การผ่าตัดส่องกล้อง เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้เจ็บน้อยลงและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

mommam

ขีดเขียนชั้นอนุบาล (95)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:133
เมื่อ 21 มกราคม พ.ศ. 2564 13.52 น.

 

 

          การผ่าตัดส่องกล้อง เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ลดอาการเจ็บแผล และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น ศัลยแพทย์จะทำการเจาะรูขนาดเล็ก ประมาณ 5-10 มิลลิลิตร ผ่านช่องท้อง หรือผิวหนังใกล้บริเวณอวัยวะที่ต้องการผ่าตัด จำนวน 1-4 รู ขึ้นอยู่กับโรคที่ต้องการรักษา เพื่อสอดท่อที่มีไฟฉายและกล้องขนาดเล็กที่สามารถบันทึกภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วยอย่างชัดเจน และส่งมายังจอมอนิเตอร์ เพื่อให้ศัลยแพทย์มองเห็นบริเวณที่ต้องการผ่าตัดได้ชัดเจน ทำให้ผลที่ได้หลังการผ่าตัดมีความเที่ยงตรงและแม่นยำ

ในปัจจุบัน มีโรคทางนรีเวชจำนวนมากที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ ซึ่งวิธีการรักษาที่เราคุ้นเคยและใช้กันมานานคือ การผ่าทางหน้าท้อง เป็นวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐาน แต่อาจทำให้มีแผลใหญ่ขนาด 8-10 เซนติเมตร และต้องใช้เวลาพักฟื้นนานเป็นเดือน ส่วนอีกวิธีคือการผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด แม้วิธีนี้จะไม่ทำให้เกิดแผลที่หน้าท้อง แต่มีข้อจำกัดมาก แต่ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อที่ต้องการจะลดผลข้างเคียงของการรักษา ลดการบาดเจ็บ และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น จึงได้มีการนำวิธี “การผ่าตัดผ่านกล้อง (MIS)” มาใช้ในการผ่าตัดรักษาโรคทางนรีเวช

 

การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopic Surgery)เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปเพื่อการวินิจฉัย และทำการผ่าตัดภายในช่องท้อง
  2. การผ่าตัดผ่านกล้องในโพรงมดลูก (Hysteroscopic Surgery)เป็นการใช้กล้องส่องดูความผิดปกติของโพรงมดลูกโดยผ่านทางปากมดลูกเพื่อการวินิจฉัย และการทำการผ่าตัด

โรคทางนรีเวชที่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง มีดังนี้

  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myoma uteri)
  • เนื้องอกรังไข่ (Ovarian tumor)
  • ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian cyst)
  • ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst)
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic adhesion)
  • ตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)
  • ท่อนำไข่อุดตัน (Tubal obstruction)
  • ตรวจสาเหตุภาวะมีบุตรยาก (Infertility)
  • เนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Polyp, myoma)
  • พังผืดในโพรงมดลูก (Uterine synechiae)
  • ผนังกั้นกลางในโพรงมดลูก (Septate uterus)
  • การทำหมันหญิง (Tubal Sterilization)
  • ห่วงอนามัยทะลุเข้าช่องท้อง (Perforated IUD)
  • การตัดมดลูกออกเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ (Hysterectomy)
  • มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก (Early stage of Cervical cancer)
  • มะเร็งรังไข่ในระยะต้น (Early stage of Ovarian cancer)
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial cancer)
  • เนื้องอกถุงน้ำรังไข่ ชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งหรือช็อกโกแลตซีสต์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถผ่าตัดผ่านกล้องทางแผลผ่าตัดเล็กได้
  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myomectomy) ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเนื้อตัน สามารถผ่าตัดผ่านกล้องด้วยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษที่ตัดย่อยชิ้นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ เอาออกผ่านแผลเล็กๆ และสามารถเย็บปิดโดยผ่านกล้อง

รวมทั้งกรณีที่มีข้อบ่งชี้ในการตัดมดลูก (Hysterectomy ) การผ่าตัดผ่านกล้องมีวิธีให้เลือก เช่น ตัดมดลูกออกโดยเหลือปากมดลูกไว้ ตัวมดลูกจะเอาออกโดยเครื่องตัดย่อยชิ้นเนื้อ หรือการตัดมดลูกออกพร้อมปากมดลูกโดยเอาออกทางช่องคลอด เย็บปิดโดยผ่านกล้อง

 

ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

  • แผลผ่าตัดเล็ก ขนาดประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร ประมาณ 3-4 แผล
  • เจ็บแผลน้อยมาก เนื่องจากความบอบช้ำจากการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
  • พักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน
  • ฟื้นตัวไว สามารถกลับไปทำงานหรือกิจวัตรประจำวันได้ภายใน 5-10 วัน
  • ลดโอกาสเกิดพังผืดจากการผ่าตัด
  • ลดความเสี่ยงของอาการแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัด เช่น แผลอักเสบ แผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง เป็นต้น

ทั้งนี้ในด้านของการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดผ่านกล้องนั้น สามารถทำกิจกรรมเบาๆ ได้ภายใน 3-5 วันหลังการผ่าตัด แต่การออกกำลังกายควรรอให้ผ่านการผ่าตัดไป 1 เดือนก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าสภาพร่างกายกลับมาสมบูรณ์ทั้งภายในและภายนอก ควรหมั่นเช็คอาการตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ กินอาหารที่มีประโยชน์ งดของที่จะเป็นสาเหตุทำให้แผลภายในอักเสบได้ หากสงสัยหรืออยากทราบข้อมูลการผ่าตัดส่องกล้องเพิ่มเติม สามารถเข้ามาปรึกษาและสอบถามโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลนครธนได้ตลอดเวลาทำการค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/Article/Detail/ให้เรื่องใหญ่กลายเป็นเรื่องเล็กด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช-MIS-3D

#ผ่าตัดส่องกล้อง ,ผ่าตัดผ่านกล้อง ,การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

 

 

 

 

 

 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา