ยาแก้ปวดหัว กินยังไง พร้อม 5 วิธีป้องกันอาการปวดหัว

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (554)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:993
เมื่อ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2566 15.53 น.

ยาแก้ปวดหัว

อาการปวดหัวเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และทุกคนส่วนใหญ่ก็มักจะใช้ยาพาราในการบรรเทาอาการปวด แต่ถ้าหากปวดหัวแล้ว แต่กินยาพาราก็ไม่หาย หากเราเข้าร้านขายยา เภสัชกรอาจจะแนะนำยาแก้ปวดหัวที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวโดยเฉพาะ แล้วยาแก้ปวดหัวนี้ เป็นอย่างไร มีข้อควรระวัง หรือวิธีการรับประทานอย่างไรบ้าง เรามาดูกัน


 

ทำความรู้จักกับยาแก้ปวดหัว

 

ยาแก้ปวดศีรษะ หรือที่เรียกว่า ยาแก้ปวดหัว เป็นยาที่ออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวโดยเฉพาะ ซึ่งยาแก้ปวดหัวหลายประเภทก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา หรือบางครั้งก็อาจจะต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เสียก่อนจึงจะซื้อได้ เพราะบางครั้งอาการปวดหัว ก็อาจจะเกิดจากโรคไมเกรน ดังนั้น ถ้าหากปวดหัวกินยาพาราไม่หาย ก็จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดหัวไมเกรนโดยเฉพาะแทน


 

ยาแก้ปวดหัวมีกี่แบบ 

 

ยาแก้ปวดหัวไมเกรน

แล้วเมื่อเรามีอาการปวดหัว กินยาอะไรดี อย่างที่กล่าวไป คนส่วนใหญ่ เมื่อมีอาการปวดไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของร่างกายก็ตาม ก็นิยมทานยาพาราเป็นหลัก แต่อาการปวดหัวนั้น ถือว่าเป็นอาการที่เฉพาะเจาะจงเฉพาะส่วน ทางการแพทย์จึงต้องมีการผลิตยาแก้ปวดหัวขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็น

  • Acetaminophen (Tylenol) เป็นยาแก้ปวดหัวตามร้านขายยาที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยทั่วไป ถือว่าเป็นกลุ่มยาที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เมื่อใช้ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพราะถ้าหากรับประทานมากเกินไป อาจจะส่งผลต่อตับได้ 
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ได้แก่ ibuprofen (Advil, Motrin) และ naproxen sodium (Aleve) ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านขายยาเช่นกัน โดยสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยแก้ปวดหัวไมเกรนและจากความตึงเครียดได้ด้วย
  • แอสไพริน ถือว่าเป็นยาในกลุ่ม NSAID อีกประเภทหนึ่งที่สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวได้ ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีจำหน่ายตามร้านขายยา อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานยาแก้ปวดหัวตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพราะอาจจะส่งผลต่อผู้ที่มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเลือดออกผิดปกติได้
  • Triptans เป็นกลุ่มยาแก้ปวดหัวตามใบสั่งยาของแพทย์ที่ใช้เฉพาะสำหรับการรักษาไมเกรน โดยจะมีการทำงานด้วยการทำให้หลอดเลือดหดตัวและปิดกั้นความเจ็บปวดในสมอง ได้แก่ sumatriptan (Imitrex), rizatriptan (Maxalt) และ eletriptan (Relpax)
  • Ergotamines เป็นยาตามใบสั่งยาของแพทย์อีกประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับแก้ปวดหัวไมเกรน ด้วยการทำให้หลอดเลือดในสมองแคบลงและลดการอักเสบ ยา Ergotamine มักใช้ร่วมกับคาเฟอีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยา
  • ยาแก้ปวดหัวบางตัวมีการรวมส่วนผสมที่แตกต่างกัน เพื่อใช้ในการรักษาอาการหลาย ๆ อย่างที่พร้อมกัน เช่น อะเซตามิโนเฟนหรือแอสไพริน ร่วมกับคาเฟอีนเล็กน้อย เพื่อเพิ่มผลในการบรรเทาอาการปวด

แม้ว่า คนส่วนใหญ่จะสามารถใช้ยาแก้ปวดหัวอย่างได้ผล แต่อย่างไร ยาแก้ปวดหัวก็ถือว่าเป็นกลุ่มยาที่มีการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง ดังนั้น เมื่อต้องการรับประทานยากลุ่มนี้ ควรจะปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรเสียก่อน โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวหรือกำลังใช้ยาอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะมีการทำปฏิกิริยาหรือเกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ขึ้น


 

วิธีรับประทานยาแก้ปวดหัวที่ถูกต้อง 

 

สำหรับ การใช้ยาแก้ปวดหัวที่ถูกต้องนั้น เราจำเป็นที่จะต้องรู้และเข้าใจ เพื่อให้สามารถรับประทานยาได้อย่างถูกต้องและเห็นผลมากที่สุด ได้แก่

  • อ่านฉลากหรือเอกสารกำกับยาแก้ปวดหัวที่ให้มาพร้อมกับยาอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะสารออกฤทธิ์ คำแนะนำในการใช้ยา และคำแนะนำ หรือข้อควรระวังต่าง ๆ
  • ทราบระดับหรือประเภทของอาการปวดหัวที่กำลังเป็นอยู่ เช่น ปวดศีรษะ ตึงเครียด หรือไมเกรน เพราะอาการเหล่านี้ ส่งผลให้เราสามารถเลือกใช้ยาได้ถูกกับอาการมากยิ่งขึ้น เพราะยาแก้ปวดหัวบางชนิดก็มีสูตรเฉพาะสำหรับอาการปวดหัวบางประเภท
  • เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับยาแก้ปวดหัวที่เหมาะสมและถูกกับอาการที่กำลังเป็นอยู่
  • รับประทานยาแก้ปวดหัวตามคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร ทั้งในด้านปริมาณของยา ระยะเวลาในการรับประทาน และไม่ควรรับประทานยาเกินวันละกี่เม็ด
  • รับประทานให้ถูกเวลา เพราะยาแก้ปวดหัวบางชนิดจะได้ผลดีที่สุดเมื่อเริ่มมีอาการ ในขณะที่ยาบางชนิดเหมาะสำหรับการบรรเทาอาการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เราควรศึกษาก่อนรับประทานยา
  • รับประทานพร้อมอาหารหรือน้ำหนึ่งแก้ว เพื่อเพิ่มอัตราในการดูดซึมและลดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร หรือยาแก้ปวดหัวบางชนิดก็สามารถรับประทานได้เลย
  • รับประทานยาในปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรกำหนดต่อ 1 วัน เพื่อลดโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ 
  • แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรว่า คุณมีโรคประจำตัว ประวัติการรักษา หรือยาที่รับประทานเป็นประจำ เพราะยาบางชนิดอาจจะทำปฏิกิริยากับยาแก้ปวดหัวได้
  • คอยสังเกตอาการปวดหัวของตัวเองอยู่อย่างเสมอ ว่า ยาแก้ปวดหัวที่เรารับประทานนั้น ช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น หรือแย่ลง หรือมีผลข้างเคียงใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่


 

ข้อควรระวังในการทานยาแก้ปวดหัว 

 

ปวดหัวกินยาไม่หาย

เมื่อใช้ยาแก้ปวดหัว เพื่อบรรเทาอาการปวดแล้ว สิ่งสำคัญที่เราจะต้องตระหนัก คือ ข้อควรระวังต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการรับประทานยาเหล่านี้ คือ

  • ต้องรับประทานยาแก้ปวดหัวในปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาเกินขนาด เพราะอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้
  • ยาแก้ปวดหัวบางชนิด มีกลุ่มฝิ่นหรือยาผสมบางชนิดที่อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ จากการใช้ยามากเกินไป หรือฟื้นตัวได้ช้า ดังนั้น เราควรจำกัดความถี่และระยเวลาในการรับประทานยา
  • ศึกษาข้อควรระวังหรือคำเตือนจากฉลากและเอกสารกำกับยาแก้ปวดหัวอย่างละเอียด เช่น อายุของผู้รับประทาน วันละไม่เกินกี่เม็ด ปฏิกิริยาของยาที่อาจจะเกิดขึ้น ผลข้างเคียงอื่น ๆ เป็นต้น
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคตับหรือติดแอลกอฮอล์ ควรจะระมัดระวังในการใช้ยาแก้ปวดหัวประเภท Acetaminophen (Tylenol) 
  • สำหรับผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือมีประวัติโรคหลอดเลือดสมอง อาจจะไม่เหมาะกับยากลุ่ม Triptans และ ergotamines
  • สำหรับยาแก้ปวดหัวประเภทยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้ ดังนั้น เราควรรับประทานยาพร้อมอาหารหรือนม
  • หากมีโรคประจำตัว หรือกำลังใช้ยาอื่น หรือกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนรับประทานยาแก้ปวดหัว เพื่อให้ปลอดภัยจากการรับประทานยาเหล่านี้
  • ศึกษาข้อมูลผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ยาแก้ปวดหัว เช่น อาการแพ้ ปัญหาระบบทางเดินอาหาร อาการง่วงนอน เวียนศีรษะ เป็นต้น แต่ถ้าหากมีผลข้างเคียงที่มีอาการรุนแรงหรือต่อเนื่อง ควรรีบหยุดยาและไปพบแพทย์ทันที
  • ไม่ควรเลือกซื้อยาแก้ปวดหัวมารักษาอาการปวดหัวเรื้อรังหรือรุนแรงด้วยตนเอง เราควรจะปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและถูกต้อง
  • ควรเก็บรักษายาแก้ปวดหัวให้พ้นมือเด็ก หรือเก็บอย่างมิดชิด เพราะยามีโอปิออยด์หรือส่วนผสมที่อาจเป็นอันตรายได้

ดังนั้น ข้อควรระวังสำหรับยาแก้ปวดหัวข้างต้น ถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่เราควรจะต้องทราบ ก่อนจะใช้ยา โดยสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อความปลอดภัยและลดโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เราควรรับประทานยาภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรจะดีที่สุด


 

แนะนำ 5 วิธีป้องกันอาการปวดหัว 

 

วิธีแก้ปวดหัวไมเกรน

เมื่อเราเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับยาแก้ปวดหัวกันไปแล้ว ทีนี้ เราลองมาดู 5 วิธีบรรเทาอาการปวดหัว หรือวิธีป้องกันอาการปวดหัว เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องรับประทานยากัน

1. ผ่อนคลายความเครียด

 

ความเครียดถือว่าเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว ดังนั้น เราจึงต้องมีเทคนิคในการจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นให้ได้ เพื่อช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดหัวได้ โดยในปัจจุบันมีวิธีผ่อนคลายความเครียดอย่างหลากหลาย ได้แก่ การฝึกหายใจลึก ๆ การทำสมาธิ โยคะ การออกกำลังกายเป็นประจำ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมการผ่อนคลายและความเป็นอยู่ที่ดี

2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

อาการปวดหัวที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดจากการอดนอนหรือการปรับเวลานอนที่ผิดปกติ ดังนั้น เราควรจะต้องสร้างนิสัยในการนอนให้ถูกต้องและเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการนอนหลับ เช่น ห้องที่เย็นสบาย บรรยากาศที่มืดสนิท ไม่มีเสียงรบกวน เป็นต้น และกำหนดเวลานอนที่เหมาะสม คือ 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน

3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

 

การขาดน้ำก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ดังนั้น การที่เราดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอตลอดทั้งวัน ก็จะทำให้เราสามารถรักษาความชุ่มชื้นในร่างกายได้อย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำและทำให้ปวดศีรษะได้

4. ปรับท่าในชีวิตประจำวัน

 

การปรับเปลี่ยนท่าทางในการใช้ชีวิตประจำวันก็อาจจะช่วยให้เราไม่ต้องรับประทานยาแก้ปวดหัวได้ เพราะหากกล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณคอ ไหล่ และศีรษะตึงก็อาจจะทำให้เราเกิดอาการปวดหัวได้ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืน หากเราปรับท่าทางด้วยการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม เช่น ความสูงของเก้าอี้ ตำแหน่งจอภาพ และตำแหน่งแป้นพิมพ์ที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้ร่างกายของเราผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

5. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น

 

อาการปวดหัวอาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ล้วนแต่สามารถกระตุ้นอาการปวดหัวได้ ดังนั้น เราควรจะจดบันทึกทุกครั้งที่มีอาการ หากพบสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ได้แก่ อาหารบางชนิด (เช่น ชีส ช็อกโกแลต หรือเนื้อแปรรูป) แอลกอฮอล์ กลิ่นแรง แสงไฟจ้า เสียงดัง ความร้อนสูงเกินไป หรือการอดอาหาร เมื่อตรวจพบแล้ว ให้พยายามหลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นเหล่านี้


 

สรุป

 

หากเราปวดหัวแล้วกินพาราไม่หาย หรือมีอาการปวดหัวไมเกรน ยาพาราอาจจะไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ดังนั้น เราควรจะเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้จัดยาแก้ปวดหัวที่ตรงกับอาการและสุขภาพของเรามากที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ สิ่งที่ดีที่สุด คือ การหมั่นดูแลสุขภาพของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนให้เพียงพอ การดื่มน้ำในปริมาณที่ร่างกายต้องกาย ผ่อนคลายความเครียด ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ

 

แก้ไขครั้งที่ 2 โดย GUEST1649747579 เมื่อ4 สิงหาคม พ.ศ. 2566 16.14 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา