เรื่องน่ารู้ในการทานแคลเซียมบำรุงข้อเข่าให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

GUEST1660817967

ขีดเขียนเต็มตัว (150)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:144
เมื่อ 5 กันยายน พ.ศ. 2567 16.47 น.

 

             โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า ทั้งรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อ และกระดูกบริเวณใกล้ข้อมีการสึกหรอ และเสื่อมลงตามอายุ เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกจึงมีการชนกันขณะรับน้ำหนัก จึงทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด โดยจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ หัวเข่าก็จะผิดรูป และไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ถึงแม้ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่าแต่ผู้มีอายุน้อยก็มีสิทธิและโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้เหมือนกันหากดูแลตนเองไม่ดี  ดังนั้นทางที่ดีคือหาทางป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า โดยวิธีป้องกันสามารถทำได้หลายวิธีหนึ่งในนั้นคือการเลือกทานอาหาร หรืออาหารเสริมที่เป็นแคลเซียมบำรุงข้อเข่า โดยอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยทำให้กระดูกและข้อแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูกได้อีกด้วยค่ะ

 

สารอาหารที่สำคัญในการบำรุงข้อเข่า

  1. แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูก
  2. วิตามิน D ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและส่งเสริมสุขภาพกระดูก
  3. วิตามิน C สำคัญสำหรับการสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกและกระดูกอ่อน
  4. โอเมก้า-3 ช่วยลดการอักเสบในข้อ
  5. กลูโคซามีน และคอนดรอยติน เป็นสารอาหารเสริมที่มีคนใช้เพื่อบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อมและบำรุงข้อต่อ

การเลือกรับประทานแคลเซียม

  • แหล่งที่มาของแคลเซียม นมและผลิตภัณฑ์จากนม, ผักใบเขียว เช่น คะน้า บร็อคโคลี และอาหารที่เสริมแคลเซียม เช่น น้ำผลไม้ และธัญพืช
  • การเสริมแคลเซียม ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้แคลเซียมเสริม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกประเภทและปริมาณที่เหมาะสม

ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้ได้รับแต่ละวันขึ้นอยู่กับอายุและเพศ

  • เด็กและวัยรุ่น ควรได้รับระหว่าง 700 ถึง 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้ใหญ่ ประทานประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน และผู้หญิงที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ชายที่อายุมากกว่า 70 ปีควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร จะมีความต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้น ควรปรึกษาจากแพทย์ผู้เขี่ยวชาญเกี่ยวกับปริมาณที่ควรได้รับแคลเซียมที่เหมาะสม

           

             ทั้งนี้ในการดูแลสุขภาพข้อเข่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรับประทานแคลเซียมบำรุงข้อเข่าเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการรักษาน้ำหนักให้เหมาะสม, การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็ว นอกเหนือจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้แล้วอย่าลืมที่จะต้องดูปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันตามช่วงอายุด้วย เพราะหากทานมากเกินไป หรือร่างกายได้รับมากเกินความจำเป็นอาจจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ เช่น การเกิดนิ่วในไต และส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจและกล้ามเนื้อได้ค่ะ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.cal-t.com/ผลิตภัณฑ์แคล-ที/แคลเซียมบำรุงข้อเข่า/

#แคลเซียมบำรุงข้อเข่า

แก้ไขครั้งที่ 5 โดย GUEST1660817967 เมื่อ5 กันยายน พ.ศ. 2567 16.49 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา