รอบรู้เรื่อง อุดฟัน กับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครบจบในที่เดียว

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (556)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:995
เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 16.37 น.

รอบรู้เรื่อง อุดฟัน

 

ในปัจจุบันมีผู้คนมากมาย มีปัญหาเกี่ยวกับ ฟันผุ ฟันแตกหรือฟันบิ่น ฟันสึก หรือฟันกร่อน และไม่ทำการรักษาจนเกิดการสูญเสียฟันก่อนวัยอันควร ดังนั้น เมื่อเริ่มมีอาการควรรักษาด้วยวิธีการอุดฟันเพื่อป้องกันการสูญเสียฟันไป  

โดยหลัก การอุดฟัน เป็นการทำให้ฟันกลับมาให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน และเต็มแต่งสวนที่ขาดหายไป กำจัดเนื้อฟันที่ผุไม่ให้ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ นำมาซึ่งปัญหา เหงือกอักเสบ เป็นหนอง ฟันผุลามไปยังโพรงรากฟัน รากฟันเสื่อม ฟันล้ม

 


 

การอุดฟัน (Dental Filling) คืออะไร 

 

อุดฟัน Dental Filling คือ แนวทางรักษาฟันอีกแบบนึ่ง  ผู้ที่เกิดปัญหาภายในช่องปาก เช่น ฟันผุ ฝันสึก การรักษาอาการของฟันผุ ฟันเป็นรู ฟันแตก ฟันบิ่น เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อฟันถูกทำลายมากกว่าเดิม รักษาด้วยวัสดุที่ต่างชนิดกันมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เข้ามาอุดฟันซี่ฟันที่ได้รับการเสียหาย เพื่อปิดช่องทางการตกคางของเศษอาหารที่รับประทานเข้าไปหรือไม่ให้แบคทีเรียเข้าทำลายเนื้อฟัน 

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การอุดฟัน ได้ที่นี่

 


 

อุดฟันแก้ปัญหาเรื่องอะไรบ้าง

 

อุดฟันแก้ปัญหา

 

โดนทั่วไปทันตแพทย์จะทำการวินิจฉัย ในการอุดฟันเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับคนไข้ให้ตรงจุดเนื่องจากปัญหาที่คนไข้เข้ามาใช้บริการมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ฟันแตก อุดคอฟัน ซึ่งปัญหาเหล้านี้จะมีวิธีการที่รักษาคล้ายกัน คือ การอุดฟัน เพื่อทำให้ฟันกลับมาในสภาพที่เหมือนเดิมมากที่สุด

 

1. ฟันผุ

ฟันผุหรือโรคฟันผุ เกิดจากเชื้อโรคที่พบได้ทั่วไปในช่องปาก ที่ทำการย่อยสารอาหารจำพวก น้ำตาลหรือแป้งที่ติดตามคราบฟัน จนทำให้เกิดโพรงหรือ รูที่ตัวฟัน ถ้าไม่ทำการรักษาด้วยวิธี การอุดฟัน อาจจะลุกลามจนทำลายฟันซี่อื่นๆไปด้วย ทำให้ยากต่อการรักษามากขึ้น 

 

2. ฟันสึก

ฟันสึกเป็น เป็นการศูนย์เสียเนื้อฟันออกไปบางส่วน ทำให้รูปร่างของฟันไม่สวยงาม ทำให้เกิดการสูญเสียความมั่นใจของรอยยิ้ม และยังมีอาการเสียวฟันร่วมด้วย เมื่อมีการรับประทานอาหารที่ เย็นจัด เปรี้ยวจัด ซึ่งหากปล่อยไม่ทำการรักษา ด้วยการอุดฟัน จนทำให้ฟันสึกถึงโพรงประสาท จนทำให้เกิดอาการปวดฟันตามมาได้  

 

3. ฟันแตก หัก บิ่น

ฟันแตก ฟันหัก หรือฟันบิ่น คือ การเกิดความเสียหายบริเวณผิวฟัน หรือเนื้อฟัน เช่น การกัดของลักษณะแข็งมากเกินไปจนทำให้เกิดฟันแตก หรือหัก เกิดจากอุบัติเหตุทางกีฬา หรือรถยนต์ ทำให้เกิดการสูญเสียฟันขึ้น แนวทางการรักษาที่นิยมใช้ การอุดฟัน เพราะจะมีผลกระทบต่อคนไข้น้อยที่สุด

 

4. วัสดุอุดฟันเก่าหลุด

วัสดุอุดฟันหลุดหรือ ที่อุดฟันหลุด จากตำแหน่งเดิม เนื่องจากการเคี้ยวอาหารที่เหนี่ยวหรือแข็งเกินไปทำให้เกิดการเสื่อมของสภาพวัสดุอุดฟัน ทำให้ปัญหาเหล่านี้ตามมาได้ เช่น ระคายเคืองหรือเสียวฟัน เศษอาหารเข้าไปติด บริเวณที่วัสดุเก่าหลุดออก ทำให้เกิดปัญหาช่องปากตามมาได้ 

 

5. อุดฟันเพื่อความสวยงาม

ในปัจจุบัน ด้วยวิธีการอุดฟันที่ทันสมัยมากขึ้น การตกแต่งฟันเพื่อความสวยงามถือเป็นเรื่องปกติ เช่น ปิดช่องฟันห่างหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับฟัน ให้กลับมารูปร่างปกติ สามารถใช้เคี้ยวอาหาร   เพื่อสร้างความมั่นใจและเพิ่มเสน่ห์ให้กับรอบยิ้ม

 


 

วัสดุที่ใช้อุดฟันมีอะไรบ้าง

 

สำหรับวัสดุอุดฟัน หรือ Composite resins เป็นวัสดุที่ทันตแพทย์จะใช้ในการซ่อมแซมหรือใช้ในการอุดฟัน ราคานั้นจะขึ้นอยู่กับวัสดุสังเคราะห์ที่นำมาใช้  จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ ได้แก่ วัสดุสีโลหะ และ วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน ซึ่งทั้งสองแบบมี ข้อดี-ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร และควรเลือกใช้วัสดุแบบไหนดี 

 

1. อุดฟันอมัลกัม (อุดฟันโลหะ)

 

อุดฟันอมัลกัม

 

อุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม Amalgam Filling เป็นวัสดุสีเทาหรือสีโลหะ ใช้งานง่ายมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ราคาไม่แพง มีความสะดวก รวดเร็วในยึดติดกับตัวฟันได้ด้วยตัวมันเอง ทันตแพทย์มักจะนำมาใช้ใน การอุดฟันกรามและฟันกรามน้อย ซึ่งมี ความแข็งแรง ทนทานต่อแรงบดเคี้ยวอาหารได้ดี 

เนื่องจากวัสดุอุดฟัน ผลิตมาจากส่วนผสม ปรอท เงิน ดีบุก หรือโลหะ จึงไม่เหมาะสำหรับฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม เพราะวัสดุมีสีเงินไม่เหมือนสีของฟันทำให้เห็นชัดไม่ดูไม่สวยงาม ใช้เวลานานในการเซตตัวของวัสดุถึง 24 ชั่วโมง 

 

2. อุดฟันคอมโพสิต (อุดฟันสีเหมือนฟัน)

 

อุดฟันคอมโพสิต

 

อุดฟันวัสดุสีเหมือนฟันหรือ Composite Resin เป็นวัสดุอุดฟันที่สีใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุด และเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากถูกพัฒนาเพื่อใช้กับอุดฟันหน้า ฟันกรามหรือฟันที่มองเห็นได้ สวยงามและเป็นเนื้อเดียวกันกับสีฟัน  ตัววัสดุที่ใช้ไม่มีสารปรอทผสมเป็นอัตรารายต่อร่างกาย

แต่เนื่องด้วยจากวัสดุคอมโพสิตไม่มีความคงทนในการใช้เคี้ยวบดอาหาร  เท่ากับอมัลกัม  มีราคาสูงกว่าแบบโลหะ มีวิธีการที่ยุ่งยากง่ายต่อการเกิดคราบจากชา กาแฟ หรือบุหรี่ 

 


  

ข้อดี ข้อจำกัดของการอุดฟัน

 

ในทางการแพทย์ การอุดฟันถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเรื่อง สุภาพในช่องปาก จะมาแนะนำข้อดีและข้อจำกัดของการอุดฟัน ที่แต่ต่างกันไป ว่าควรพิจารณาจากจุดไหนเป็นสำคัญ

 

ข้อดีของการอุดฟัน

การอุดฟัน เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการยิ้มสุขภาพปากที่ดี ป้องกันฟันผุลุกลามไปยังโพรงประสาทฟันไม่ให้เสียฟันซี่นั้นไป ลดอาการปวดหรือเสียวฟันเนื่องจากเกิดการสูญเสียเนื้อฟันไป ดังนั้นการอุดฟันนั้นเป็นการแก้ปัญหาได้ตรงจุดที่สุด ทั้งในเรื่องฟันผุ ฟันห่าง ฟันบิ่น หรือหัก

 

ข้อจำกัดของการอุดฟัน

ในบางท่านนั้น การอุดฟัน การไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดได้ เนื่องจากเกิดอาการฟันผุจนลุกลามไม่สามารถทำการรักษาได้ เกิดอุบัติเหตุจนทำให้ฟันหลุด ทำให้ต้องเสียไฟซี่นั้นไป วัสดุที่ทำการอุดฟันเสื่อมสภาพตามการใช้  ดังนั้น ควรดูแลรักษา ทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธี

 


  

ก่อนอุดฟันเตรียมตัวอย่างไรดี 

 

ก่อนอุดฟันเตรียมตัว

 

ก่อนการอุดฟัน ต้องมีเวลาจึงต้องมีเวลามาพบทันตแพทย์ก่อนเพื่อให้ทันตแพทย์ช่วยพิจารณาวางแผนการอุดฟันได้เหมาะสมในแต่ละบุคคล เพราะปัญหาของฟันในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป รวมไปถึงวัสดุอุดฟันที่ใช้ในการอุดฟันด้วย เราจึงมีวิธีแนะนำก่อนเข้าพบ ทันตแพทย์ คือ

 

  • แจ้งเรื่องสุภาพเช่นโรคประจำตัวหรือมียาที่รับประทาน 
  • เลือกวัสดุอุดฟันเหมาะสมกับการใช้งาน
  • มีปัญหาด้านอะไรให้แจ้งให้ทันตแพทย์ทราบถึงปัญหา
  • หากมีฟันปลอมแบบถอด หรือรีเทนเนอร์ ให้นำมาด้วยทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา 
  • ทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดและบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำยาบ้วนปากให้เรียบร้อย

 


  

การอุดฟันเจ็บไหม

 

เป็นคำถามที่ถามกันมานาน การอุดฟันเจ็บไหม เจ็บมาก-น้อยขึ้นอยู่กับอะไรในขั้นตอนการอุดฟันนั้นจะมีความรู้สึกเสียวฟัน เมื่อมีการกรอฟัน ทำความสะอาดของเนื้อฟันที่เสียออกไป ยิ่งมีเนื้อฟันที่เสียมากใกล้กับตำแหน่งโพรงประสาทของฟัน ยิ่งมีอาการเจ็บมาก

 

แต่ด้วยถ้าคุณหมอได้ประเมินว่าเนื้อฟันมีความเสียหายหนักอาจจะทำให้คนไข้รู้สึกถึงอาการเจ็บในขณะที่ทำอุดฟัน คุณหมดจะทำการฉีดยาชาโดยจะมีฤทธิ์อยู่ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อช่วยระงับความเจ็บปวดหรือความเสียวฟันที่อาจเกินขึ้นได้ในเวลาอุดฟัน 

 


  

ขั้นตอนการอุดฟัน

 

ขั้นตอนการอุดฟัน

 

ในขั้นตอนการอุดฟันไม่ได้น่ากว่าอย่างที่หลายๆคนคิด  เพื่อช่วยไม่ให้ผู้ใช้บริการรู้สึกเจ็บ ทันตแพทย์จะใส่ ยาชาเฉพาะที่เพื่อไม่ให้คนไข้รู้สึกถึงอาการเจ็บปวดและสามารถตอบโต้กับทันตแพทย์ ในการอุดฟันนั้นใช้เวลาเพียงไม่นาน ลองมาดูถึงขั้นตอนการอุดฟันที่ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

 

  1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจเช็ค ฟันของคนไข้ นั้นมีปัญหามากน้อยแค่ไหนและสามารถใช้การอุดฟันได้หรือไม่
  2. ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชา(สำหรับผู้ที่ผุลึกใกล้โพรงประสาท)
  3. จากนั้นทันตแพทย์จะทำการกรอฟันเพื่อกำจัดฟันที่ผุที่ติดเชื้อ เพื่อให้ฟันนั้นเหมาะสม และรองรับการอุดฟัน
  4. หลังจากการกรอฟันเสร็จ ทันตแพทย์จะใส่วัสดุอุดฟันปในบริเวณฟันที่ผุซึ่งขั้นตอนนี้จะมีวิธีการทำที่แตกต่างกันตามวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน

 


  

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังการอุดฟัน

 

ตามปกติแล้วคนไข้หลังจากอุดฟันจะมีอาการเสียวฟัน สามารถหายได้เอง จะใช้ระยะเวลา 2-3  วัน และอาจจะมีผลข้างเขียง จะมีอาการปวดฟันหลังจากอุดฟัน เพราะเส้นประสาทเนื้อฟันได้รับความเสียหาย เหงือกบริเวณรอบ ๆ อักเสบ ยาชาหมดฤทธิ์  กินเครื่องดื่มอาหารเย็นจัด และกินอาหารแข็ง

 


  

ดูแลตัวเองหลังการอุดฟันอย่างไร 

 

ดูแลตัวเองหลังอุดฟัน 

การอุดฟันจึงเป็นวิธีที่ช่วยแก้ปัญหา เรื่องฟันผุ ฟันสึก ฟันแตกหัก เพื่อปิดช่องทางที่ แบคทีเรีย เข้าสู้เนื้อฟันเพื่อให้ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน หลังจากการทำการรักษามา ดังนั้น จำเป็นต้องดูแลฟันที่ทำการอุดฟันนั้นเป็นพิเศษและเหมาะสมดังนี้

 

  1. ควรเหลี่ยกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง เพื่อป้องกันการแตกตัวของวัสดุหรือเกิดความเสียหายต่อฟันได้
  2. อาจมีการเสียวฟัน  เมื่อรับประทานอาหารที่เย็นจัดหรือร้อนจัด ภายหลังการอุดฟันควนเหลี่ยกเลี่ยงอาหารดังกล่าว อาการเหล่านี้จะหายไปเอง 2-3 สัปดาห์
  3. หากมีอาการเจ็บฟันหลังมีการเคี้ยวอาหาร ภายหลังการอุด อาจเกิดวัสดุอุดฟันสูงเกินไปให้กลับมาพบแพทย์ทันที
  4. หากวัสดุอุดฟันหลุดให้หลับมาอุดใหม่ อย่าปล่อยไว้เพราะอาจเกิดฟันผุลุกลามจนไม่สามารถ บูรณะด้วยการอุดฟันได้
  5. ทำความสะอาดฟันด้วยวิธีการแปรงฟันให้ถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ
  6. ควนพบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากกทุก 6 เดือน

 


  

อุดฟันอยู่ได้นานแค่ไหน

 

อายุการใช้วัสดุอุดฟันนั้น จะมีอายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปี  ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพของฟันและช่องปาก หลังจากที่ได้รับการอุดฟันแล้ว ไม่ควรทานอาหารที่ทำให้เกิดการสึกหรอของวัสดุอุดฟัน เพื่อให้งานให้ยาวนานขึ้น 

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะการใช้งานของวัสดุอุดฟัน

ในส่วนของจัยที่ส่งผลต่อระยะการใช้งานของวัสดุอุด ฟัน เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่แข็ง และเหนียวเกินไป หรือพฤติกรรมการนอนกัดฟัน ทำให้เกิดการสึกหรอของวัสดุอุดฟันได้ง่าย

 


  

อุดฟันที่ไหนดี

 

สุขภาพของฟันนั้นเป็นเรื่อง สำคัญอันดับต้น ดังนั้น เราต้องเลือก อุดฟันที่ไหนดี อุดฟันราคาที่ไหนถูก

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในด้านการรักษา คลินิกได้มาตรฐาน จึงมาแนะนำ มีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการอุดฟัน เพราะถึงแม้การอุดฟันจะเป็นเพียงทันตกรรมขั้นพื้นฐานแต่หากเลือก คลินิกที่ไร้มาตรฐาน ก็เป็นเรื่องน่ากังวลอยู่ไม่น้อยเลย 

ดังนั้น อุดฟันกับ Smileseasons มีความพร้อมสำหรับการอุดฟันที่ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับ เรามีทีมทันตแพทย์เฉพาะทาง อุ่นใจได้ว่าคุณจะได้รับการรักษา และคำแนะนำโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ เลือกใช้อุปกรณ์ และเทคโนโลยีซึ่งได้มาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้เลยคุณจะได้รับการรักษาที่ดีที่สุด ในราคาย่อมเยา

เรามีทีมงานตอบทุกคำถามช่วยเหลือคุณทุกเรื่อง อุดฟัน ทีมงานของเราพร้อมช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกให้คุณเสมอ ให้เทคโนโลยีทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น ตั้งแต่การส่ง sms confirm ยืนยันนัด ไปจนถึงการใช้ศาสตร์ของ Digital Dentistry เข้ามาช่วยในการรักษา

 


 

คำถามที่พบบ่อย

 

หลายๆๆครั้งที่ทุกคนตั้งคำถามเกี่ยวกับอุดฟัน อุดฟันนานไหม เราจึงได้รวบรวมคำถามที่น่าสนใจมาตอบปัญหาเรื่องต่างๆที่ทุกคนสงสัยและได้ทราบข้อมูลอย่างถูกต้องและได้รับคำตอบที่แน่นอน

 

อุดฟันใช้เวลานานไหม

ในการอุดฟันนานไหมนั้น ใช้เวลามากหรือเวลาน้อย ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เพราะว่าการอุดฟันต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆของผู้ที่เข้ารับการรักษาฟัน เช่น ตำแหน่งของซี่ฟันในการอุด จำนวนซี่ฟัน  วัสดุที่เลือกใช้ในการอุดฟัน ความชำนาญขอทันตแพทย์ โดยปกติแล้วจะให้เวลาในการอุดฟันซี้ละประมาณ 30 นาที 

 

ฟันห่าง อุดได้ไหม

เนื่องจากฟันห่าง มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกัน ทันตแพทย์จะพิจารณาหาสาเหตุ โดยทั่วๆไปเกิดจากสาเหตุที่ไม่ซับซ้อนมากนัก สามารถใช้วิธีง่ายๆ สะดวก ราคาประหยัด  เช่น การใช้วัสดุอุดฟันปิดช่องห่างของฟัน เพื่อเติมเต็มซี่ฟัน ให้เกิดความสวยงามและเพิ่มความมั่นใจ

 

ฟันผุระหว่างซอกฟัน อุดได้ไหม

ฟันผุระหว่างซอกฟัน ถ้ายังไม่ได้ทะลุ การอุดฟันคือคำตอบที่ดีที่สุก  ทันตแพทย์จะทำการกำจัดฟันผุบริเวณซอกฟันออกก่อน และจะทำการเติมวัสดุอุดฟัน เพื่อจะทำให้ฟันกลับมีรูปร่างเหมือนเดิมและสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม

 

อุดฟันด้วยตัวเอง ทำได้ไหม

ในเรื่องของการอุดฟันด้วยตัวเองนั้น ทำไม่ได้ เนื่องจากเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุในการอุด ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการทำ  เพราะวัสดุที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่ผ่านมาตรฐาน ไม่มีความชำนาญ อาจจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่โพรงประสาทฟันจะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ 

 


  

ข้อสรุป

 

การอุดฟัน คือ การตกแต่งเนื้อฟันที่สูญเสียไปให้กลับมาเหมือนเดิม และสามารถใช้งานได้เหมือนกับฟันเดิม แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่มีนวัตกรรมของวัสดุอุดฟันที่เปรียบเทียบได้กับเนื้อฟันจริง ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียเนื้อฟัน ควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากเพื่อให้มีความมั่นใจในรอบยิ้ม และการหมั่นมาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือน

 


 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา