การออกฤทธิ์ของยาแก้ปวดกล้ามเนื้ออักเสบ มีอะไรบ้าง

rabbitdy

เริ่มเข้าขีดเขียน (29)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:25
เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2566 12.14 น.

ยาแก้ปวดกล้ามเนื้ออักเสบเป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้านที่แทบทุกครอบครัวต้องมีติดไว้ ซึ่งรูปแบบของยาดังกล่าวมักพบในลักษณะครีมนวด เจล รวมถึงแผ่นแปะ เผื่อเวลาที่สมาชิกในบ้านคนใดเกิดอาการปวดเมื่อย และต้องการบรรเทาอาการปวดเมื่อยทันที โดยยาดังกล่าวจะมีรูปแบบการออกฤทธิ์อย่างไรบ้าง ในบทความชิ้นนี้มีคำตอบมาฝากทุกคนแล้ว และรายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลย

 

 

  • รูปแบบที่ 1

โดยทั่วไปยาแก้ปวดกล้ามเนื้อชนิดครีมและเจล จะออกฤทธิ์การทำงานในรูปแบบบรรเทาอาการปวด ซึ่งเป็นผลมาจากกลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ในตัวผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ยาไดโคลฟีแนค ยาไพร็อกซิแคม และยากลุ่มซาลิไซเลต ซึ่งเมื่อเราทาลงไปตรงบริเวณที่ปวด ตัวยาจะซึมลงสู่ชั้นผิวหนัง และออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ รวมถึงช่วยขยายหลอดเลือดบริเวณผิวหนัง เพื่อลดอาการปวดบวมตามลำดับ

  

  • รูปแบบที่ 2

ยา แก้กล้ามเนื้ออักเสบ จะไม่ได้ออกฤทธิ์ต้านอาการปวดที่เรากำลังรู้สึกโดยตรง แต่บริเวณผิวหนังของเราจะรับรู้ได้จากความรู้สึกร้อนหรือเย็น โดยมักพบในครีมบรรเทาปวด รวมถึงพลาสเตอร์แก้ปวดสูตรร้อนและเย็น ซึ่งมีสารที่ให้ฤทธิ์เย็นอย่าง เมนทอลและการบูร ในขณะเดียวกันสารแคปไซซินก็ช่วยให้ฤทธิ์ร้อนกับผิวหนังของเรา

 

  • รูปแบบที่ 3

การออกฤทธิ์ของยารักษากล้ามเนื้ออักเสบบางยี่ห้อ จะมีส่วนผสมของลิโดเคน ซึ่งสารที่เปรียบเสมือนยาชาช่วยแก้ปวด และลดอาการรับรู้ของผิวหนัง รวมถึงกล้ามเนื้อส่วนที่ทายาลงไปนั่นเอง


 

คำแนะนำเพิ่มเติม

 

ยาทาแก้ปวดสูตรเย็น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการแก้กล้ามเนื้ออักเสบภายใน 48 ชั่วโมง หรือหลังได้รับบาดเจ็บทันทีจากการเล่นกีฬา และออกกำลังกาย ซึ่งฤทธิ์เย็นจากตัวยาจะช่วยลดการไหลเวียนของเลือดตรงบริเวณที่กล้ามเนื้ออักเสบ ทำให้ลดอาการบวมได้ตามลำดับ

 

ยาทาแก้ปวดสูตรร้อน เหมาะสำหรับอาการบาดเจ็บและอาการปวดของกล้ามเนื้อในระยะเวลา 48 - 72 ชั่วโมง ซึ่งสรรพคุณหลักได้แก่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้ลดอาการบวม และช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดให้ดีขึ้นตามลำดับ

 

ยาทาแก้ข้ออักเสบ เป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่เป็นชนิดเจลใส ไม่เหนียวเหนอะหนะ มีสรรพคุณช่วยรักษาและบรรเทาอาการปวดข้อต่อต่าง ๆ ตามร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาปวดตามข้อในผู้สูงอายุ หรือวัยทำงาน นอกจากนี้ ยังมีข้อดีตรงที่เมื่อใช้งานแล้ว ไม่จำเป็นต้องล้างมือเหมือนเจลบรรเทาปวดชนิดอื่น ๆ

 

สรุป

การทราบลักษณะออกฤทธิ์ของตัวยาแก้ปวดกล้ามเนื้ออักเสบ จะช่วยให้เราสามารถเลือกซื้อยาได้ตรงตามลักษณะอาการอย่างเหมาะสม เพราะหากใช้ยาไม่ถูกต้องกับลักษณะอาการอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังของเราได้  รวมถึงอาจลุกลามไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในภายหลัง

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย rabbitdy เมื่อ13 ตุลาคม พ.ศ. 2566 12.15 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา