ข้อมูลสำคัญเบื้องต้นที่ควรรู้หากคิดจะเปิดร้านยาเวชภัณฑ์

GUEST1660817967

ขีดเขียนเต็มตัว (151)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:144
เมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 16.52 น.

ร้านขายยา หรือร้านเวชภัณฑ์ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันมาเป็นอย่างดี เวลาเจ็บป่วย หรือเป็นไข้ เล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถหาซื้อยามาทานได้ โดยที่ไม่ต้องไปโรงพยาบาล แต่หากทานยาแล้วไม่หายจึงค่อยไปคลินิก หรือไปหาหมอที่โรงพยาบาลแทน ซึ่งการไปหาหมอที่โรงพยาบาล หรือที่คลินิกนั้น หากไม่ใช่โรงบาลเอกชลก็จะต้องรอคิวค่อนข้างนาน ดังนั้นการมีร้านเวชภัณฑ์อยู่ตามชุมชนจึงเป็นสิ่งที่ดี และตอบโจทย์กับผู้อยู่อาศัยแถวๆ นั้น เพราะช่วยประหยัดทั้งเวลา และเงิน ให้กับผู้ป่วยได้เยอะ ปัจจุบันร้านเวชภัณฑ์ในชุมชนล้วนได้รับการตอบรับที่ดีมาก จึงทำให้หลาย ๆ คนหันมาสนใจธุรกิจประเภทนี้กันมากขึ้น ดังนั้นเราจึงได้จัดทำข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาในการลงทุนเปิดร้านขายยาเบื้องต้นเอามาฝาก เพื่อเป็นแนวทางให้กับคนที่สนใจจะทำธุรกิจนี้กันว่าแล้วก็ตามมาดูกันเลยค่ะ

  1. ร้านขายยาเปิดโดยเภสัชกร

การเปิดร้านขายยาโดยที่ผู้ประกอบการเป็นเภสัชกร จะมีข้อได้เปรียบอย่างมากทั้งในเรื่องความรู้เรื่องยาและความพร้อมในการดูแลร้าน เพราะไม่ต้องไปจ้างเภสัชกร เพื่อมาประจำร้าน ในทางกฎหมายการเปิดร้านขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๖ ต้องมีเภสัชกรปฏิบัติหน้าที่ในร้าน จะเปิดร้านขายยาไม่มีเภสัชไม่ได้ ดังนั้นเมื่อมีความพร้อมในด้านบุคลากรแล้วก็เตรียมพร้อมในส่วนของเงินทุนและทำเลได้เลย

  1. เปิดร้านขายยาบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้จบเภสัช

สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบร้านขายยาเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้จบทางด้านเภสัชกรมาโดยตรง ก็สามารถที่จะทำธุรกิจร้านขายยานี้ได้เช่นกัน แต่ต้องทำให้ถูกต้องระเบียบ และกฎหมาย คือจะต้องมีเภสัชกรประจำร้าน มีงบประมาณและทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจร้านขายยาโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเรียนจบหมอ จบเภสัชฯ ได้ค่ะ

ขั้นตอนการขออนุญาตเปิดร้านเวชภัณฑ์

  • จดทะเบียนพาณิชย์ให้เรียบร้อย สำหรับกรุงเทพฯ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือสำนักงานเขตทุกพื้นที่ สำหรับต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ที่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลใกล้บ้าน
  • จัดเตรียมเอกสารให้พร้อมและนำไปยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด

เมื่อจัดทำการจดทะเบียนร้านขายเวชภัณฑ์เสร็จแล้วก็ต้องเตรียมตัวทำสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้เพื่อที่จะเปิดร้านขายยา

  1. อันดับแรกเลย คือต้องเตรียมเงินทุนให้พร้อม งบประมาณในการลุงทุนเปิดร้านขายยาและค่าใช้จ่ายอื่นๆประมาณ 2 – 3 แสนบาท ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน ทำเลที่ตั้ง แต่จำนวนยาและอาหารเสริมที่วางขายมากน้อยเพียงใด
  2. หาทำเลที่ตั้งเหมาะสม ดูตำแหน่งที่จะเปิดร้านขายยาที่มีคนผ่านไปมาจำนวนมาก ย่านชุมชน มีผู้คนพลุกพล่าน ศึกษาร้านคู่แข่งในระยะใกล้เคียง
  3. ในกรณีที่คุณไม่ได้เป็นเภสัชกรเองจำเป็นจะต้องจ้างเภสัชกรเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายในการดำเนินธุรกิจร้านขายยาจะต้องมีเภสัชกรประจำร้าน
  4. หาข้อมูลเกี่ยวกับตัวแทนจำหน่ายยาหรือดีลเลอร์ที่ไว้ใจได้ ก่อนตัดสินใจซื้อยาจากตัวแทนจำหน่ายให้ติดต่อจากหลายๆ รายเพื่อเปรียบเทียบข้อเสนอขอแต่ละราย อย่าหลงเชื่อคำโน้มน้าวหรือการเชียร์ขายจนเกินไป เพราะอาจได้สินค้าไม่ตรงตามความต้องการ

เนื่องจากร้านขายยา เป็นธุรกิจที่มีกฎหมายควบคุม ดังนั้น หากใครต้องการเปิดร้านเวชภัณฑ์ หรือร้านขายยาต้องขอใบอนุญาตขายยาก่อน และผู้ขอใบอนุญาตจะต้องมีเภสัชกรที่มีใบประกอบโรคศิลปะเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการด้วย ส่วนการดำเนินกิจการสามารถทำในนามบุคคลธรรมดาได้ หรือจะ จดบริษัทร้านขายยา เป็นนิติบุคคลก็ได้เช่นกัน ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบมีเงื่อนไขและข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของ กิจการว่าแบบไหนเหมาะกับตัวของผู้ขายมากที่สุดค่ะ

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับร้านเวชภัณฑ์ได้ที่ : www.klungyaminburi.com/ร้านขายอุปกรณ์การแพทย์-เวชภัณฑ์

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา