮ่องกงฟุต เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย โดยเกิดจากเชื้อราที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ชื้นและอบอุ่น เช่น บริเวณเท้าที่มักมีเหงื่อออก

สาเหตุการเกิดน้ำกัดเท้า

สาเหตุหลักของการเกิดน้ำกัดเท้าคือการไม่รักษาสุขอนามัยที่เท้าอย่างดีเท่าที่ควร ทำให้เท้าทีเชื้อรา ซึ่งสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อรา เช่น พื้นห้องน้ำ พื้นสระว่ายน้ำ หรือรองเท้าที่ใส่ร่วมกัน

สาเหตุของน้ำกัดเท้า นอกจากเรื่องของการไม่ได้รักษาสุขอนามัยแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำกัดเท้า ได้แก่

  • การสวมรองเท้าที่คับหรืออับชื้น
  • การมีเท้าที่เย็นและชื้นอยู่บ่อยๆ
  • การมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • โรคเบาหวาน

 

อาการของน้ำกัดเท้า

ก่อนที่จะไปดูว่าน้ำกัดเท้ารักษาอย่างไร เรามาดูอาการของน้ำกัดเท้าที่พบบ่อยกัน ซึ่งได้แก่

  • ผิวหนังบริเวณเท้ามีอาการคัน แดง ลอก แตก
  • ผิวหนังบริเวณเท้ามีผื่นแดงเป็นแผ่น
  • ผิวหนังบริเวณเท้ามีขุยสีขาวหรือสีเหลือง
  • เล็บเท้าเปราะหักง่าย

 

การรักษาน้ำกัดเท้า

น้ำกัดเท้าสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาทาหรือยารับประทานฆ่าเชื้อรา โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม

นอกจากนี้ ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้น้ำกัดเท้ากลับมาเป็นซ้ำได้ จนทำให้ชีวิตวุ่นวายได้อีก ดังนี้

  • รักษาความสะอาดเท้าให้แห้งอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะ
  • สวมรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี
  • รักษาความชื้นในอากาศให้เหมาะสม

 

การป้องกันน้ำกัดเท้า

ในส่วนของวิธีในการป้องกันน้ำกัดเท้าสามารถทำได้ ดังนี้

  • รักษาความสะอาดเท้าให้แห้งอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะ
  • สวมรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี
  • รักษาความชื้นในอากาศให้เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำเป็นเวลานาน
  • สวมถุงเท้าที่สะอาดและแห้ง
  • รักษาเล็บเท้าให้สั้นและสะอาด

 

และหวังว่าทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณสามารถดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคน้ำกัดเท้าได้ และหากมีอาการคัน แดง ลอก แตก บริเวณเท้า ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา