9 ชนิดของฟิล์มติดกระจกบ้าน อาคาร คอนโด ที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อ
เวลาที่ทำการจ้างบริษัทรับติดฟิล์มกระจกบ้าน อาคาร จะดูเหมือนเป็นงานตกแต่งภายในที่ไม่ยุ่งยาก แต่ว่างานชนิดนี้มีความละเอียดอ่อน ทั้งในเรื่องของแสงแดด ตำแหน่งของกระจก ความเข้มของฟิล์มและการเลือกชนิดของฟิล์มติดกระจกบ้าน สำหรับคนที่กำลังวางแผนติดฟิล์มกระจกบ้านก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ เราจึงมี 9 ชนิดของฟิล์มติดกระจกบ้าน อาคาร คอนโด มาแนะนำ ครับ
9 ชนิดของฟิล์มติดกระจกบ้าน อาคาร คอนโด
ฟิล์มติดกระจกบ้าน อาคาร และคอนโด เป็นฟิล์มกรองแสงที่ช่วยป้องกันแสงแดด และกันความร้อนให้กับตัวบ้านตัวอาคาร มีด้วยกันหลากหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติข้อดี ข้อด้อย และเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ฟิล์มดำธรรมดา
ฟิล์มดำธรรมดา เป็นฟิล์มกรองแสงย้อมสีในเนื้อกาว ความเข้ม 40 % 60 % 80 % สามารถลดความร้อนภายในบ้านได้ดี ความเข้มของฟิล์มจะช่วยกรองแสงให้คนภายในสามารถมองออกภายนอกได้สบายตา คนภายนอกไม่สามารถมองเข้ามาภายในได้ เหมาะสำหรับความเป็นส่วนตัวและคนที่ต้องการประหยัดงบ เนื่องจากฟิล์มดำธรรมดาราคาถูกที่สุด
2. ฟิล์มใสกันร้อน
ฟิล์มใสกันร้อน คือฟิล์มติดกระจกบ้าน หรืออาคาร ที่มีคุณสมบัติในการกรองรังสีความร้อนเท่านั้น แต่ยังให้แสงสว่างผ่านเข้ามาได้ มีค่าแสงส่องผ่านประมาณ 70 % ทำให้แสงสว่างจากภายนอกสามารถทะลุผ่านกระจกเข้ามาได้ประมาณ 30 % อีกทั้งยังกันรังสีความร้อนจำพวกรังสียูวีและรังสีอินฟราเรดได้สูงสุดถึง 97 % เหมาะสำหรับการติดฟิล์มเพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดภายนอก แต่มองวิวทิวทัศน์ด้านนอกอาคารได้อย่างชัดเจน
3. ฟิล์มเซรามิค
ฟิล์มเซรามิค เป็นฟิล์มติดกระจกบ้านที่มองจากข้างนอกเข้ามาภายในจะไม่เห็น แต่คนด้านในสามารถมองออกไปด้านนอกได้ชัด กันความร้อนได้สูงแต่มีอัตราการสะท้อนแสงน้อย มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยทั่วไปฟิล์มเซรามิคจะมีอายุการใช้งานนาน 10–15 ปี เหมาะกับห้องชุดในคอนโดมิเนียม ที่มีข้อจำกัดการติดฟิล์มที่อัตราการสะท้อนแสงสูง
4. ฟิล์มนิรภัย
ฟิล์มนิรภัย คือ ฟิล์มที่ผ่านขั้นตอนการผลิตเพื่อให้มีคุณสมบัติในการยึดติด เหนียวแน่นมากกว่าฟิล์มทั่วไป ช่วยป้องกันอันตรายโดยการยึดกระจกที่แตกออกไว้ด้วยกัน การติดตั้งฟิล์มนิรภัยที่กระจกบ้านจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความแข็งแรงในการลดแรงกระแทกจากวัตถุภายนอกได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ การระเบิด แผ่นดินไหว หรือจากพายุ
5. ฟิล์มปรอท
ฟิล์มปรอท คือ ฟิล์มติดกระจกบ้านที่มีคุณสมบัติไม่ดูดซับความร้อนเข้ามาในเนื้อฟิล์ม จึงสามารถป้องกันรังสี UV ได้ถึง 99 % แต่การติดฟิล์มปรอทที่มีเนื้อฟิล์มกรองแสง มันวาว สะท้อนแสงสูง ทำให้มีข้อควรระวังในการเลือกติดฟิล์มอาคาร และคอนโดบางแห่งมีข้อกำหนดการติดฟิล์มอาคาร แสงสะท้อนจากฟิล์มต้องไม่มากกว่า 30 %
6. ฟิล์มไล่แมลง
ฟิล์มไล่แมลง สามารถกันความร้อนและรังสียูวีได้ดี ลักษณะพิเศษของฟิล์มชนิดนี้ คือมีสีที่โดดเด่นและแตกต่างจากฟิล์มกรองแสงทั่วไป โดยมีสีเหลืองโปร่งแสง เมื่อติดตั้งฟิล์มไล่แมลง จะสะท้อนสายตาของแมลง ทำให้ตาของแมลงพร่ามัว ไม่เข้ามายุ่งกับกระจก
7. ฟิล์มแบล็คเอาท์
ฟิล์มแบล็คเอาท์ เป็นฟิล์มที่มีลักษณะสีทึบแสง 100 % โดย แสงจากภายนอกจะไม่สามารถเข้ามาภายในได้เลย เหมาะกับการติดกระจกห้องใช้งานที่ต้องการความมืดมาก ๆ อีกทั้งฟิล์มประเภทนี้ยังกันความร้อนได้ดีเยี่ยมอีกด้วย
8. สติ๊กเกอร์ฝ้า
สติ๊กเกอร์ฝ้า เป็นสติ๊กเกอร์ฝ้าติดกระจกมีลักษณะทึบแสง และเป็นแผ่นพลาสติก Polyvinylchloride หรือ PVC ที่มีความเหนียว คงทน ยืดหยุ่นได้ดี ใช้ตกแต่งภายในเป็นหลักเนื่องจากไม่ค่อยทนทานต่อแสงแดดมากนัก เหมาะกับการติดในห้องทำงาน ห้องน้ำ หรือติดกั้นระหว่างห้องเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวโดยที่ไม่ใช้งบประมาณที่สูงมากนัก
9. ฟิล์มประหยัดพลังงาน
ฟิล์มประหยัดพลังงาน เป็นประเภทฟิล์มที่ได้รับการรับรองว่าช่วยประหยัดพลังงานได้จริง ตามมาตรฐานการทดสอบฟิล์มกรองแสงประเทศไทย โดยมาตรฐานจะใช้เกณฑ์ในการวัดค่าการส่งผ่านความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือ SHGC จะต้องมีค่าน้อยกว่า 0.45 จะได้มาตรฐานฟิล์มประหยัดพลังงานเบอร์ 5 มีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ
อ่านต่อได้ที่ https://thaifilmsb.com/blog/types-window-film-for-houses-buildings-condos-need-to-know/
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้