เลือกจดเครื่องหมายการค้ากับมืออาชีพที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้แข็งแกร่ง

looklikelove

ขีดเขียนฝึกหัด (76)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:102
เมื่อ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564 21.38 น.

การมีที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและมืออาชีพในเรื่องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะในแง่ของการทำธุรกิจ เราต้องการทำทุกอย่างให้ถูกต้องและตรงไปตรงมาอย่างถึงที่สุด อีกทั้งการดำเนินในเรื่องนี้ยิ่งส่งผลดีของการทำธุรกิจด้วย ก่อนอื่นเราก็ต้องวิเคราะห์ธุรกิจของเราว่าควรจดเครื่องหมายการค้าในประเภทใด และต้องเตรียมเอกสารที่จำเป็นในส่วนใดบ้าง แต่ถ้าเรามีมืออาชีพคอยช่วยในเรื่องนี้ เราก็ไม่ต้องกังวลในเรื่องใด

หากเราไม่มีที่ปรึกษา เราก็ต้องศึกษาหาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนการจดเครื่องหมายการค้า รวมไปถึงความสำคัญ ความจำเป็น และความหมายของเครื่องหมายการค้าคืออะไร ซึ่งจากเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ ได้แชร์บทความไว้ว่า เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท คือ 1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น 2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น 3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น 4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น และถ้าหากธุรกิจของเราเป็นด้านการดูแลสุขภาพ ทางเว็บไซต์ bangkokbiznew ได้แชร์ว่า ควรมี Simplify customer communication สื่อสารให้โปร่งใสได้ใจความ คำศัพท์ทางการแพทย์ย่อมเข้าใจยากเป็นธรรมดาอยู่แล้ว อีกทั้งต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบ เช่น อาหารเสริมห้ามโฆษณาเกินจริง ในขณะที่ความโปร่งใส จริยธรรม และความรับผิดชอบ เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในธุรกิจสุขภาพ การสื่อสารจึงเป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญทุกตัวอักษร สื่อสารกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอเมื่อมีข้อมูลอัพเดต หรือลองนึกถึงบริการหลังการขาย เช่น การแจ้งเตือนลูกค้าเมื่อสินค้าใกล้หมดอายุ หรือบริการซ่อมบำรุงเป็นประจำ ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีช่องทางให้ลูกค้ากลับมาติดต่อสอบถาม หรือ ส่งฟีดแบ็ค เพื่อลดความกังวลของการใช้งาน



 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา