Affiliate Marketing คืออะไร ทำไมหลายแบรนด์ถึงนิยมกัน!?
ในปัจจุบัน เรียกได้ว่า การทำแบรนด์หรือธุรกิจมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง หลายแบรนด์จึงต้องลงทุนในการทำตลาด เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้และสนใจในผลิตภัณฑ์ของตนเอง และยิ่งในยุคดิจิทัลเช่นนี้ กระแสของการทำ Affiliate Marketing เริ่มได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น แล้ว Affiliate Marketing คืออะไร มีความน่าสนใจอย่างไร สามารถสร้างผลประโยชน์ให้ทางแบรนด์ได้อย่างไร หากเราจะเริ่มทำการตลาดแบบนี้บ้าง เราจะต้องเริ่มต้นอย่างไร และสุดท้าย ผู้ที่รับทำ Affiliate จะได้รับค่าตอบแทนอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ!!
Affiliate Marketing คืออะไร!?
Affiliate Marketing เป็นการตลาดออนไลน์ประเภทหนึ่งที่ทางแบรนด์ให้บุคคลหรือบริษัทอื่นเป็นตัวแทนในการดำเนินการโปรโมตสินค้าและบริการของบริษัทผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน อีเมล เป็นต้น แก่กลุ่มผู้บริโภค และเมื่อผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าหรือสมัครสมาชิกจากแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้น บุคคลหรือบริษัทนั้นก็จะได้รับค่าตอบแทนจากแบรนด์
โดยค่าตอบแทนที่คนทำ Affiliate จะได้รับ จะเป็นค่าคอมมิชชั่น (Commission) หลังจากที่มีการขายทุกครั้ง อาจจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายหรืออัตราคงที่ ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างแบรนด์และคนทำ Affiliate ถือว่าเป็นการทำ Digital Marketing สำหรับธุรกิจในอีกรูปแบบหนึ่ง
ในปัจจุบัน หลากหลายแบรนด์ได้เริ่มหันมาทำ Affiliate Marketing กันมากขึ้น เพราะการตลาดแบบนี้ สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคและเพิ่มยอดขายได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนในการทำโฆษณาแบบเดิม รวมถึงเหล่าคนทำ Affiliate ที่สามารถทำรายได้จากการโปรโมตผลิตภัณฑ์ของแบรนด์อื่น โดยที่ไม่ต้องสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเอง
Affiliate Marketing มีหลักการทำงานอย่างไร?
เมื่อเราเข้าใจความหมายของ Affiliate Marketing แล้วว่า เป็นการตลาดออนไลน์ในรูปแบบหนึ่ง โดยมีหลักการทำงานที่ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
- การสมัครเข้าร่วมแพลตฟอร์มหรือโปรแกรมสำหรับคนทำ Affiliate (Join an Affiliate Program)
โดยเริ่มแรกผู้ทำ Affiliate จะต้องสมัครเข้าร่วมแพลตฟอร์มหรือโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการของแบรนด์ต่อผู้บริโภคได้
- การโปรโมตผลิตภัณฑ์ของคนทำ Affiliate (Promote Affiliate Products)
บุคคลหรือบริษัทที่รับทำ Affiliate จะโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการของแบรนด์ต่อผู้บริโภค ผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อีเมล หรือช่องทางการตลาดดิจิทัลอื่น ๆ
- รับค่าคอมมิชชั่น (Earn Commissions)
ผู้ที่ทำ Affiliate จะได้รับค่าคอมมิชชั่นสำหรับทุกการขายที่ทำผ่านลิงก์หรือสื่อออนไลน์เฉพาะของพวกเขา โดยอัตราค่าคอมมิชชั่นก็ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย หรือเป็นอัตราคงที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้
นอกจาก 3 ขั้นตอนของหลักการทำงานของ Affiliate Marketing แล้ว เรายังสามารถแบ่งประเภทของ Affiliate Marketing ได้อีก 3 ประเภท คือ
- Unattached Affiliate Marketing เป็นการตลาดในลักษณะที่แบรนด์ฝากให้โฆษณาลงบนพื้นที่แพลตฟอร์มที่ตัวแทนมีอยู่ผ่านการทำโฆษณา เช่น การยิง Google Ads แต่การตลาดประเภทนี้ก็ไม่ได้รับผลที่ดีนัก
- Related Affiliate Marketing เป็นการตลาดที่ทางแบรนด์และตัวแทนมีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกัน เช่น ผู้รับทำ Affiliate Marketing เปิดช่องทางสื่อออนไลน์เกี่ยวกับการแต่งหน้าและรีวิวเครื่องสำอางต่าง ๆ แล้วมีการแสดง Affiliate Link ไว้ ก็ทำให้ผู้บริโภคที่เข้าชม มีโอกาสกดลิงก์นั้น เพื่อสั่งซื้อเครื่องสำอางนั้น ๆ ได้
- Involved Affiliate Marketing เป็นการตลาดที่แบรนด์และผู้ทำ Affiliate Marketing เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน มีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น ผู้รับทำ Affiliate Marketing เป็นเจ้าของที่พักและที่เว็บไซต์ของที่พัก ก็มีการแปะลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของทัวร์ ทำให้มีโอกาสที่ผู้บริโภคจะซื้อทัวร์ต่อจากการจองที่พัก ถือว่าเป็นการได้ประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย
การทำ Affiliate Marketing มีประโยชน์อะไรบ้าง
แล้วถ้าหากเราทำ Affiliate Marketing แล้ว แบรนด์ของเราจะได้รับผลประโยชน์ หรือมีข้อดีอย่างไรบ้าง เรามาดูกัน
- การรับรายได้ที่ทำกำไรสูง (Lucrative Income Potential)
ด้วยการทำ Affiliate Marketing เป็นการตลาดที่สามารถทำกำไรได้สูง จากการรับค่าคอมมิชชั่นจากการขายผลิตภัณฑ์
- ต้นทุนต่ำ (Low Startup Costs)
ในการเริ่มทำแบรนด์ด้วยการตลาดแบบนี้ ทำให้เกิดรายจ่ายที่ต่ำ สามารถควบคุมงบประมาณในการทำตลาดได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์
- ความยืดหยุ่นและอิสระ (Flexibility and Freedom)
ด้วยผู้ที่รับทำ Affiliate สามารถทำงานได้จากทุกที่และทุกเวลา ตราบใดที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็สามารถโปรโมทสินค้าและบริการได้
- ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และความเฉพาะ (Wide Range of Products and Niches)
ด้วยในปัจจุบัน ท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์และความเฉพาะมากมายสำหรับ Affiliate ดังนั้น ในการทำโปรโมท เหล่าผู้รับทำ Affiliate สามารถค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจได้
แต่ทั้งนี้ เราทำการสรุปข้อดีของ Affiliate Marketing สำหรับ Startup ไว้ ดังนี้
- สร้างรายได้โดยไม่ต้องลงทุน ด้วยการการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้ว และเริ่มเพิ่มการโฆษณาสินค้า อาจจะเพียงแค่ปรับ User Interface (UI) ให้ดึงดูดคลิกจากลูกค้า
- ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ผ่านการวิเคราะห์และปรับใช้ในการพัฒนา เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาวิเคราะห์สินค้าของตัวเองให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น
- เจ้าของธุรกิจ หรือแบรนด์ ใช้เงินลงทุนไม่มาก ถือว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นและเริ่มโปรโมทตนเอง
9 ข้อควรรู้ของ Affiliate Marketing
ก่อนที่จะเริ่มทำ Affiliate Marketing มี 9 ข้อควรรู้ที่ต้องเข้าใจและปฏิบัติตามให้ได้ ดังนี้
- Step 1. ลือกบุคคลหรือบริษัท (Decide on a Niche)
เมื่อเราสามารถเข้าใจและกำลังจะเริ่ม Affiliate Marketing อันดับแรก คือ การเลือกบุคคลหรือบริษัทที่มีความสอดคล้องกับความสนใจและความสนใจของแบรนด์
- Step 2. เลือกแพลตฟอร์ม (Select a Platform)
เลือกแพลตฟอร์ม เพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์ในเครือของคุณ ทั้งนี้ในการเข้าถึงแพลตฟอร์มก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลประชากรของผู้บริโภค และความสามารถของคุณเอง
- Step 3. สร้างเว็บไซต์ (Create a Website)
โดยเราจะต้องซื้อชื่อโดเมน เลือกแผนการโฮสต์ และสร้างเว็บไซต์โดยใช้ระบบจัดการเนื้อหา (CMS) เช่น WordPress หรือ Squarespace แล้วออกแบบเว็บไซต์ โดยคำนึงถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย
- Step 4. การสมัครเข้าร่วมแพลตฟอร์มหรือโปรแกรมสำหรับคนทำ Affiliate (Join an Affiliate Program)
โดยเราศึกษาและเลือกโปรแกรม Affiliate ที่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องกับตัวตนของเรา พร้อมทั้งพิจารณาอัตราค่าคอมมิชชั่น ระยะเวลา และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ก่อนจะสมัครตามคำแนะนำ
- Step 5. เขียนเนื้อหาการโปรโมท (Write Excellent Content)
เนื้อหาของการโปรโมทผลิตภัณฑ์มีความสำคัญต่อความสนใจของผู้บริโภค ดังนั้น เราจึงต้องมีการวางแผนและสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง มีใจความที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อย่างครบถ้วนและรอบด้าน
- Step 6. เพิ่มจำนวนยอดเข้าชมเว็บไซต์ Affiliate ของเรา (Drive Traffic to Your Affiliate Website)
เราควรจะมีการปรับเว็บไซต์และเนื้อหาที่มีคุณภาพให้ติดอันดับบนเครื่องมือการค้นหา (SEO) บนโซเชียลมีเดีย เพื่อดึงดูดการเข้าชมเว็บไซต์ของเรา และเพิ่มโอกาสที่ผู้บริโภคจะคลิก Affiliate Link ที่แปะอยู่ในหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ มากขึ้นด้วย
- Step 7. ซ่อน Affiliate Links (Cloak Your Affiliate Links)
เพราะบางครั้ง Affiliate Links ก็ดูเหมือนสแปม ทำให้ผู้บริโภคบางรายไม่กล้าคลิก ดังนั้น บางครั้ง เราจึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องมือในการซ่อนลิงก์ เพื่อทำให้เว็บไซต์ของเราดูเป็นมืออาชีพ และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
- Step 8. ติดตามแคมเปญ Affiliate (Track Your Affiliate Campaigns)
ภายในเว็บไซต์ เราควรจะต้องมีเครื่องมือในการวิเคราะห์การเข้าชมเว็บไซต์ พฤติกรรมผู้ใช้ และอัตรา Conversion เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และนำข้อมูลเหล่านั้น กลับมาพัฒนาตนเองหรือวางแผนกลยุทธ์ใหม่
- Step 9. เพิ่มรายได้ (Boost Your Income)
พยายามค้นหาแบรนด์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และหมั่นปรับปรุงและพัฒนาทักษะของตนเอง เพื่อให้สามารถรับค่าคอมมิชชั่นมากขึ้น
Affiliate Marketers ได้รับค่าตอบแทนเท่าไร
สำหรับ Affiliate Marketers จะได้รับค่าตอบแทนผ่านค่าคอมมิชชั่น โดยอาจจะเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายที่โปรโมท หรืออัตราคงที่ตามที่ทำข้อตกลงกับแบรนด์ไว้ และนอกจากนี้ Affiliate Marketing ยังมีรูปแบบรายได้แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่
- Pay Per Click (PPC) เป็นการจ่ายเงิน เมื่อมีผู้คลิกโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มนั้น
- Pay Per Lead (PPL) เป็นรายได้จากการเก็บ Lead ผ่านการสร้างลิงก์ให้ผู้บริโภคลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับทางแบรนด์
- Pay Per Sale (PPS) เป็นการจ่ายเงิน หลังจากที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าและบริการ โดยหักจากยอดขายเป็นเปอร์เซ็นต์หรืออัตราคงที่
สรุป
Affiliate Marketing เป็นการตลาดออนไลน์ประเภทหนึ่งที่ทางแบรนด์มอบหมายให้บุคคลหรือบริษัทดำเนินการโปรโมทสินค้าและบริการ โดยจะตอบแทนเป็นค่าคอมมิชชั่นตามที่ได้ตกลงกัน ไม่ว่าจะเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายหรืออัตราคงที่ ซึ่งสำหรับผู้ที่รับทำ Affiliate ก็ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ทางหนึ่งที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย พร้อมทั้งสามารถรับทำได้จากหลากหลายแบรนด์ และทางแบรนด์เองก็ถือว่าใช้งบในการทำตลาดที่น้อยลง เรียกได้ว่าเป็นการได้ผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้