ตอนไหนถึงควรตรวจไมเกรน อาการที่อาจเสี่ยงและไม่ควรมองข้าม
หากคุณมีอาการปวดหัวข้างหนึ่งอย่างฉับพลัน รู้สึกปวดหัวตุบ ๆ เป็นชั่วโมง ๆ และมีอาการแพ้แสง แพ้เสียง หรือมีอาการรุนแรงจนเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน คุณควรเข้ารับการตรวจไมเกรนอย่างเร่งด่วน
สาเหตุของโรคไมเกรนยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่พบว่าปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีส่วนในการเกิดอาการไมเกรนได้ และหากร่างกายมีความเครียด รวมถึงพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดอาการปวดหัวตามมา โดยแพทย์จะมีวิธีตรวจไมเกรนด้วยการตรวจเลือด ซักประวัติ เอกซเรย์และวินิจฉัยสมอง
แพ็กเกจตรวจไมเกรนคัดกรองโรคปวดศีรษะของสถานพยาบาลแต่ละแห่งจะมีการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษา รวมถึงการป้องกันที่เหมาะสม การตรวจไมเกรนมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
อาการสัญญาณเตือนไมเกรนที่ควรคำนึงถึงอยู่เสมอ
ไมเกรน (Migraine) คือโรคทางประสาทวิทยาชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้ก้นสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดหัว โดยมีตำแหน่ง ปวดไมเกรนที่ข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ แล้วจึงปวดทั้ง 2 ข้าง แต่ละครั้งที่ปวดมักจะย้ายข้างหรือย้ายตำแหน่งได้ บางครั้งอาจปวดเป็นชั่วโมง หรือต่อเนื่องหลายวัน ตรวจไมเกรนมักดูมีอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และภาวะไวต่อการรับรู้แสง เสียง กลิ่นและสัมผัสร่วมด้วย โดยมีวิธีตรวจไมเกรนจากการซักประวัติของโรคที่แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ
- ระยะแสดงอาการปวดล่วงหน้า เช่น มีอารมณ์แปรปรวน หิว คอแข็ง กระหายน้ำ หาวบ่อย ท้องผูก และปัสสาวะบ่อย
- ระยะส่งสัญญาณเตือน เริ่มผิดปกติในการมองเห็นและภาวะไวต่อแสง บางคราวอาจสูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ ไมเกรนขึ้นตา ตาพร่ามัว เห็นแสงกะพริบได้ ปวดกระบอกตา ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของระบบประสาท อาจพบความผิดปกติอื่น เช่น อาการไวต่อกลิ่นและการได้ยินเสียงรบกวน หรืออาจส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือมีการชาที่แขนหรือขา
- ระยะแสดงอาการของโรค อาการรุนแรงที่แสดงออกด้วยการปวดหัวตุบ ๆ ปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวข้างซ้าย หรือปวดหัวข้างขวา ปวดหัวคิ้ว ปวดหัวท้ายทอย และมักมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
- ระยะหลังแสดงอาการ เกิดอาการเหนื่อยล้าและสับสนในช่วงวันแรก บางคนอาจมีอาการสดใสขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งหากมีการเคลื่อนไหวร่างกายโดยฉับพลัน อาจเกิดอาการปวดของไมเกรนอีกครั้ง
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมีอาการวิงเวียน และคลื่นไส้อาเจียน ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจไมเกรนและรับการรักษาอย่างทันท่วงที
การรักษาไมเกรนในเบื้องต้นต้องทำอย่างไรบ้าง
โรคไมเกรนอาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม ความผิดปกติในการทำงานของสมองที่มีผลกระทบต่อการสื่อกระแสประสาท ระดับสารเคมีในสมอง ความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง และแรงกระตุ้นอื่น ๆ จากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การได้รับยาบางชนิด และการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนในเพศหญิง ช่วงการมีรอบเดือน ระหว่างตั้งครรภ์ หรือในช่วงวัยทอง การสังเกตตนเองว่ามีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้หรือไม่ คือวิธีตรวจไมเกรนเบื้องต้น ซึ่งหลังจากตรวจไมเกรนแล้วแพทย์จะมีการรักษาไมเกรนดังนี้
การรักษาไมเกรนในขั้นต้น
กรณีปวดหัวไม่รุนแรงแนะนำให้กินยาแก้ปวดเป็นอันแรก เช่น พาราเซตามอล เนื่องจากเป็นวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น และควรนอนพักในห้องมืดและมีอากาศเย็น ไม่อับหรือชื้น และมีบรรยากาศที่เงียบสงบ นวดเบา ๆ ตามวิธีนวดแก้ปวดไมเกรน หากไม่หายควรพบแพทย์เพื่อตรวจไมเกรนต่อไป
การรักษาไมเกรนทางการแพทย์
หลังตรวจโรคไมเกรนแพทย์จะใช้ยากลุ่มยาแก้ปวดไมเกรนโดยเฉพาะ ได้แก่ ยากลุ่มทริปแทน (Triptan) เช่น eletriptan หรือ sumatriptan ช่วยให้หลอดเลือดในสมองหดตัว ที่มีประสิทธิภาพดีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า NSAIDs และยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ (Ergot alkaloids) ที่ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดในสมองขยายตัว
วิธีตรวจไมเกรนเบื้องต้นมีอะไรบ้าง
สำหรับคนที่กำลังคิดว่าตรวจไมเกรนที่ไหนดี ตรวจไมเกรน ออนไลน์ได้หรือไม่ บอกได้เลยว่าศูนย์รักษาไมเกรนdki หลายแห่งมีบริการจองคิวพบแพทย์ออนไลน์ได้ แต่ต้องใช้เครื่องมือแพทย์ในการตรวจ จึงจำเป็นต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยตนเองให้แพทย์ทำการตรวจไมเกรนเพื่อประเมินอาการปวดศีรษะเพื่อหาสาเหตุของอาการอย่างถูกต้อง โดยแพทย์จะประเมินอาการโดยละเอียดตั้งแต่เบื้องต้น ทำให้รักษาไมเกรนได้ตรงจุดและรวดเร็ว โดยมีวิธีตรวจไมเกรนดังนี้
- ซักประวัติ
- เจาะเลือด
- เอกซเรย์หรือตรวจวินิจฉัยทางสมอง
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลอดเลือดในสมอง (Brain-MRA)
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลอดเลือดดำในสมอง (Brain-MRV)
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระดูกสันหลังส่วนคอ (C-Spine MRI)
สรุป
จากข้อมูลการตรวจไมเกรนพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวข้างเดียว โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน โดยเฉพาะในเพศหญิง ศูนย์รักษาไมเกรนdki หลายแห่งมีวิธีตรวจไมเกรนด้วยการตรวจวินิจฉัยทางสมอง เพื่อประเมินอาการอย่างละเอียด คุณสามารถป้องกันโรคไมเกรนได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น เสียง แสงจ้า และความเครียด
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้