ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ใช่อาการเส้นเลือดในสมองตีบแตกหรืออุดตัน หรือไม่?

thidarat

ขีดเขียนฝึกหัด (70)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:84
เมื่อ 18 มกราคม พ.ศ. 2566 13.11 น.

     ปัจจุบันมีโรคร้ายแรงเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้เพียงไม่กี่วินาทีหนึ่งในนั้นคือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน โดยเฉพาะผู้ที่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด และมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ ตัน บางคนมีอาจมีอาการแขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด อาจกำลังสงสัยว่าใช่อาการเส้นเลือดในสมองตีบแตกหรืออุดตัน หรือไม่? เพื่อคลายความสงสัยไปฟังคำตอบจากทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธนได้เลยค่ะ

     โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดและออกซิเจนที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke)
2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)

โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร?
- มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า
- มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
- พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด
- มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น
- มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ
- มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว
- มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน
- มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
     โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้

ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่
- อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
- เพศ ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าหญิง
- เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด

ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่
- ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ
- โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ
- รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด
- โรคอ้วน และภาวะนอนกรน
- การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด
- ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
- การซักประวัติอาการของผู้ป่วย
- การตรวจร่างกายเบื้องต้น
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การตรวจด้วยเครื่องมือเฉพาะทางรังสีวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain), การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain), การฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง (Cerebral Angiogram), การตรวจหลอดเลือดแดงที่คอ (Carotid Doppler Ultrasound)

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ โดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้
1.หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่
- การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง

- การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) หากเส้นเลือดที่ตีบเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง

2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน
     โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามัยของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก
- ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
- กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ

     หากคุณหรือคนใกล้ชิดอาการแขนขาอ่อนแรง มีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุ อย่าวางใจ รีบไปโรงพยาบาล หรือพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ทางศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมทั้งแพทย์ชำนาญการ บุคลากรทางการแพทย์สหสาขา พร้อมดูแลให้คำปรึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง

สามารถติดต่อสอบถามได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคหลอดเลือดสมอง-stroke-ตีบแตกตันอันตราย

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา