ทำไมต้อง ดิจิตอลแมมโมแกรม 3 มิติ (3D Tomosynthesis Mammogram)

chutikan

ขีดเขียนหน้าใหม่ (44)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:47
เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564 11.41 น.

เครื่องเอกซเรย์เต้านมแบบดิจิตอล 3 มิติ
3D Tomosynthesis Mammogram
     เครื่องเอกซเรย์เต้านมแบบดิจิตอล 3 มิติ 3D Tomosynthesis Mammogram นวัตกรรมที่ถูกออกแบบให้สามารถถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมได้ทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ พร้อมกันได้ในครั้งเดียว และใช้รังสีเอกซเรย์ขนาดกำลังต่ำ ด้วยลักษณะการปรับโฉมของแผ่นกดเต้านมใหม่ทำให้ช่วยลดแรงกดเต้านมได้อย่างดี ทำให้ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกสบายยิ่งขึ้น และยังได้ภาพเอกซเรย์ที่มีคุณภาพช่วยให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้มากขึ้น แม่นยำ ตรงจุด ทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาหรือเฝ้าติดตามได้ตั้งแต่เริ่มต้น ในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ ซึ่งทำให้มีโอกาสในรักษาให้หายขาดได้มากยิ่งขึ้น

ทำไมต้อง ดิจิตอลแมมโมแกรม 3 มิติ (3D Tomosynthesis Mammogram)?
- ภาพเอกซเรย์ ภาพที่ได้จากการเอกซเรย์มีคุณภาพและความละเอียดสูง สามารถสร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ พร้อมกันได้ในครั้งเดียว เป็นเครื่องที่สร้างภาพเต้านมจากการตรวจเต้านมในหลายมุม สามารถแยกไขมันและเนื้อเยื่ออื่นๆ ของเต้านมได้อย่างชัดเจน

- ความแม่นยำ ด้วยคุณภาพของภาพเอกซเรย์ที่มีคุณภาพและความละเอียดสูง คมชัด ทำให้สามารถระบุตำแหน่งที่มีความผิดปกติของเต้านมได้อย่างชัดเจน และมีความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยพบมะเร็งเต้านมได้มากขึ้นถึง 65% ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จึงมีโอกาสรักษาหายขาดได้สูงขึ้น

- แผ่นกดเต้านม ที่โค้งเว้าตามลักษณะของเต้านม จึงช่วยลดแรงกดทับ บีบอัดที่เต้านม ทำให้รู้สึกสบายขึ้น เจ็บน้อยลงหรือไม่เจ็บเลย พร้อมกันนี้ยังถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยโดยไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้รับบริการซ้ำ จึงช่วยลดการกดเต้านมซ้ำ และลดจำนวนครั้งในการรับปริมาณรังสีทำให้ผู้รับบริการได้รับปริมาณรังสีที่ต่ำอีกด้วย

- ระยะเวลา เครื่องเอกซเรย์เต้านมแบบดิจิตอล 3 มิติ ใช้เวลาในการเอกซเรย์น้อยที่สุดเพียง 3.7 วินาที ต่อท่าเท่านั้น ดังนั้น การถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม 1 ครั้ง จะมี 4 ท่า รวมใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 15 วินาที(ไม่นับรวมเวลาการจัดท่าของผู้ป่วย ซึ่งขึ้นอยู่กับสรีระของผู้ป่วย )

ผลการตรวจแมมโมแกรม บอกได้ว่าเสี่ยง “มะเร็งเต้านม” ในระดับไหน
     การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์แมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์
มักจะแปลผลเป็นศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยากและมักจะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิด โดยเฉพาะเมื่อแปลผลเป็น BIRADS 1-5 มักจะทำให้หลายคนเข้าใจผิดได้ง่ายเพราะเป็นมาตรฐานการอ่านเพื่อสื่อความหมายให้แพทย์แต่ละสาขาเข้าใจกันได้ง่าย ไม่ใช่ระยะโรค

BIRADS 1 หมายถึง ไม่พบสิ่งผิดปกติเลย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามทุกปี
BIRADS 2 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามทุกปี
BIRADS 3 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่า 2% ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน
BIRADS 4 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ 20-50% ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม
BIRADS 5 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้สูง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม

Health’s Tip
- สุภาพสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี หรือ 40 ปีขึ้นไปขึ้นกับความเสี่ยงแต่ละบุคคล ควรได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหารอยโรคซ่อนเร้น เพื่อนำไปสู่การรักษาได้อย่างทันท่วงที

- สุภาพสตรีอายุต่ำกว่า 35 ปี ควรหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ หลังหมดระดูได้ 7- 10 วัน เพราะเป็นระยะที่เต้านมไม่บวมและนิ่มทำให้ตรวจได้ง่าย

     คุณผู้หญิงไม่ควรนิ่งนอนใจต่ออาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจนำพาไปสู่โรคร้าย ดังนั้นควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน ตรวจสุขภาพประจำปีพร้อมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล และอัลตร้าซาวด์เต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาความผิดปกติ รู้เร็ว รีบรักษา มีโอกาสหายสูง

     ศูนย์รักษ์เต้านม โรงพยาบาลนนทเวช พร้อมให้คำปรึกษาโดยเฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม พร้อมพยาบาลวิชาชีพ และเครื่องมือที่ทันสมัยภายใต้มาตรฐาน JCI ที่ทั่วโลกยอมรับ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/3D-Tomosynthesis-Mammogram.php

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา