เปิดลิสต์จุดเด่น ประกันสะสมทรัพย์ สำหรับผู้สูงอายุกับความคุ้มครองแบบโดนใจ
เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัว ผู้คนส่วนใหญ่ต่างมองหาหลักประกันทางด้านการเงิน วางแผนเกษียณฉบับมนุษย์เงินเดือน เพื่อสร้างความอุ่นใจในการใช้ชีวิตให้มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนมองหานั่นก็คือประกันชีวิต แต่เนื่องจากเงื่อนไขสำคัญของบริษัทประกันที่มักกำหนดไว้สำหรับการทำประกันชีวิตก็คือ อายุ ซึ่งส่วนใหญ่จะรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีเท่านั้น ทำให้ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี เข้าถึงประกันได้ยาก รวมถึงผู้ที่อยู่ในวัย 50 กว่ามักจะพบกับปัญหาเบี้ยประกันที่สูงและต้องผ่านการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดด้วย
ปัจจุบันบริษัทประกันส่วนใหญ่ได้ออกผลิตภัณฑ์ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงวัยที่ต้องการเข้าถึงระบบการทำประกัน โดยประกันประเภทนี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
- เป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มุ่งให้ความคุ้มครองผู้ที่มีอายุ 50 - 60 ปีเป็นหลัก แต่มีอีกหลายบริษัทที่เปิดให้ผู้มีอายุไม่เกิน 75 ปี สามารถซื้อกรมธรรมประเภทนี้ได้
- เป็นประกันแบบที่จะจ่ายเงินชดเชยเป็นก้อนให้ในกรณีที่ผู้เอาประกันหรือผู้สูงอายุเกิดเสียชีวิต
- เป็นแบบประกันที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามด้านสุขภาพแต่อย่างใด
- ทั้งนี้หากผู้สูงอายุต้องการความคุ้มครองสุขภาพหรือความคุ้มครองทางด้านอุบัติเหตุ สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ เป็นสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพหรือสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุตามต้องการ
- สำหรับกรณีความคุ้มครองด้านอุบัติเหตุนั้นสามารถเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุพ่วงกับประกันชีวิตผู้สูงอายุ หรือซื้อเป็น ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เฉพาะก็ได้
- ลักษณะของการจ่ายผลประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ประกันประเภทนี้มักเป็นการจ่ายคืนเงินก้อนให้ในกรณีที่ถือกรมธรรม์ไว้จนครบอายุสัญญา พร้อมกับรับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย แต่หากเกิดเหตุเสียชีวิตก่อนครบอายุสัญญาก็จะได้เงินคืนเท่ากับจำนวนเบี้ยประกันที่ส่งไว้บวกกับอัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญา ซึ่งลักษณะของการจ่ายผลประโยชน์และการจ่ายเบี้ยประกันของผู้สูงวัยนั้นจะคล้ายลักษณะของการออมเงินหรือสะสมเงินไว้ นั่นจึงทำให้รูปแบบของประกันแบบนี้เข้าข่ายเป็น “ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ” หรือ “ ประกันออมทรัพย์ ” ประกันสำหรับลดหย่อนภาษี นั่นเอง
การซื้อประกันออมทรัพย์ สำหรับผู้สูงอายุมีข้อยกเว้นหรือไม่
การทำประกันชีวิตออมทรัพย์ หรือ ประกันสะสมทรัพย์ สำหรับผู้สูงอายุนั้นจะมีข้อยกเว้นในเรื่องของโรคร้ายแรงที่บริษัทประกันจะไม่ให้ความคุ้มครอง เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน มะเร็งลำไส้ โรคลมชัก ดีซ่าน ตับแข็ง พิษสุราเรื้อรัง และไตวาย เป็นต้น แต่สำหรับกรณีผู้สูงอายุที่ทำประกันชีวิตออมทรัพย์แล้วเสียชีวิตด้วยการ “ฆ่าตัวตาย” บริษัทประกันจะไม่ให้ความคุ้มครองหรือไม่จ่ายเงินก้อนให้ตามเงื่อนไขเช่นกัน
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้