มะเร็งตับมีอาการอย่างไร? เช็คสัญญาณเตือนความเสี่ยง กับ รพ.นครธน

thidarat

ขีดเขียนฝึกหัด (70)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:84
เมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 17.06 น.

     ในกลุ่มของโรคมะเร็ง โรคมะเร็งตับนับเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้คนเกิดการเสียชีวิตสูงที่สุด ถือเป็นอันดับต้น ๆ ก็ว่าได้ เหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุดอาจเพราะโรคมะเร็งตับอาการในระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการอะไร ซึ่งผู้ป่วยกว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกก็มักจะอยู่ในระยะท้ายของโรคแล้ว ซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายได้แล้ว ดังนั้นผู้ป่วยอาจต้องสังเกตอาการกันเองด้วย เช่น ปวดท้องคล้ายเป็นโรคกระเพาะบ่อย ๆ หรือปวดชายโครงขวา ตัว-ตาเหลือง เสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้

     ดังนั้นทุกท่านจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากขึ้น สำหรับโรคมะเร็งตับโรงพยาบาลนครธนเอง มีศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ซึ่งมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคมะเร็งตับ และมีความพร้อมคอยให้คำปรึกษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และวันนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและอาการ พร้อมวิธีการรักษาโรคมะเร็งตับมาฝากกันค่ะ เพื่อที่ท่านจะได้รู้ว่าอาการเริ่มต้นนั้นจะสงเกตได้อย่างไร และมีอะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ต้องระวังบ้าง ไปรับความรู้เพิ่มเติมพร้อมกันได้ตอนนี้เลยค่ะ

     เมื่อมีอาการของมะเร็งตับเกิดขึ้น เช่น ปวดท้อง ท้องอืด แน่นอึดอัดท้อง ไม่อยากรับประทานอาหาร มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อยบ้าง หรือโรคถุงน้ำดีอักเสบบ้าง จนไม่ทันได้ระวังและปล่อยให้โรคดำเนินต่อไปเมื่อโรคพัฒนาจนถึงระยะกลางและระยะสุดท้าย จึงจะสามารถเห็นอาการได้ชัดเจน และในเวลานั้นมักจะสูญเสียโอกาสในการรักษา ขึ้นขั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้การตรวจด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะมะเร็งตับระยะแรกหากได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพก็สามารถยืดการมีชีวิตอยู่ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นได้

มะเร็งตับโรคร้ายใกล้ตัว
     มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
     1.มะเร็งตับชนิดเซลล์ตับ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อตับและพบได้มากที่สุด ซึ่งเกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย
     2.มะเร็งตับชนิดท่อน้ำดี เป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์บุท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติ สาเหตุมาจากโรคพยาธิใบไม้ในตับ พบได้บ่อยทางภาคอีสาน รวมถึงการรับประทานอาหารบางชนิดที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น สารดินประสิวที่มีอยู่ในอาหารประเภทหมัก และอาหารจำพวกรมควัน เป็นต้น

สาเหตุมะเร็งตับ
     สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งตับในประเทศไทย คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ซึ่งสามารถติดต่อได้ทางเลือด การติดจากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ ทางเพศสัมพันธ์ เมื่อเชื้อไวรัสเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับก็สามารถกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังหรือกลายเป็นพาหะติดต่อผู้อื่นได้โดยตัวเองไม่มีอาการ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้กลายเป็นมะเร็งตับได้ ได้แก่
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน
- ภาวะตับแข็งจากทุกสาเหตุไม่ว่าจะจากแอลกอฮอล์หรือไวรัสตับอักเสบ
- สารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในถั่วลิสง พริกแห้ง กระเทียม ธัญพืชต่าง ๆ ซึ่งมาจากเชื้อราที่มีสารอะฟลาทอกซิน

อาการมะเร็งตับ
     ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งตับในแต่ละรายอาจมีอาการแสดงแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก จนกว่าก้อนมะเร็งจะโตขึ้น และมีอาการแน่นอึดอัดท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อย บางรายมีอาการคล้ายกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีอาการปวดชายโครงด้านขวา บริเวณตับ และเมื่อมะเร็งมีก้อนที่โตเพิ่มขึ้นอีก จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องโต ท้องบวมขึ้น มีน้ำในช่องท้อง นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ
- อ่อนเพลีย
- ปวดหรือเสียวชายโครงด้านขวา มีจุกเสียดแน่นท้อง
- อาจปวดร้าวไปยังไหล่ขวาหรือใต้สะบักด้านขวา
- ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม มีขาบวม
- มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
- คลำพบก้อนที่บริเวณตับ

การตรวจและวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ
เบื้องต้นจะทำการการซักประวัติ และการตรวจร่างกาย รวมทั้งการตรวจอื่น ๆ ได้แก่
1.การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง
2.ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)
3.การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือบางครั้งอาจใช้การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อช่วยในการวินิจฉัย
4.การตรวจชิ้นเนื้อตรงตำแหน่งก้อนเนื้อ (Biopsy)

มะเร็งตับกับการรักษา
     การรักษามะเร็งตับจะขึ้นกับสภาวะความรุนแรงของโรค ขนาดและลักษณะของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรคและการแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยมีวิธีการรักษา ได้แก่
     1.การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก ถ้าอยู่ในระยะที่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้ ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดหรือการปลูกถ่ายตับ
     2.การรักษาด้วยความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุสูง (RFA) โดยคลื่นดังกล่าวจะส่งผ่านเข็มเล็ก ๆ ที่แทงผ่านเข้าไปในก้อนมะเร็งในตับ ซึ่งได้ผลดีในมะเร็งตับที่เล็กกว่า 3 เซนติเมตร
     3.วิธีฉีดยาเคมีบำบัด เป็นการฉีดยาเข้าไปยังเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงตับ ซึ่งเราเรียกว่า TACE หรือ TOCE จะใช้รักษามะเร็งตับในระยะโรคที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากหรือมีหลายๆ ก้อน เช่น 3-5 ก้อนขึ้นไป

ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตับ
     การป้องกันโรคทำได้โดยการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิดทุกคน รวมไปถึงผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการฉีด ไม่รับประทานปลาน้ำจืดดิบ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่อาจปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน เป็นต้น

     หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านทางเดินอาหารและตับ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังหรือมีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ ควรรับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบรอยโรคได้เร็ว ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับลงได้ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมาก มีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/มะเร็งตับ-โรคร้ายใกล้ตัวอันตรายที่ต้องระวัง

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา