ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน มีหน้าที่อะไร เตรียมตัวสอบตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน
ตํารวจพิสูจน์หลักฐานนั้น เป็นหนึ่งในอาชีพตำรวจที่เป็นสายงานน่าสนใจ ซึ่งหลาย ๆ คนคงอยากเป็นหรืออยากรู้ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง เป็นอาชีพแบบไหน เรามาดูไปด้วยกัน
ตำรวจพิสูจน์หลักฐานมีหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ โดยใช้ความรู้หลักนิติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศร์ รวมถึงทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพิสูจน์หลักฐานโดยตรงตามกระบวนการยุติธรรม
นอกจากนี้ตำรวจพิสูจน์หลักฐานยังมีส่วนช่วยในการรวบรวมพยานหลักฐานมาใช้ในการยืนยันพิสูจน์หาข้อเท็จจริงในภารกิจต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องชัดเจน อีกทั้งหน้าที่ของตำรวจพิสูจน์หลักฐานมีตั้งแต่การเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นการ ตรวจลายนิ้วมือ ตรวจร่างกาย ตรวจสถานที่เกิดเหตุ รวมทั้งตรวจสอบวัตถุพยานต่าง ๆ โดยกระบวนการชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี เป็นต้น
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน
หน้าที่ของตำรวจพิสูจน์หลักฐาน
โดยหน้าที่ของตำรวจพิสูจน์หลักฐานนั้น มีหน้าที่ต่อไปนี้
- ดำเนินการพิสูจน์หลักฐานต่าง ๆ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ทางเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา การตรวจเปรียบเทียบ การถ่ายรูป เพื่อช่วยพนักงานสืบสวนสอบสวนหรือหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในการค้นหา ตรวจเก็บ ตรวจพิสูจน์หลักฐานต่าง ๆ
- ดำเนินการเข้าตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ และพิสูจน์หลักฐาน
- ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องด้านการตรวจพิสูจน์หลักฐานและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
- ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
- จัดทำข้อมูลด้านการตรวจพิสูจน์ การตรวจสถานที่เกิดเหตุ
วุฒิอะไรจึงจะเป็นตำรวจพิสูจน์หลักฐานได้
โดยก่อนที่จะสอบตํารวจพิสูจน์หลักฐาน ต้องศึกษาก่อนว่าต้องมีวุฒิอะไรจึงจะเป็นตำรวจพิสูจน์หลักฐานได้ โดยบุคคลที่จะสมัครสอบตำรวจกองพิสูจน์หลักฐานได้จะต้องผ่านเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- สำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติปริญญาบัตรจากสภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ ก่อนสมัคร
- มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งวุฒิปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์มีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องที่สามารถสมัครได้นั้น ได้แก่ สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ และสาขาฟิสิกส์ประยุกต์ ทั้งนี้วุฒิการศึกษาที่ใช้ในการสมัครจะต้องเป็นวุฒิการศึกษาที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนได้รับรองไว้แล้ว
สอบเป็นตำรวจพิสูจน์หลักฐานต้องทำยังไง
โดยการสอบเป็นตำรวจพิสูจน์หลักฐาน จะมีการสอบสองรอบ โดย
- การสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐานรอบแรก
จะเป็นการสอบข้อเขียน ซึ่งจะเป็นข้อสอบแบบปรนัย แบ่งการทดสอบความรู้ความสามารถและแยกตามสายสอบ ถ้าเลือกสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐานเคมีจะต้องสอบความรู้เกี่ยวกับสาขาเคมี หากเลือกสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐานฟิสิกส์จะต้องสอบความรู้เกี่ยวกับสาขาฟิสิกส์ สาขาฟิสิกส์ประยุกต์ สาขาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์และตํารวจพิสูจน์หลักฐานข้อสอบวิชาทั่วไป ได้แก่
- วิชาภาษาไทย
- วิชาความสามารถทั่วไป
- วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
- วิชาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- วิชาภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
- การสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐานรอบที่สอง
จะเป็นการสอบสัมภาษณ์รวมถึงการตรวจสอบคุณสมบัติ การตรวจร่างกายและทดสอบสุขภาพจิต ประวัติและความประพฤติด้วย โดยมีให้เลือกสอบไม่ว่าจะเป็นตำรวจสายอำนวยการพิสูจน์หลักฐาน ตำรวจพิสูจน์หลักฐานฟิสิกส์ ตำรวจพิสูจน์หลักฐานเคมี ทำให้ต้องอ่านหนังสือสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ฝึกทำแนวข้อสอบตํารวจพิสูจน์หลักฐานอยู่เสมอ เตรียมพร้อมสำหรับลงสนามสอบจริง
จากที่กล่าวมานั้น ซึ่งจะเห็นว่าต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมให้ดี เพราะการสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐานจัดว่าเป็นสายที่มีการแข่งขันสูง แต่หากเรามีการเตรียมความพร้อม มีความตั้งใจและวางแผนมาดีก็จะทำได้ ทาง GovEntPolice ขอเป็นกำลังใจให้ ซึ่งถ้าเกิดอยากติวเสริมความมั่นใจเราก็มีบริการ สำหรับเตรียมความพร้อมคุณสมบัติทุกรอบ
ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน อาชีพในฝันที่น่าเป็นจริงหรือ?
โดยเราต้องถามตัวเองก่อนว่า เราจะมาเป็นตํารวจพิสูจน์หลักฐานเพื่ออะไร และเรามีคุณสมบัติที่ดีของตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ซึ่งต้องมีทักษะการทำงานต่อไปนี้
- ทักษะด้านการสื่อสาร
โดยทักษะด้านการสื่อสาร เป็นทักษะที่มีความสำคัญในการปฏิบัติงานอย่างมาก เนื่องจากจะต้องสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน หรือสอบถามข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องจากงานที่ได้รับมอบหมายนั้น ๆ ถ้าหากสื่อสารได้ดีก็จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงประเด็น การทำงานก็จะสำเร็จผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
- ทักษะสำคัญพื้นฐานในการทำงาน
ด้วยการปฏิบัติงานของตำรวจควรมีทักษะชีวิตและอาชีพ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งทักษะพื้นฐานที่ควรมี ได้แก่ การรู้จักเข้าสังคม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร มีความยืดหยุ่นในการทำงาน มีความริเริ่มสิ่งใหม่ มีการพัฒนาตนเองแล้วยังหาความรู้รอบด้านอยู่เสมอ มีความเป็นผู้นำ เป็นต้น
- ทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
โดยปกติแล้วการปฏิบัติงานพิสูจน์หลักฐานจะต้องมีการคิดเชิงวิพากษ์ ตั้งแต่การตั้งข้อสงสัย การวิเคราะห์ พิจารณา สรุปผลได้อย่างมีเหตุผลและมีวิจารณญาณตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ร่วมด้วย
- ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยตำรวจพิสูจน์หลักฐานจะต้องมีความรอบรู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานพิสูจน์หลักฐานได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- ทักษะการวางแผนและบริหารจัดการ
ก่อนเริ่มปฏิบัติงานควรมีการวางแผนการทำงานก่อน วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการที่ดี เมื่อถึงเวลาในการปฏิบัติงานก็จะมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ
โดยอีกเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้เราอยากมาเป็นตํารวจพิสูจน์หลักฐานคือค่าตอบแทน หรือเงินเดือน โดยเงินเดือนตำรวจสายพิสูจน์หลักฐานในตอนเริ่มต้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- จบมาทำงาน (ประกอบด้วยฐานเงินเดือน 8,800 บาท ค่าครองชีพ 2,000 บาท และค่าเงินประจำตำแหน่งสาย สพฐ. 3,000 บาท) ได้รับเงินเดือนเริ่มต้น 13,800 บาท
- สอบติดแล้วติดยศทันที (ป.1 ชั้น 13.5) ได้รับเงินเดือนเริ่มต้น 8,800 บาท
นอกจากนี้เงินเดือนของตำรวจมีอัตราเงินเดือนตามระดับตำแหน่งและระดับชั้น ซึ่งมีเกณฑ์เงินเดือนข้าราชการตำรวจ สำหรับการพิจารณาลำดับขั้น ประเมินค่าตอบแทนการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามลำดับ โดยตำรวจสายพิสูจน์หลักฐานชั้นสัญญาบัตรสำหรับการบรรจุเข้ารับราชการจะได้รับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ
โดยตำรวจชั้นสัญญาบัตรมีอัตราเงินเดือนตามลำดับชั้นเริ่มต้นที่ ตำแหน่งร้อยตำรวจตรี–ร้อยตำรวจเอก ระดับ ส.1 มีเงินเดือน ตั้งแต่ 6,470 ไปจนถึง 38,750 บาท และยังมีเงินค่าตำแหน่งเพิ่มเติม เช่น ตํารวจอํานวยการพิสูจน์หลักฐานสายงานเฉพาะหรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะจะมีค่าตอบแทนประจำตำแหน่งต่อเดือน
ซึ่งถ้ารู้อย่างนี้แล้วรู้สึกว่าใช่ตัวเราเลย สามารถติดต่อสอบถามปรึกษาเราได้ ช่องทางติดต่อได้ที่เพจ
เฟซบุ๊ก GovEntrance Police-ติวสอบนายสอบตำรวจ รวมทั้งทาง Twitter และ LINE Official อีกด้วย
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้