“ การขายหุ้น77 วิ IPO ปตท. 2544 กับ 3 คำถามที่สังคมสงสัย ”

hanasangg

ขีดเขียนเต็มตัว (157)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:155
เมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 17.06 น.

การขายหุ้น IPO ปตท. ปี2544

ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ได้มีการจัดจำหน่ายหุ้น บมจ. ปตท. หลังจากที่แปรสภาพมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน 920,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200,000,000 บาท ซึ่งมีประเด็นในกระบวนการจัดจำหน่ายหุ้น ปตท. ที่ถูกโจมตีมากมาตลอด มีอยู่ 3 ประเด็น ดังนี้

ราคาที่ขาย หุ้นละ 35 บาทนั้น เป็นราคาที่ถูกเกินไป

ในการจองซื้อ ในส่วนที่ขายให้ประชาชนทั่วไปนั้น ขายหมดใน 1 นาที 17 วินาที มีประชาชนไปเข้าแถวแล้วจองไม่ได้เป็นจำนวนมากในรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรร มีรายชื่อของผู้ที่เป็นนักการเมือง และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นญาติ เป็นพรรคพวกกับผู้มีอำนาจอยู่หลายคน

สาเหตุที่ ปตท. เข้าระดมทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ในปี 2544 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยยังไม่ฟื้นจากวิกฤตดี โดยเฉพาะตลาดทุน ตลาดหุ้น ต้นปี 2544 ดัชนี SET Index ตกต่ำอย่างมาก อยู่ที่ 304 โดยดัชนี SET เคยสูงสุดอยู่ที่ 1,700 ในปี 2536 ต่อมาปี2539 ดัชนีลงมาอยู่ที่ 832 และสิ้นปี2540 หลังวิกฤติเศรษฐกิจ ก็ตกลงมาอยู่ที่ 400 มาตลอด ซึ่งปี 2544 ก่อนการขายหุ้นนั้น ปตท. มีวอลุ่มเฉลี่ยแค่ วันละ 5,000 ล้านบาท ในขณะที่ Market Cap 1.5 ล้านๆบาท ปัจจุบัน SET Index อยู่ที่ 1,365 มีวอลลุ่มซื้อขายวันละ 30,000 ล้านบาท และ Market Cap 12 ล้านๆบาท

ในปี 2541 KBANK SCB และ BBL ได้มีการเสนอขายหุ้น IPO เพิ่มทุน เพื่อแก้ปัญาวิกฤติในขณะนั้น รวม 110,000 ล้าน หลังจากนั้นหุ้นก็ตกลง ผู้จองซึ่งส่วนใหญ่เป็นต่างประเทศต่างขาดทุนกันถ้วนหน้า ทำให้หุ้นเพิ่มทุนรวมทั้ง IPO ของตัวอื่นๆ แทบจะขายไม่ได้เลย ซึ่งผู้จองซื้อหุ้น ในช่วงเวลานั้นต่างขาดทุนจากการจองซื้อหุ้นกันตลอดมา โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ

กลต.เคยบังคับให้แบ่งส่วนการจองซื้อหุ้น IPO 30% แก่บุคคลทั่วไป ปรากฎว่า เคยเปิดการจองหุ้น IPO ที่ศูนย์สิริกิตทั้งวัน มีคนมาจองไม่กี่สิบคน กลต.ต้องยกเลิกกฎดังกล่าวไป

ทำไมต้องจำหน่ายหุ้น ปตท.ในช่วงเวลานั้นด้วย

  • ปตท. ต้องการเงินทุน เพื่อไปแก้ไขปรับสถานะการเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย
  • ปตท. มีโอกาสที่จะได้ลงทุนในอุตสาหกรรมการกลั่น และปิโตรเคมีที่บอบช้ำหนัก หลังวิกฤติ ทำให้ราคาถูก อีกทั้งรัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบประมาณมาให้ได้ กับทั้ง
  • รัฐบาลหวังว่า การจำหน่ายหุ้น IPO ปตท.ที่มีขนาดใหญ่ จะปลุกความสนใจในตลาดหุ้นไทยให้กลับมาได้

 

ช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2544 เริ่มมีการออกข่าวว่า ปตท.จะเข้าตลาดฯ โดยมีผู้ร่วมจัดการจำหน่ายหุ้น ได้แก่ 3 บริษัทไทย คือ บล.ภัทร บล.ไทยพาณิชย์ และ บล.ทิสโก้ และ อีก 3 Investment Bank ระดับโลก คือ CSFB. Lehman Brothers และ Merrill Lynch เริ่มออก Research จนดัชนี SET Index ปรับตัวกว่า 10% จาก 300 ในช่วงต้นเดือนสิงหา ปี 2544 มาที่ 340 ในช่วงต้นเดือนกันยายน ปี 2544

 

แต่วันที่ 11 กันยา (9/11) ก็เกิดเหตุการณ์ตึกเวลเทรดถล่ม ตลาดหุ้นตกต่ำทั่วโลก ดัชนี SET Index ลงไปที่ 280 ในวันที่ 8 ตุลาคม ได้มีการทดสอบตลาด เพื่อประเมินความต้องการเบื้องต้น

วิธีการทดสอบตลาด

สถาบันไทย และนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ (เป้าหมายใหญ่สุด) การทดสอบตลาดสำหรับนักลงทุนสถาบันนั้น เรียกว่า Pre-deal marketing ซึ่งก็คือกระบวนการ ที่นักวิเคราะห์ออกไปให้ข้อมูลนักลงทุนสถาบัน ไปเชิญชวนให้สนใจศึกษา สนใจลงทุน พร้อมกับเก็บ feedback เลยว่า ราคาเท่าไหร่ถึงจะยอมลงทุน ดังนั้น Research Analyst ของทั้ง 6 แห่ง (บล.ภัทร บล.ไทยพาณิชย์ บล.ทิสโก้ CSFB. Lehman Brothers และ Merrill Lynch) จะออกไปพบนักลงทุนสถาบันทั่วโลก เพื่อรวบรวมความสนใจ ตลอดไปจนถึงการหาช่วงราคาที่เหมาะสม

ลูกค้าบุคคลที่ซื้อขายหุ้นอยู่แล้ว จะให้ Underwriter ไทยทั้ง 3 แห่ง (บล.ภัทร บล.ไทยพาณิชย์ บล.ทิสโก้) ทำการสำรวจความเห็น

ประชาชนทั่วไปที่มีเงินออมซึ่งปกติไม่ได้เล่นหุ้นจะ ให้ธนาคารสองแห่ง (กรุงไทย กับ ไทยพาณิชย์) ทำการสำรวจความเห็นจากลูกค้าเงินฝากกว่า 5,000 ราย

หลักการ และเป้าประสงค์ในการจัดจำหน่ายหุ้น โดยเฉพาะ IPO

ต้องขายให้หมด

ต้องให้ได้ราคาที่เหมาะสม ราคาไม่ควรจะต่ำไป หรือสูงไป

ต้องให้มีเสถียรภาพของราคาหลังจากเข้าซื้อขาย หลังจากหุ้นเข้าตลาดแล้วจะมีจุดสมดุลราคาประมาณ 5-10% เหนือราคาจอง และมีเสถียรภาพ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐาน หรือ สภาพตลาด

มีการกระจายที่เหมาะสม แก่นักลงทุนทั้ง 4 กลุ่ม

สาเหตุที่ ทางปตท.และรัฐบาล ก็ตัดสินใจจำหน่ายหุ้น IPO ในราคาหุ้นละ 35 บาทในวันที่ 8 ตุลาคม 2544

เรื่องแรก ช่วงราคาที่จะเสนอขาย ซึ่งได้มีการใช้ทุกวิธีที่จะวิเคราะห์เพื่อให้ได้ราคาดีที่สุด ที่ผู้ซื้อจะยอมรับได้ ทั้การใช้ Discounted Cashflow Model และ Capital Asset Pricing Model อื่นๆ รวมทั้ง การเปรียบเทียบ กับราคาหุ้นอื่น ทั้งในตลาดไทย กับ อุตสาหกรรมเดียวกัน ใน ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) อื่นๆ เช่น Sinopec, CNOOC, Petro China, Petronas

ช่วงราคาที่ตกลงกำหนดก็คือ 29-35 บาทต่อหุ้น โดยปี 2543 ปตท.มีกำไร แค่ หมื่นล้านบาทเศษๆ ยังมีปัญหาบริษัทในเครืออีกเยอะ หากพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูล SET Index ตอนที่จำหน่ายหุ้น IPO อยู่ที่ 280 แต่ปัจจุบันดัชนี SET index อยู่ที่ 1,365 สูงขึ้นเท่ากับ 14.1% ต่อปี ถ้าหุ้นซื้อปตท. ราคา 35 บาท ปัจจุบันราคาหุ้นละ 300 บาท ได้ผลตอบแทนเท่ากับ 19.1% ต่อปี

 

วิธีการกำหนดราคาหุ้น IPO ของปตท. ในขณะนั้น เป็นวิธีการที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามมาตรฐานตลาดทุนโลก ราคาขายสุดท้ายถูกกำหนดจากกระบวนการ Bookbuilding

เรื่องที่สอง การแบ่งจำนวนตาม Tranches ต่างๆ และการกำหนดวิธีการจองหุ้น IPO ของบุคคลไทย ที่ได้จากการสำรวจความเห็น มีดังนี้

  1. สถาบันไทย…กำหนดว่าจะขาย 10% 92 ล้านหุ้น เนื่องจากขนาดนักลงทุนสถาบันไทย ซึ่งได้แก่ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนประกันสังคม ประกันชีวิต โดยรวมในเวลานั้นยังมีขนาดเล็ก
  2. นักลงทุนบุคคลแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
  3. พวกที่เป็นนักลงทุนในตลาดอยู่แล้ว (นักเล่นหุ้น) กำหนดไว้ 170 ล้านหุ้น โดย 50 ล้านหุ้นเป็นส่วนที่ทางปตท. จะเป็นผู้จัดสรรให้กับผู้มีอุปการะคุณ ซึ่งได้แก่ คู่ค้า พวกเอเย่นต์ ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ ซึ่งก็เป็นไปตามกฎที่ กลต.กำหนดไว้ทุกประการ ส่วน 120 ล้านหุ้นเป็นส่วนที่บริษัทหลักทรัพย์กว่าสิบแห่งจะได้รับไปจัดสรรให้ลูกค้าของตนได้ ซึ่งเป็นไปตามวิธีการจัดจำหน่ายทั่วไป
  4. นักลงทุนบุคคลที่ให้จองผ่านสาขาธนาคาร 5 ธนาคาร กำหนดไว้เริ่มต้นที่ 200 ล้านหุ้น โดยใช้วิธี First Come First Serve คือ ใครมาลงชื่อจ่ายเงินก่อนได้รับจัดสรรก่อน พอจองหมดก็จะหยุดรับจอง แต่อาจจัดสรรให้เพิ่มอีก 130ล้านหุ้นได้ ในกรณีที่มีการจำนวนการจองมาก และพิจารณาแล้วว่าการจองมีคุณภาพ จะรับจองไปจนถึง 350 ล้านหุ้น
  5. นักลงทุนสถาบันต่างประเทศ เป็นเป้าหมายใหญ่ที่สุด ส่วนที่จะขายต่างประเทศ จะเป็นส่วนที่ใช้กำหนดราคา ที่เรียกว่าเป็นวิธี Book-building ซึ่งก็คือ การรวบรวมอุปสงค์ในระดับราคาต่างๆกัน เป็น informal auction นั่นเอง (รวบรวมราคาที่นักลงทุนสถาบันอยากซื้อ มาเป็นข้อมูล) ซึ่งการรวบรวมอุปสงค์นี้จะทำควบคู่กันไปกับการ Roadshow และเก็บอุปสงค์ของสถาบันไทย ส่วนลูกค้าบุคคลธรรมดาจะเป็น Price Taker คือ จ่ายเงินมาที่ราคาสูงสุดก่อน (หุ้นละ 35 บาท) ถ้า Final Price ตำ่กว่านั้นจะคืนเงินให้บางส่วน

ส่วนต่างประเทศนี้ กำหนดไว้ประมาณครึ่งหนึ่ง 450 ล้านหุ้น แต่ถ้าจำเป็น ก็สามารถเพิ่มได้ไปถึง 600 ล้านหุ้น ในกรณีที่อุปสงค์ในประเทศมีไม่พอ โดยเฉพาะจาก Tranche 2.2 ที่กลัวว่าจะไม่มีคนจองซื้อ // แต่ขณะเดียวกัน ก็สามารถลดลงไปได้ ถ้าอุปสงค์ในประเทศแข็งแรง ส่วนที่ย้ายไปมาได้ประมาณ 15% นี้ เรียกว่า Claw-back Portion

ในวันที่ 29 ตุลา – 16 พย.2544 เป็นช่วงที่ออก Roadshow ทีมในประเทศนำโดยคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เสนอการขายต่อลูกค้าเงินฝากธนาคาร ส่วนทีมใหญ่ ที่ประกอบด้วย ผู้ว่าวิเศษ จูภิบาล CFO พิชัย ชุณหวชิร และ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ เลขาฯกรรมการนโยบายพลังงาน เดินทางทั่วโลก เริ่มที่ Singapore. Hong Kong. London. Edinburgh. Frankfurt. Paris. Boston. San Francisco. LA. แล้วมาจบกำหนดราคาที่ NEW YORK ในวันที่16 พย. 2544

ในวันที่12 พย. ก่อนถึงกำหนดการจองซื้อของลูกค้ากลุ่ม Tranche 2.2 ที่ผ่านสาขาของธนาคารทั้ง 5 ธนาคาร ได้มีขอลดจำนวนสูงสุดที่แต่ละคนจองได้ลง จากคนละสามแสนหุ้น ลงเหลือแสนเดียว เนื่องจากมีความต้องหุ้นเป็นจำนวนมาก และพอเปิดจอง ก็เป็นดังคาด สาขากว่า 10,000 ของธนาคารทั้ง 5 ส่วนใหญ่ลูกค้าแต่ละคนจองเต็ม 100,000 หุ้น ซึ่งพอเปิดจอง ได้ 1 นาที 17 วินาที ก็ครบ 200,000,000 หุ้น (สองร้อยล้านหุ้น) จึงเปิดการจองหุ้นอีกรอบ พอครบ 350,000,000 หุ้น (สามร้อยห้าสิบล้านหุ้น) จึงหยุดการจอง

การที่มีนักการเมืองจองซื้อได้คนละเป็นจำนวนมากๆ ซึ่งอยู่ในลูกค้ากลุ่ม Tranche 2.1.เนื่องจากในเมืองไทย คนมีเงินมีกระจุกมือเดียว รายชื่อจึงซ้ำไปมาไม่กี่ตระกูล แต่ก็ไม่มีรายใดที่ถูกห้ามซื้อตามกฎหมาย

จากความสำเร็จในการ Roadshow ทุก Tranche มีคนจองเป็นจำนวนมาก ส่วน ตปท. มีอุปสงค์ถึง 2,000,000,000 หุ้น (สองพันล้านหุ้น) ดังนั้นจึงกำหนดที่ราคาสูงสุดของ Price Range คือ 35 บาทต่อหุ้น ในที่สุดทางกท.อุตสาหกรรม ก็ให้ต่างชาติแค่ 330 ล้านหุ้นคิดเป็น 36% และให้ Tranche ธนาคาร 330 ล้านหุ้นเท่ากัน

 

สามารถติดตามข่าวสารพลังงานประเทศไทยได้ที่ www.รู้จริงพลังงานไทย.com/การขายหุ้น-ipo-ปตท-2544-กับ-3-คำถา/

หรือ http://samtahantoptt.blogspot.com/

 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา