คุณสมบัติแรกของนักเขียนคือ “ความอยาก” 1/1

ผิงดาว

ขีดเขียนฝึกหัด (72)
เด็กใหม่ (2)
เด็กใหม่ (0)
POST:42
เมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559 05.58 น.

1.

เขียนเล่นๆ ให้เป็นเล่ม :

คุณสมบัติแรกของนักเขียนคือ “ความอยาก”

1/1

เชื่อว่าหลายคนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ มักจะมีความฝันอยู่ลึกๆ ว่า “ซักวันหนึ่งฉันจะเขียนหนังสือให้ได้ซักเล่ม” หรือ “ฉันอยากจะเขียนหนังสือให้ได้แบบนี้” แต่ทั้งสองประโยคที่กล่าวมาขั้นต้นนั้นมักจะตามมาด้วยคำถามว่า “แล้วฉันจะเริ่มต้นอย่างไรดี?” ใช่ไหม บทความที่ผู้เขียนเขียนขึ้นนี้เป็นการเขียนที่เรียกว่า “แชร์ประสบการณ์” มากกว่า “สอน” เพราะอันที่จริงผู้เขียนเองก็ไม่ได้เขียนหนังสือเก่งอะไรหรือมีชื่อเสียอะไรนัก เพียงแต่อยากเขียนเพื่อ  “แชร์ประสบการณ์” ให้กับผู้เริ่มต้น ผู้ที่ไม่รู้ และผู้ที่อยากรู้ ส่วน “ผู้” ที่อยู่นอกเหนือจากนี้คงไม่จำเป็นต้องอ่านแล้ว

โดยเบื้องต้นนี้ผู้เขียนจะเขียนตั้งแต่แรกเริ่มเลยคือ “คุณสมบัติของนักเขียน” จะเขียนแบบไม่วิชาการเกินไปนัก โดยจะสอดแทรกเนื้อหาสาระพื้นฐานของการเขียน พื้นฐานของนักเขียน ตลอดไปจนถึงการส่งงานเขียนของเราไปให้บรรณาธิการนิตยสารต่างๆ รวมถึงสำนักพิมพ์พิจารณาด้วย โดยเฉพาะอย่ายิ่งในยุคดิจิตอลด้วยแล้ว งานเขียนไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ตีพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่มเท่านั้น หากแต่ยังมีทางเลือกอีกทางหนึ่งที่เราจะสามารถส่ง “สาร” (งานเขียน) ของเราไปสู่กลุ่มผู้อ่านได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น แน่นอนมันย่อมเป็นอะไรไปไม่ได้นอกเสียจากการทำ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า E-Books  ซึ่งผู้เขียนจะเขียนเป็นลำดับตามขั้นตอนต่อไป

                แรกเริ่มเลยหลายคนคงสงสัยว่า การจะเป็นนักเขียนนั้นจะต้องมี “คุณสมบัติอะไรบ้าง?” แน่นอนการจะทำอะไรก็ตามย่อมจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “คุณสมบัติขั้นพื้นฐาน” เป็นองค์ประกอบอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นนักจิตกร นักออกแบบ นักแสดง ฯลฯ ก็ย่อมมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐานที่แตกต่างกันไป เพราะถ้าหากเราไม่มีคุณสมบัติพื้นฐานของสิ่งที่เราสนใจอยากจะทำแล้ว ก็ย่อมจะทำไม่สำเร็จหรือสำเร็จยาก ถึงที่สุดก็อาจจะถอดใจหรือล้มเลิกเอาดื้อๆ เลยก็ได้ แล้ว “คุณสมบัติของนักเขียน” ละมันจะต้องมีอะไรบ้าง? เราลองมาสำรวจตัวเองก่อนดีไหมว่าเรามีหรือขาดคุณสมบัติของนักเขียนข้อใดบ้าง

งาน เขียนนั้นเป็นศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ เราต้องเรียนรู้สองสิ่งนี้ไปควบคู่กันหรือเรียกกันภาษาชาวบ้านก็ต้องว่า งานเขียนมันเป็นทั้งพรสวรรค์และพรแสวง พรสวรรค์นั้นมาจากความชื่นชอบและความสนใจส่วนตัวเป็นทุนเดิม พรแสวงนั้น มาจากการพยายามฝึกฝน คิด วิเคราะห์ แล้วจับจุดเด่น-ด้อยในงานเขียนของบุคคลอื่นฯลฯ ทว่านอกจากสองสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้น พื้นฐานสำคัญของการเขียนหนังสือคือ “การอ่าน” ยิ่งเราอ่านมากเท่าไร เราก็สามารถที่จะเขียนได้ดีมากเท่านั้น และเมื่อเรา “อ่าน” มากจนถึงระดับหนึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ “ความอยากเขียน”...

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา