สะพานฟัน ทางเลือกแห่งการทดแทนฟันแท้ที่สูญหาย
ทุกวันนี้ ใช่ว่าทุกคนจะเคยได้ยินหรือรู้จักคำว่า “สะพานฟัน” หรือ Dental Bridge ดังนั้นเราจะใช้โอกาสนี้มาทำความรู้จักเกี่ยวกับการทำสะพานฟันกัน ช่วยกันทำความเข้าใจว่าอะไรคือสะพานฟัน มีรูปแบบใดบ้างที่สามารถเลือกได้ และเหมาะสมกับฟันลักษณะใด มีข้อดีและข้อจำกัดอะไรบ้าง และถ้าหากสนใจการทำสะพานฟันราคาเท่าไหร่
สะพานฟัน คือ
สะพานฟัน คือ หนึ่งในวิธีที่ทันตแพทย์ใช้ในการรักษาฟันที่สูญหายของคนไข้ สามารถจัดเข้าเป็นประเภทฟันปลอมชนิดติดถาวร ที่ใช้ทดแทนฟันจริงได้ตั้งแต่ 1 ซี่ขึ้นไป
สะพานฟันจะมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ครอบฟันแท้ (ยึดติดกับฟันจริง) และ ฟันลอยที่ไม่ยึดติดกับเหงือกของฟันที่หลุดไป
วัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟันนั้นจะเป็นชนิดเดียวกับการทำครอบฟัน คือ
- แบบโลหะล้วน (ทอง) มีลักษณะสีโลหะ แต่แข็งแรงและทนทานมากที่สุด เหมาะเป็นสะพานฟันช่วงฟันกรามหลัง
- แบบเซรามิกล้วน มีสีเหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ เหมาะจะทดแทนฟันหน้า ที่ดูใส สวยงาม
- แบบเซรามิกผสมโลหะ (PFM) ก็มีสีเหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ สามารถใช้ทดแทนฟันกรามที่ทำหน้าที่บดเคี้ยว
สำหรับสะพานฟัน ราคาเท่าไรนั้น ก็ขึ้นกับวัสดุที่ใช้ในการทำ ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำว่าควรใช้วัสดุชนิดใดที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานของฟันที่จะมาทดแทน
ฟันลักษณะแบบไหนที่ควรทำสะพาน
เรามาทำความเข้าใจ และศึกษาหาข้อมูลว่าการทำสะพานฟันนั้น เหมาะสมกับฟันลักษณะแบบใดบ้าง
- คนที่มีฟันแท้หลุดมากกว่า 1 ซี่และเป็นซี่ที่อยู่ติดกัน
- คนที่ไม่ต้องการทำฟันปลอมแบบถอดได้
- คนที่ไม่ต้องการทำรากฟันเทียมทุกซี่
- คนที่จำเป็นต้องถอนฟันหน้าทิ้ง
- คนที่ยังเหลือฟันซี่ข้างเคียงที่แข็งแรงพอเป็นหลักยึดสะพานฟันได้
รูปแบบการทำสะพานฟัน
การทำสะพานฟัน สามารถแบ่งตามลักษณะการยึดติดของสะพานฟันออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์
เป็นสะพานฟันที่ยึดติดกับฟันแท้ด้วยวัสดุที่ทำจากเรซิน (Resin-bond bridge) ที่มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อที่ยึดติดด้านหลังของฟันจริงซี่ข้างเคียง วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเสียเนื้อฟันจริงเยอะจากการกรอฟัน แต่ความแข็งแรงจะไม่เท่ากับการทำสะพานฟันแบบอื่น ๆ
2. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว
สะพานฟันแบบนี้จะมีฟันจริงซี่ข้างเคียงเพียงซี่เดียวที่ใช้ในการยึดสะพานฟัน ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการใช้บดเคี้ยวอาหารที่แข็งหรือเหนียวเกินไป เพราะอาจทำให้ฟันแตกหักได้ง่าย
3. สะพานฟันแบบทั่วไป
สะพานฟันแบบทั่วไปจะเป็นที่นิยมทำกัน เพราะครอบฟันจะยึดติดกับฟันจริงซี่ข้างเคียงทั้งซ้ายขวา โดยมีครอบฟันลอย (Pontic) ที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียเป็นตัวเชื่อมครอบฟันด้านข้าง วิธีนี้ช่วยให้งานบดเคี้ยวอาหารทำได้ดีกว่าสะพานฟันชนิดอื่น ๆ
ข้อดีในการทำสะพานฟัน
การตัดสินใจทำสะพานฟันเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไปจากอุบัติเหตุ หรือฟันผุ ก็มีข้อดีอยู่หลายข้อ โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการเสียเวลาในการถอดฟันปลอมเข้า ๆ ออก ๆ เวลาใช้งาน หรือทำความสะอาดฟัน ข้อดีที่สามารถรวบรวมมาได้ ก็คือ
- ช่วยทำให้สามารถกัด เคี้ยวอาหารได้ตามปกติ เพราะสะพานฟันช่วยให้มีการกระจายน้ำหนักในการบดเคี้ยวได้เหมือนฟันตามธรรมชาติ
- สะพานฟันที่ใช้นั้นจะติดแน่นกับฟันจริงได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะหลุดในระหว่างพูดคุยหรือกินอาหาร ช่วยให้พูดคุยได้อย่างมั่นใจ เป็นธรรมชาติ
- สะพานฟันสามารถช่วยป้องกันฟันล้มไปในช่องว่างของฟันซี่ข้างเคียง ทำให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
- สะพานฟันยังช่วยแก้ไขปัญหาให้กับคนที่สูญเสียซี่ฟันให้กลับมามีฟันครบ ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้รับบริการให้กลับมามีรอยยิ้มที่สดใส สวยงามดังเดิม
- ช่วยรักษาโครงหน้าให้ดูปกติดังเดิม ดูสดใส อ่อนเยาว์
ข้อจำกัดในการทำสะพานฟัน
ไม่ว่าจะเป็นการรักษาที่ดีแค่ไหน แต่ก็ย่อมมีข้อจำกัด เช่นเดียวกันกับการทำสะพานฟัน ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่เช่นกัน ซึ่งก็คือ
- การทำสะพานฟัน จำเป็นต้องสละเนื้อฟันธรรมชาติที่แข็งแรงไปอย่างน้อย 1-2 ซี่จากการกรอฟันเพื่อใช้เป็นหลักยึด
- ฟันที่ถูกใช้เป็นหลักยึดในการทำสะพานฟันเป็นฟันธรรมชาติ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดฟันผุขึ้นมา
- การทำความสะอาดฟันลอยที่เป็นส่วนหนึ่งของสะพานฟันและอยู่เหนือเหงือกนั้นยากกว่าฟันธรรมชาติ จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาเป็นพิเศษ
- มีโอกาสที่จะต้องรื้อทำสะพานฟันใหม่ หากว่าฟันซี่ที่เป็นหลักยึดเกิดหลวมหรือผุกร่อน
- คนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น โรคเหงือก จะไม่สามารถทำสะพานฟันได้จนกว่าจะรักษาหายก่อน
วิธีปฏิบัติตัวหลังทำสะพานฟัน
การดูแลรักษาและเอาใจใส่ในสุขภาพปาก และฟันนั้นไม่แตกต่างยังคงสามารถทำได้ตามปกติ เพียงแต่ว่าหลังจากที่ได้ทำสะพานฟันแล้ว ดังนั้นจึงมีข้อปฏิบัติตัวเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของสะพานฟันให้ยาวนานขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
- เมื่อเกิดอาการบวมหลังทำให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
- ดูแลรักษาความสะอาดฟันอย่างถูกวิธี
- เน้นดูแลความสะอาดบริเวณที่ทำสะพานฟันเพื่อไม่ให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ
- หลีกเลี่ยงการดื่มหรือกินอาหารประเภทร้อนจัด เย็นจัด หรือเป็นกรดสูงเช่น มะนาว เป็นต้น
- ควรเลือกใช้ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปากแบบผสมฟลูออไรด์เพื่อลดอาการเสียวฟันที่อาจเกิดขึ้นได้
- ควรกินอาหารที่เน้นจำพวกผัก ผลไม้ ไฟเบอร์ หรืออาหารอ่อนจนกว่าจะเคยชินกับสะพานฟัน
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ เช่น น้ำแข็ง ลูกอม บริเวณสะพานฟัน
- ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือนเพื่อดูความเรียบร้อยของสะพานฟัน
สรุป
การตัดสินใจจะเลือกทำฟันปลอมแบบติดแน่นสะพานฟันหรือไม่นั้น ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสุขภาพฟัน และช่องปากที่แข็งแรง หากว่ามีสุขภาพช่องปากที่ดี ไม่มีฟันผุหรือโรคเหงือกใด ๆ การเลือกทำสะพานฟันก็นับเป็นตัวเลือกที่ดีและเหมาะสมอย่างมาก ถึงแม้ว่าการทำสะพานฟันราคาอาจจะค่อนข้างสูง แต่ด้วยอายุการใช้งานก็ค่อนข้างยาวนาน 10-15 ปี เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับที่ต้องจ่ายไปอย่างแน่นอน
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้