เปิด วิธี รักษา โรค หัวใจ พร้อมการดูแล ป้องกันอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

Unyana

ขีดเขียนในตำนาน (756)
เด็กใหม่ (3)
เด็กใหม่ (0)
POST:1282
เมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 21.43 น.

                คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่ที่กำลังมองหาวิธีการรักษาโรคหัวใจ การดูแลป้องกันโรคหัวใจอย่างเหมาะสม ถ้าใช่แล้วล่ะก็ ขอแนะนำว่าเรื่องนี้ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จากโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน international hospital มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่พร้อมต่อการตรวจร่างกายที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีโปรแกรมตรวจสุขภาพประจําปีที่มีราคาเหมาะสม

สำหรับ โรคหัวใจ อาการ จะแตกต่างกันตามแต่ละประเภทและสาเหตุของโรคหัวใจ ดังต่อไปนี้

  • อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก รู้สึกอึดอัด เหมือนมีสิ่งกดทับกลางอก บางครั้งอาจปวดร้าวไปที่บริเวณอื่น ๆ อย่างแขน ไหล่ข้างซ้าย มีอาการเหนื่อยง่าย ลักษณะการหายใจเป็นแบบถี่ ๆ นอนราบไม่ค่อยได้ มีอาการหน้ามืดหมดสติ
  • อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Heart Arrhythmias) จะมีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนกัน โดยลักษณะการเต้นของหัวใจจะมีการเต้นสะดุด หรือเต้นเร็ว ๆ รัว ๆ (Heart Palpitations) หายใจถี่ (Shortness of breath) รู้สึกเหนื่อยง่าย (Dyspnea on exertion) บางครั้งมีอาการวิงเวียนศีรษะ (Lightheadedness) และเป็นลมร่วมด้วย
  • มาต่อกันด้วยอาการของโรคหัวใจที่เกิดจากหัวใจพิการแต่กำเนิด (Heart Defects) ซึ่งจะพบในทารกหลังคลอด ลักษณะผิวของทารกจะมีผิวซีดเป็นสีเทา สีเขียว มีอาการบวมบริเวณขา หน้าท้องหรือบริเวณรอบดวงตา ลักษณะอาการหายใจจะมีการหายใจเร็ว ถี่ ๆ ระหว่างที่แม่ให้นม ลักษณะนิ้วจะเป็นนิ้วปุ้ม หรือ Clubbing of finger

                นอกจากอาการข้างต้นแล้วก็มีอาการอื่น ๆ อีกด้วย รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคหัวใจ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งแต่ละโรคก็มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ในส่วน วิธี รักษา โรค หัวใจ จะแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ๆ คือการรักษาด้วยหัตถการหลอดเลือดหรือการผ่าตัด เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด การจี้หัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงโดยการใส่สายผ่านทางหลอดเลือด การขยายลิ้นหัวใจที่ตีบด้วยบอลลูน การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ การปิดกั้นผนังกั้นหัวใจที่รั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษผ่านทางหลอดเลือด การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม เป็นต้น การรักษาด้วยยาและการรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ซึ่งจะเป็นวิธีการรักษาที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีวิชาชีพเฉพาะ เน้นการออกกำลังกาย การทำกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น มีโปรแกรมการฟื้นฟูที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน มีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมตามความสามารถของผู้ป่วยที่มากขึ้น มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย

                จะเห็นได้ว่าการรักษา การดูแลและการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและภาวะแทรกซ้อนได้ จึงควรตรวจสุขภาพและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหากมีอาการ

            สามารถชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหัวใจได้ที่ https://www.medparkhospital.com/content/heart-disease

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา