กู้ร่วม เพื่อซื้อบ้านมีข้อดีอย่างไร และมีอะไรบ้างที่ต้องระวัง
การมีบ้านเป็นอีกหนึ่งฝันที่หลายๆ คนอยากจะมี แต่กว่าเราจะมีบ้านจะมีอะไรที่ต้องเตรียมตัวอีกบ้าง แน่นอนครับว่าเงินที่จะนำมาซื้อบ้านเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับหลายคนการซื้อบ้านด้วยเงินสดเป็นเรื่องยากหรืออาจไม่มีทางทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว หลายคนจึงต้องมองหาสินเชื่อบ้านจากธนาคาร ทุกธนาคารมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งนอกจากคุณจะขอกู้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียวแล้ว การกู้ร่วม เป็นอีกทางที่ทำได้ เรามาดูคำตอบกัน
หากเราจะเริ่มกู้ร่วม จะต้องเตรียมอะไรบ้าง คนที่สามารถกู้ร่วมได้นั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กันในครอบครัว เช่น พ่อกับลูก พี่กับน้อง หรือสามีร่วมกู้กับภรรยา ซึ่งแต่ละธนาคารมีเงื่อนไขไม่ต่างกันมาก ยิ่งไปกว่านั้นหลายธนาคารยังรองรับการขอ กู้บ้านร่วม ของคู่รักกลุ่ม LGBTQ+ ด้วย สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- เอกสารแสดงตัวตน ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน และเอกสารแสดงความสัมพันธ์แบบครอบครัว เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารเปลี่ยนชื่อ-สกุล ทะเบียนสมรส หนังสือรับรองบุตร หรือภาพถ่ายการแต่งงาน
- เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หลักฐานการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน ในกรณีมีรายได้จากงานประจำ หรือทะเบียนการค้า/หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล บัญชีเงินฝากพร้อมรายการเดินบัญชีย้อนหลัง บัญชีกระแสรายวันย้อนหลัง 6 – 12 เดือน และหลักฐานแสดงรายได้อื่น ๆ ในกรณีมีรายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ
- สัญญาจะซื้อจะขายและเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้านหรือห้องชุดที่จะขอกู้
โดยข้อดีคือช่วยกระจายการชำระหนี้ทำให้การชำระหนี้เป็นไปได้แบบยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น หากคุณและคนในครอบครัวร่วมกันกู้ซื้อบ้าน เมื่อคนใดคนหนึ่งมีปัญหาด้านการเงินจะสามารถพูดคุยเพื่อให้อีกคนชำระมากกว่าในช่วงนั้นได้ นอกจากนี้การขอกู้ร่วมในบางกรณีอาจได้วงเงินสูงขึ้น โดยขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินของผู้ร่วมขอกู้ และยังช่วยให้เราสามารถได้รับอนุมัติสินเชื่อง่ายขึ้น เพราะธนาคารจะมีความมั่นใจมากขึ้นว่าจะได้รับการชำระหนี้ อย่างไรก็ตามทุกเรื่องมีข้อควรระวังซึ่งการร่วมกันกู้ซื้อบ้านก็เช่นกัน โดยมีเรื่องต้องระวังที่เห็นได้ชัด 3 ข้อ ดังนี้
- หากเกิดผิดใจกันอาจจะเป็นปัญหาใหญ่ อย่างคู่สมรสมีเหตุให้ต้องหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ จะทำให้การชำระหนี้มีปัญหา ซึ่งหากตกลงกันไม่ได้อาจถึงกับต้องขายบ้านเพื่อนำเงินมาปิดหนี้
- ส่งผลให้การขอกู้เงินในอนาคตทำได้ยากขึ้น เพราะยังมีภาระหนี้ก้อนใหญ่อยู่
- การลดหย่อนภาษีจะต้องนำมาเฉลี่ยกัน จากเดิมที่ลดได้คนเดียวเต็มอัตรา
สำหรับใครที่อยากกู้ร่วม กรุงไทย แนะนำให้ศึกษาดีๆ ว่ามีข้อดีและข้อควรระวังอย่างไร รวมถึงต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ขั้นตอนนับจากนี้คือการเปรียบเทียบเงื่อนไขของแต่ละธนาคารเพื่อให้ได้ตัวเลือกซึ่งคุ้มที่สุด เมื่อเลือกธนาคารได้และเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย หรือใครที่สนใจรีไฟแนนซ์บ้านคือ กรุงไทยก็มีเช่นกัน สามารถศึกษาข้อมูลการกู้ร่วมซื้อบ้าน ได้ที่ https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1170 หรือผ่อนคอนโดเดือนละ 3000 ทำได้ไหม มาดูกัน https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1171
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้