ปวดท้องเรื้อรัง อาจเสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหาร ส่องกล้องทางเดินอาหารวินิจฉัย

thidarat

ขีดเขียนฝึกหัด (70)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:84
เมื่อ 28 กันยายน พ.ศ. 2564 13.04 น.

     ด้วยสภาวะที่ต้องเร่งรีบในยุคปัจจุบัน ทำให้การใช้ชีวิตของเราต้องปรับเปลี่ยนตลอด ไม่เว้นแม้กระทั่ง พฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเร่งรีบ กินไม่เป็นเวลา หรืออดอาหารบางมื้อ ส่งผลต่อการระคายเคืองของกระเพาะอาหารและลำไส้ อาจเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินอาหารได้ วันนี้เรานำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการส่องกล้องทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหาร จากทางโรงพยาบาลนครธนมาฝาก เพื่อให้คุณได้เข้าใจสัญญาณเตือนของอาการปวดท้องเรื้อรังหรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ และเพื่อให้รู้ถึงสาเหตุความผิดปกติ อีกทั้งลดความกังวลใจ หากคุณต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีส่องกล้องทางเดินอาหาร

     สัญญาณเตือนความผิดปกติของโรคทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน ท้องผูก หรือ ท้องเสียเรื้อรัง จุกแน่นลิ้นปี่ ท้องอืด ท้องเฟ้อ กลืนลำบาก น้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นสัญญาณสุขภาพอันตรายที่ไม่ควรละเลยมองข้าม และควรเร่งได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อการรักษาอย่างถูกทาง

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์เพื่อส่องกล้อง?
     การส่องกล้องทางเดินอาหาร นับเป็นเทคนิคหนึ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการตรวจวินิจฉัย ซึ่งจะช่วยให้พบโรค สาเหตุของความผิดปกติดังกล่าว และส่งผลให้การรักษาโรคได้ทันเวลา ผู้ป่วยที่ควรทำการตรวจด้วยการส่องกล้องคือ ผู้ป่วยที่ปวดท้องเรื้อรัง รักษาด้วยการทานยาแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อาเจียนเรื้อรัง นอกจากนี้ การส่องกล้องตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหาร ยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ผู้ที่มีพฤติกรรมรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาทำให้ปวดท้องเป็นๆหายๆ รับประทานได้น้อย ซีด อ่อนเพลีย ผู้มีความเสี่ยงบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งทางเดินอาหาร ขับถ่ายผิดปกติ และผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นต้น ทั้งนี้การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ยังเป็นหนึ่งในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายอันดับสามของมะเร็งในประเทศไทย ซึ่งมักวินิจฉัยได้เมื่อมีอาการลุกลามแล้ว

ทำความรู้จักเทคโนโลยีการส่องกล้อง
     เทคโนโลยีการส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหาร เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติโดยการใช้กล้องส่องที่มีลักษณะยาว เล็กและโค้งงอ มีกล้องวิดีโอขนาดเล็กและหลอดไฟอยู่ส่วนปลาย ซึ่งจะมีการบันทึกวิดีโอและปรากฏบนหน้าจอ ทำการตรวจผนังของทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ไปจนถึงลำไส้ การส่องกล้องทางเดินอาหารสามารถแบ่งการตรวจเป็น 3 แบบ ตามอวัยวะส่วนที่ตรวจ ดังนี้
- การส่องกล้องเพื่อตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และสำไส้เล็กส่วนต้น (Gastroscopy : EGD)
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

การส่องกล้องเพื่อตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และสำไส้เล็กส่วนต้น (Gastroscopy: EGD)
     เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะ เป็นท่อขนาดเล็ก ปรับโค้งงอได้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 cm ที่ปลายกล้องจะมีเลนส์ขยายภาพ ปลายอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสงและส่งภาพมายังจอรับภาพ ส่องเข้าไปในปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น การส่องกล้องตรวจจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด ปวดท้องจุกแน่นลิ้นปี่ เพื่อการวินิจฉัยโรคหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เช่น การอักเสบ เป็นแผล มีเนื้องอก หรือมีการตีบตันของอวัยวะเหล่านี้ หากพบความผิดปกติ แพทย์ก็สามารถใส่เครื่องมือเพื่อการรักษาเข้าไปได้ เช่น หากพบการตีบตัน แพทย์จะใส่เครื่องมือขยายหลอดอาหาร เป็นต้น

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
     เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก โค้งงอได้ ที่ปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพ ปลายอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง แล้วส่งภาพมายังจอรับภาพ ส่องเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนกลาง ส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนปลาย โดยการตรวจวิธีนี้แนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย มีการถ่ายอุจจาระปนเลือด ถ่ายเป็นเลือดหรืออุจจาระมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ ผู้ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ หรือผู้ที่มีก้อนในท้อง น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังแนะนำตรวจในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุก 5-10 ปี โดยสิ่งที่ตรววจพบส่วนใหญ่ มักจะพบลำไส้อักเสบ ริดสีดวง กระเปาะลำไส้ใหญ่ (Diverticulum) ติ่งเนื้อ และเนื้องอกลำใส้ใหญ่ เป็นต้น

ผู้รับบริการจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
- ต้องงดน้ำงดอาหาร 6-8 ชม. ก่อนเข้ารับการตรวจ
- ถ้ามีฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องถอดออกก่อน
- หากเป็นการตรวจด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ( Colonoscopy) จะมีการเตรียมลำไส้ หรือสวนอุจจาระก่อนตรวจ
- ในวันที่รับการตรวจควรมีญาติมาด้วย เพราะแพทย์อาจให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ อาจมีอาการง่วงซึมหลังการตรวจไม่แนะนำให้ขับรถเองหลังการตรวจ

ข้อควรรู้กับอาการที่อาจจะเกิดขึ้นหลังได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหาร
- แน่นอึดอัดท้อง จะทุเลาลง เมื่อได้ผายลม
- มีภาวะเลือดออกจากตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยปกติแผลจากการตัดชิ้นเนื้อจะมีขนาดเล็กและเลือดหยุดได้เอง แต่ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาในกลุ่มยาละลายลิ่มเลือด อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะเลือดออกภายในกระเพาะได้
- เจ็บบริเวณท้องน้อย หรือทวารหนัก อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ทุเลาลงและหายไป
- ทั้งนี้หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องมาก ท้องแข็ง มีไข้สูง ให้รีบมาพบแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด

     ปัจจุบัน โรคระบบทางเดินอาหารมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น บางส่วนมีเหตุผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบัน ทั้งทางด้านการรับประทานอาหารผิดเวลา การรับประทานอาหารที่มากหรือน้อยเกินไป ความเครียด รวมไปถึงการออกกำลังไม่สม่ำเสมอด้วย สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลเสียต่อระบบการย่อยอาหาร และก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารได้ในอนาคต ดังนั้นการหมั่นสังเกตความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ซึ่งต้องให้ความใส่ใจต่อการสัญญาณผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

     ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมทุกด้าน เริ่มตั้งแต่การให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน หากคุณกำลังมีสัญญาณเตือนความผิดปกติของโรคทางเดินอาหาร ไม่ควรละเลยมองข้าม และควรเร่งได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อการรักษาอย่างถูกทาง สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/การส่องกล้องตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหาร

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา