ประเทศไทยขยับอันดับขึ้นในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS: เอเชียครั้งใหม่
ลอนดอน--14 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
4 สถาบันจาก 6 สถาบันการศึกษาอันดับต้นๆ ของประเทศไทยขยับอันดับขึ้นในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS: เอเชียครั้งล่าสุด
ซึ่งเผยแพร่ที่: www.TopUniversities.com
โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130909/638188
Mahidol University ยังคงเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ โดยในปีนี้ขยับขึ้น 2 อันดับมาอยู่อันดับที่ 40 Chulalongkorn University ยังคงรั้งอันดับที่ 48 เหมือนเช่นปี 2556 ในขณะที่ Chiang Mai University ขยับขึ้น 6 อันดับมาอยู่อันดับที่ 92 Prince of Songkla University (อันดับที่ 142) และ Kasetsart University (อันดับที่ 151-160) ก็ขยับอันดับขึ้นจากปี 2556 เช่นกัน
มีมหาวิทยาลัยของไทยทั้งสิ้น 10 แห่งที่ติด 300 อันดับแรก นับว่าเป็นอันดับที่ 7 ในเอเชียเท่ากับปากีสถาน และมีมหาวิทยาลัยติดอันดับมากกว่าอินโดนีเซียหนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยของไทยในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยQSประจำปี 2557
“สถาบันการศึกษาของไทยได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากนักวิชาการและเจ้าหน้าที่จากทั่วทั้งภูมิภาคนี้” เบน ซอว์เตอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ QS กล่าว “ความท้าทายในปัจจุบันนี้คือ การเพิ่มทั้งคุณภาพและปริมาณของงานวิจัย การลดอัตราส่วนระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ และการเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมกับนานาชาติให้มากยิ่งขึ้น”
การจัดอันดับนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนถ่ายดุลอำนาจในภูมิภาคนี้โดยรวม โดยที่สิงคโปร์และเกาหลีเข้ามาแย่งชิงอันดับจากญี่ปุ่นและฮ่องกงที่เป็นแชมป์เก่า National University of Singapore (NUS) ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 เป็นครั้งแรก ในขณะที่ Nanyang Technological University (NTU) ขยับขึ้น 3 อันดับมาอยู่อันดับที่ 7 มหาวิทยาลัย KAIST ของเกาหลีกระโดดขึ้นจากอันดับที่ 6 มาเป็นอันดับที่ 2 ในขณะที่ Seoul National University (อันดับที่ 4) และ Postech (อันดับที่ 9) ก็ติด 10 อันดับแรกด้วยเช่นกัน
ชมการจัดอันดับทั้ง 300 อันดับได้ที่www.Top Universities.com
Hong Kong University of Science and Technology สถานบันการศึกษาอันดับ 1 เมื่อปีที่แล้ว ตกลงไปอยู่อันดับ 5 Hong Kong University ซึ่งอยู่อันดับที่ 1 เมื่อปี 2554 ตกไปหนึ่งอันดับไปอยู่อันดับที่ 3 ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยของฮ่องกงไม่ได้เป็นเบอร์ 1 ส่วน University of Tokyo ของญี่ปุ่นร่วงลงไปอยู่อันดับ 10 ซึ่งเป็นอันดับต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดอันดับมา
ส่วนจีนมี 13 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 20 แห่งที่ขยับอันดับขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกับเกาหลี แม้ว่า Peking University จะตกลงไป 3 อันดับไปอยู่อันดับที่ 8 ก็ตาม ในทางกลับกัน 13 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 20 แห่งของญี่ปุ่นกลับร่วงลงกว่าปีที่แล้ว
โดยที่ University of Tokyo ร่วงลงไปอยู่อันดับ 10 ซึ่งเป็นอันดับต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดอันดับมา
“ผลพวงจากวิกฤตทางการเงินทำให้ญี่ปุ่นวิ่งตามความก้าวหน้าของสิงคโปร์ เกาหลี ฮ่องกง และจีนได้ลำบากขึ้น” ซอว์เตอร์กล่าว
“การจัดอันดับนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าสิงคโปร์และเกาหลีกำลังเผยโฉมเป็นผู้เล่นคนสำคัญในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นการเชือดเฉือนกับเจ้าถิ่นอย่างฮ่องกงและญี่ปุ่น” ซอว์เตอร์กล่าว “ทั้ง NUS และ KAIST ต่างได้รับผลพลอยได้จากการลงทุนครั้งใหญ่ของรัฐบาลในการวิจัย ในขณะที่การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษก็ช่วยให้ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในระดับสากลมากยิ่งขึ้น”
ในปัจจุบันนี้ NUS และ NTU ได้รับประโยชน์จากแผนการลงทุนจากรัฐบาลมูลค่า 16.1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในขณะที่เกาหลีกำลังทุ่มเงินจำนวน 3.6% ของ GDP ภายในประเทศไปกับการวิจัยและการพัฒนา ซึ่งสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ใน OECD
หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ
QS Quacquarelli Symonds
นับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา QS มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในฐานะเครือข่ายชั้นนำของโลกในด้านอาชีพและการศึกษาระดับสูง การจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกโดย QS (QS World University Rankings(R)) การวิจัยอันเป็นนวัตกรรมใหม่ การจัดงานอีเวนท์ การตีพิมพ์
เผยแพร่ และโซลูชั่นต่างๆ สำหรับมหาวิทยาลัยโดย QS เป็นหนทางใหม่ๆ ที่ช่วยให้มหาวิทยาลัยได้ติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาที่ดีที่สุดและเก่งที่สุดจากทั่วทุกมุมโลก
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS: เอเชีย
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS: เอเชียตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2552 โดยมีการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกปีและจัดอันดับ
มหาวิทยาลัยในเอเชีย
สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS: เอเชียประจำปี 2557 ได้มีการพิจารณาผู้ตอบแบบสำรวจดังต่อไปนี้
การสำรวจทางวิชาการ
ผู้ตอบแบบสำรวจ 8,259 คน: นักวิชาการในเอเชีย
ผู้ตอบแบบสำรวจ 35,111 คน: นักวิชาการนานาชาติที่มีความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในเอเชีย
รวมผู้ตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น: 43,370 คน
การสำรวจนายจ้าง
ผู้ตอบแบบสำรวจ 4,658 คน: นายจ้างในเอเชีย
ผู้ตอบแบบสำรวจ 3,345 คน: นายจ้างนานาชาติที่มีความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในเอเชีย
รวมผู้ตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น: 8,003 คน
ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS: เอเชียครั้งที่ 6 นี้ มีการประเมินสถานบันการศึกษา 491 แห่ง มีการจัดอันดับ 474 อันดับใน 18 ประเทศและมีการตีพิมพ์เผยแพร่จำนวน 300 แห่ง
ขอบคุณค่ะ..
http://www.livevoz.com ธรรมชาติ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับธรรมชาติ
http://www.kostoom.com เคล็ดลับเรื่องอาหาร
http://www.nile2day.com] คล็ดลับความงาม
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้